ต้อกระจก เลนส์ตาขุ่น ส่งผลต่อการมองเห็น เป็นความผิดปกติของดวงตา เกิดจากเสื่อมสภาพตามอายุ มักเกิดกับผู้สูงอายุ อาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร ต้อกระจกรักษาอย่างไร

ต้อกระจก โรค การรักษาโรค โรคตา

โรคต้อกระจก คือ โรคที่พบได้ทั่วไปในผู้ที่มีอายุมากขึ้น ก็กระจกเลนส์ตาก็เปรียบเสมือนกับอวัยวะอื่นไปทั่วไปที่เมื่อใช้งานมาเป็นเวลานานก็มีความเสื่อมได้เป็นธรรมดา เมื่อกระจกเลนส์ตาเสื่อแล้ว จะทำให้แสงที่ตกกระทบวัตถุแลัวสะท้อนเข้ามาตาปกติสามารถรับแสงผ่านกระจกตา และตกกระทบที่จอตาและขั้วประสาทตาแปลผลของแสงทำให้ออกมาเป็นสิ่งที่เห็นในประสาทและสมอง แต่เมื่อเลนส์กระจกตาเสื่อมจะทำให้แสงนั้นผ่านทะลุไปไม่ได้หรือไม่ได้ดี ทำให้เห็นภาพไม่ชัดฝ่ามัวนั่นเอง จึงทำให้เกิดโรคต้อกระจก

สาเหตุการเกิดโรคต้อกระจก 

สาเหตุมีอยู่ด้วยกันหลายประการ เช่น การเสื่อมตามอายุของอวัยวะ สิ่งแวดล้อมสภาพรอบตัว อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับดวงตา นอกจากนั้นผู้ที่มีโรคประจำตัวของผู้สูงอายุก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน

  • อายุผู้ป่วยที่มากขึ้น นั่นคือเรื่องปกติตามธรรมชาติ ที่เมื่ออายุมากอวัยวะจะเสื่อมสภาพ กระจกตาก็เช่นกัน เมื่อเสื่อมจะทำให้เห็นภาพไม่ชัดเกิดภาพพล่ามัว
  • การมองแสงยูวี หรือ แสงอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานานจะมีผลทำให้กระจกตาเสื่อมเร็วขึ้น ดังนั้นผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งติดต่อกันเป็นเวลานานมักจะมีปัญหาเรื่องกระจกตาเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น เกิดเป็นโรคต้อกระจก
  • การได้รับแรงกระแทก การกระทบกระเทือน ทั้งจากอุบัติเหตุ หรือ กีฬา ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ ล้วนส่งผลต่อการเสื่อมของกระจกตาทั้งสิ้น
  • พันธุกรรม ผู้มีญาติใกล้ชิดป่วยโรคนี้มักมีโอกาสเสื่ยงมากกว่าคนทั่วไป รวมทั้งการผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์มารดาด้วย
  • ยาบางประเภทมีโอกาสเสี่ยงต่อการทำลายกระจกตา เช่น กลุ่ม สเตรียรอยด์
  • โรคประจำตัวในผู้สูงอายุ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ระยะของโรคต้อกระจก

สำหรับโรคต้อกระจก สามารถแบ่งระยะของโรคได้ตาม อาการของโรค โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะเริ่มแรก ระยะก่อนต้อสุก ระยะต้อสุก และ ระยะสุกงอม รายละเอียด ดังนี้

  • ต้อกระจก ระยะเริ่มแรก ( Early Cataract ) มักจะเริ่มมองภาพไม่ชัด ค่าสายตาเปลี่ยนไป ปรับระยะโฟกัสยากขึ้นจนบางครั้งทำให้ตาล้า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่าเป็นต้อกระจก เพราะ ระยะนี้ดวงตาจะเป็นปกติทุกอย่าง ไม่รู้สึกเจ็บปวด
  • ต้อกระจก ระยะก่อนต้อสุก ( Immature Cataract ) ระยะนี้เลนส์ตาเริ่มเป็นสีขาวขุ่น สีขาวขุ่นตรงกลางเลนส์ ทำให้มีผลต่อการมองเห็นมากกว่าเดิม ผู้ป่วยจะมองเห็นภาพเป็นฝ้ามัวๆ ไม่ชัดในที่สว่าง และ สายตาสั้นมากขึ้น
  • ต้อกระจก ระยะต้อสุก ( Mature Cataract ) ในระยะนี้เลนส์ตาจะขุ่นมากขึ้น เริ่มขยายออกรอบๆจนขุ่นทั้งเลนส์ ทำให้การมองเห็นยากขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา เนื่องจากยังอยู่ในระยะที่ผ่าตัดต้อกระจกได้ง่าย
  • ต้อกระจก ระยะต้อสุกงอม ( Hypermature Cataract ) ระยะนี้เลนส์ตาขุ่นมากที่สุด เริ่มเป็นก้อนแข็ง ภาพมัวจนมีผลต่อการมองเห็น เป็นระยะที่รักษายากกว่าระยะต้อสุก และถ้าทิ้งไว้อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน อย่างการอักเสบในดวงตา เลนส์บวมจนเป็นต้อหิน อาจเกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้

อาการของโรคต้อกระจก 

ผู้ป่วยจะทราบอาการผิดปกติก่อนผู้อื่น เพราะโรคนี้ผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องการมองเห็น โดยไม่สามารถมองได้ปกติจะเห็นภาพพล่ามัว โดยเฉพาะตอนกลางคืนที่แสงน้อย เมื่อพบอาการผิดปกติจากการมองเห็น ก็ควรพบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา

  • เกิดผ้าสีขาวนูนขึ้นมาจากรูม่านตา สังเกตุเห็นได้จากผู้ที่มองภายนอก
  • สายตาจะกลับมามองในระยะใกล้ได้ดีขึ้น ทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นตาอยู่บ่อยๆ
  • ตอนกลางคืนจะมองเห็นแสงแตกกระจาย ทำให้ขับรถได้ลำบากโดยเฉพาะตอนกลางคืน
  • เกิดการมองเห็นภาพซ้อนกัน เนื่องจากกระจกตาเกิดความผิดปกติ ทำให้การกระทบของแสงได้ไม่เท่ากันทั้งเลนส์ตา แสงแต่ละมุมจึงตกกระทบในองศาที่แตกต่างกันทำให้เห็นแสงได้คนละระดับ จึงเกิดภาพซ้อนมองได้ไม่ชัด
  • ตาพล่ามัว โดยเฉพาะในที่ที่แสงจ้าจะมองไม่เห็นหรือมองได้มืดกว่าปกติ โดยที่อาการนี้ไม่มีความเจ็บปวดเกิดร่วมเลย

การรักษาโรคต้อกระจก

การรักษาจะใช้การผ่าตัดเป็นหลัก ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของจักษุแพทย์ ถึงความเหมาะสม รวบไปถึงอุปกรณ์การรักษา งบประมาณการรักษา และความพร้อมของผู้ป่วยเอง

  • การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาเทียม เนื่องจากเลนส์ตาเก่านั้นเสื่อมสภาพไปแล้ว จึงสามารถเปลี่ยนเลนส์ตาเทียมที่มีความใกล้เคียงกับธรรมชาติใช้แทนกันได้
  • การใช้คลื่นความถี่สูงเพื่อสลายต้อกระจก จะต้องใช้เครื่องมือเฉพาะที่มีความแม่นยำสูง เรียกว่า phacoemulsification
  • การใช้เลเซอร์ในการผ่าตัดเพื่อฝังเลนส์เทียม จะช่วยทำให้แผลผ่าตัดหายเร็วและติดเชื้อได้น้อยกว่าวิธีดั้งเดิม เรียกว่า femtosecond laser

การป้องกันโรคต้อกระจก

การถนอมสายตาอย่างระมัดระวัง รักษาสุขภาพโดยรวม หมั่นตรวจสุขภาพตาประจำปี ก็จะสามารถป้องกันการเกิดโรคต้อกระจกได้

  • การตรวจสุขภาพตาประจำ เพื่อสามารถรักษาได้ทันเมื่อพบว่าเป็นโรค
  • ระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ การกระแทก กระทบกระเทือนกับดวงตา
  • ไม่ควรมองที่ที่แสงจ้าโดยตรง โดยเฉพาะกับ แสงยูวี แสงแดด ควรมีแว่นกันแดดหรือแว่นกรองแสงช่วยด้วย
  • เมื่อจำเป็นต้องใช้สายตานานๆ ในที่ที่แสงจ้า ควรมีการพักสายตา ทุกๆ ชม. ไม่ควรใช้งานติดต่อกันนานเกินไป
  • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ เพราะมีวิตามินต่างๆช่วยบำรุงสายตา
  • ผักผ่อนให้มาก ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ระวังไม่ใช้สายตามากเกินไป ควรถนอมสายตาด้วยการพักสายตาบ้างหลังใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • ไม่มองแสงจ้าเป็นเวลานาน หากต้องอยู่ในที่แสงจ้า ควรใส่แว่นกันแดดหรือหมวกปีกกว้าง ถ้าทำงานที่ต้องจ้องแสง ควรมีเครื่องมือป้องกันดวงตาจากแสงด้วย

โรคต้อกระจก ส่วนใหญ่เกิดจากอายุที่มากขึ้นทำให้เลนส์ตาเสื่อมสภาพ อาการของโรคทำให้ผู้ป่วยมองภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน สามารถรักษาได้ด้วยการใส่แว่นตามค่าสายตา แต่ถ้าอาการหนักขึ้น การมองเห็นน้อยลง สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดต้อกระจ

ภาวะความดันตาสูง ทำให้อุดกลั้นทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงตา การมองเห็นจะค่อยๆเสื่อม ไม่รักษาตาบอดได้ ผู้ป่วยจะปวดตา ปวดหัว ตาแดง และ อาเจียน การรักษาและป้องกันอย่างไรโรคต้อหิน โรคตา โรคไม่ติดต่อ ทำให้ตาบอด

โรคต้อหิน โรคอันตรายต่อระบบประสาทตา เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตาบอด สามารถเกิดได้กับทุกคน โรคนี้ไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น รวมถึงไม่แสดงอาการในระยะลุกลามของโรคด้วย รู้ตัวอีกทีคือสูญเสียการมองเห็นไปแล้ว และ ไม่สามารถรักษาให้กลับดีขึ้นได้ ดังนั้นการตวรสุขภาพดวงตาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

โรคต้อหิน คือ ภาวะความผิดปรติของดวงตาเกิดจากความดันของตาที่สูงมากผิดปกติ ซึ่งความดันตาสูง สามารถเกิดได้เนื่องจากของเหลวที่มีหน้าที่หล่อเลี้ยงตาตามธรรมชาติผิดปรกติ ทำให้เกิดการทำลายเซลล์ประสาทตา ความดันตาที่เหมาะสมสำหรับของเหลวในตาจะต้องไม่เกิน 22 มม.ปรอท หากมากกว่านี้จะเป็นอัตรายมาก เสี่ยงมากที่เกิดต้อหินตามมา

สถาณการณ์โรคต้อหินในปัจจุบัน

องค์กรอนามัยโลก ( WHO ) ระบุว่า โรคต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนทั้งโลกตาบอด เป็นอันดับ 2 รองจากโรคต้อกระจก ซึ่งผู้ป่วยทั่วโลกที่ป่วยโรคต้อหินทั้งชนิดมุมปิดและต้อหินชนิดมุมเปิดประมาณ 4.5 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งร้อยละ 12 ของผุ้ป่วยทั้งหมดตาบอด สำหรับสถาณการ์โรคต้อหินในประเทศไทย พบว่าประชากรไทยป่วยเป็นโรคต้อหินมากถึงร้อยละ 36 ประชากรทั่วประเทศ คาดว่าในปี 2563 จะมีประชากรไทยป่วยเป็นโรคต้อหินเพิ่มขึ้นประมาณ 7 แสนคน อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าโรคต้อหินจะรักษาไม่หายขาด แต่ก็สามารถป้องกันและควบคุมการสูญเสียของการมองเห็นได้

ประเภทของโรคต้อหิน

โรคต้อหินสามารถแบ่งประเภทของโรคนี้ได้ 4 ประเภท ประกอบด้วย ต้อหินโดยกำเนิด ต้อหินชั้นสอง ต้อหินมุมเปิด และ ต้อหินมุมปิด ซึ่งรายละเอียดของต้อหินแต่ละประเภท มีดังนี้

  • ต้อหินโดยกำเนิด สาเหตุหลักจะมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ลักษณะอาการรุนแรงมาก ควบคุมอาการยาก เนื่องจากเกิดกับเด็กอ่อน หากไม่รักษาอาจจะตาบวดได้ มารดาต้องสังเกตุอาการตอบสนองต่อการมองเห็นของเด็กอย่างใกล้ชิด
  • ต้อหินขั้นสอง เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคตาชนิดอื่นๆ เช่น โรคต้อกระจก โรคเนื้องอกที่ตา โรคตาอักเสบ รวมถึงทั้งการเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา และ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน
  • ต้อหินมุมเปิด ต้อหินชนิดนี้พบมากที่สุดเกิดจากการอุดตันของท่อระบายน้ำเลี้ยงของดวงตา ทำให้ความดันในตาสูงขึ้น ทำให้ระบบประสาทการรับรู้การมองเห็นถูกทำลาย ซึ่งในระยะแรกจะมองเห็นไม่ชัด หากไม่ได้รับการรักษาการมองเห็นจะค่อยๆเสื่อมลงจนตาบอดสนิท
  • ต้อหินมุมปิด เกิดจากการมุมของลูกตาถูกม่านตาปิดกั้น ทำให้ความดันเปลี่ยนแปลง เนื่องจากของเหลวในตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ ทำให้ความดันตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะปวดหัว และ ปวดลูกตาอย่างรุนแรง เยื่อบุตาแดงจัด มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

สาเหตุการเกิดโรคต้อหิน

โรคต้อหิน คือ ภาวะจอประสาทตาถูกทำลายและเกิดจุดบอดขึ้นที่ลานสายตา โดยสาเหตุมาจากความดันในตาสูง จากสาหตุการไหลเวียนเข้าและออกของน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตาไม่สมดุล ทำให้เกิดการอุดตันบริเวณทางออกของช่องระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาที่ทำให้มีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันในตาสูงขึ้น โดยอาการผิดปรกตินี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆหรือเฉียบพลันก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคต้อหิน

ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ความดันตาสูงมีหลายปัจจัย ซึ่งสามารถรวบรวมปัจจัยที่ทำให้ความดันตาสูงจนส่งผลต่อการเกิดโรคต้อหิน มีดังนี้

  • อายุ ความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆมีผลต่อภาวะความดันตา
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับคนที่มีประวัติพ่อแม่หรือพี่น้องญาติป่วยโรคต้อหินมีความเสี่ยงมากกว่าบุคคลทั่วไป
  • การกระแทกหรือกระทบกระเทือนที่ดวงตาอย่างรุนแรง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • การใช้ยาบางประเภท โดยเฉพาะยากลุ่มยาสเตียรอนด์
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เรียกว่า เบาหวานขึ้นตา
  • ความผิดปกติของสายตาตามธรรมชาติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว

อาการของโรคต้อหิน

สำหรับโรคต้อหินจะแสดงอาการผิดปรกติของสายตาแบบช้าๆ ค่อยๆเสื่อมลงโดยไม่รู้ตัว ผู้ป่วยโรคต้อหินไม่มีอาการเจ็บปวดหรืออาการใดๆนอกจากความสามารถการมองเห้นค่อยๆลดลง แต่สำหรับอาการโรคต้อหินแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตาอย่างรุนแรง และ ปวดแบบเฉียบพลัน เยื่อบุตาแดง น้ำตาไหล ไม่สามารถสู้แสงได้ สายตาพล่ามัว มองเห็นเหมือนมีแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ และ คลื่นไส้อาเจียน

การตรวจวินิจฉัยโรคต้อหิน

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคต้องทำโดยจักษุแพทย์ผู้เชียวชาญเฉพาะทาง และ ใช้เครื่องมือตรวจที่ทันสมัย แนวทางการวินิจฉัยโรค คือ ตรวจเพื่อดูลักษณะมุมตา ตรวจขั้วประสาทตา ดูความเสียหาย การตอบสนองต่อแสง ตรวจวัดความดันภายในตา และ ตรวจลานสายตา

การรักษาโรคต้อหิน

แนวทางการรักษาโรคต้อหิน เนื่องจากโรคต้อหินทำให้เส้นประสาทตาถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาโรคต้อหินต้องประคับประคองเพื่อบรรเทาความเสื่อมของประสาทตา เพื่อรักษาการมองเห็นให้นานที่สุด การรักษาใช้ยา การทำเลเซอร์ และ การผ่าตัด ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์ รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยารักษาโรค  ให้ยาเพื่อลดความดันของดวงตาเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้น ในปัจจุบันมียารักษาต้อหินหลายกลุ่ม ซึ่งการรักษาด้วยยาจำเป็นทำอย่างสม่ำเสมอตามคำสั่งของแพทย์
  • การรักษาด้วยเลเซอร์  ขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหินและระยะของโรค เช่น Selective laser trabeculoplasty ( SLT ) ใช้รักษาต้อหินมุมเปิดในกรณีที่รักษาด้วยยาหยอดตาไม่ได้ผล Laser peripheral iridotomyLPI) รักษาต้อหินมุมปิด Argon laser peripheral iridoplastyALPI ) ใช้รักษาร่วมกับ LPI
  • การผ่าตัด เพื่อรักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่ได้ผล การผ่าตัดตัดทำทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาเพื่อลดความดันตา

การป้องกันโรคต้อหิน

สาเหตุของการเกิดโรคต้อหินเกิดจากหลายสาเหตุทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้ และ ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งการรักษาระดับความดัยตาให้ปรกติ เป็นแนวทางการป้องกันโรคที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคต้อหิน มีดังนี้

  • เข้ารับการตรวจสายตาอย่างสม่ำเสมอ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • สวมแว่นตาหรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตา เมื่อต้องทำกิจกรรมเสี่ยงกระทบต่อดวงตา
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตาทั้งหมด

โรคต้อหิน ภาวะความดันตาสูง ทำให้เกิดการอุดกลั้นทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงตา การมองเห็นจะค่อยๆเสื่อม หากไม่รักษาทำให้ตาบอดได้ อาการของโรคต้อหินแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะปวดตา ปวดหัว ตาแดง และ อาเจียน แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย