การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้เจ็บทรวงอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย แนวทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไรกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหัวใจ โรคติดเชื้อ โรคหัวใจอักเสบ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( myocarditis ) คือ ภาวะการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนมากพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ parvovirus B19 แต่สามารถเกิดจากการติดเชื้อโรคอื่นๆได้ ไม่ว่าจะ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เช่น Borrelia burgdorferi ( โรคไลม์ ) หรือ Trypanosoma cruzi  โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทางการแพทย์ เรียก Myocarditis หรือ Inflammatory cardiomyopathy พบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป มีอาการของโรครุนแรง เสียชีวิตได้

สาเหตุการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับภาวะการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือ พยาธิ เมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น โรคเอสแอลอี โรครูมาตอยด์ โรคไข้รูมาติก เป็นต้น ทำให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคง่าย เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายหัวใจ ทำให้เกิดการอักเสบ ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลต่อการทำงานของปอด ทำให้เกิดปอดบวมน้ำ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุของการติดเชื้อได้ดังนี้

  • การได้รับสารพิษพวก สารหนู สารตะกั่ว ควันรถยนต์การกระทบกระเทือนโดยตรงที่กล้ามเนื้อหัวใจ
  • เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวทำร้าย เรียกว่า สารภูมิต้านทานร่างกาย หรือ แอนติบอดี้ ( Antibody )
  • การติดเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เป็นสาเหตุจากโรคต่างๆ เช่น ไวรัสไข้หวัดใญ่ ไวรัสหัดเยอรมัน ไวรัสเอชไอวี แบคทีเรียวัณโรค
  • การติดเชื้อโรคจากพยาธิ
  • การติดเชื้อรา
  • การแพ้ยาปฏิชีวนะ
  • ถูกสัตว์มีพิษกัด เช่น งู ผึ้ง หรือ แมลงต่างๆ

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะเกิดอาการอักเสบทั่วร่างกายไม่ได้อักเสบเฉพาะหัวใจ ซึ่งเป็นผลจากการไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย สามารถสังเกตุอาการของโรค ได้ดังนี้

  • มีไข้สูงและหนาวสั่น
  • เหนื่อยล้า
  • ปวดหัว
  • ปวดกล้ามเนื้อ และ ปวดตามข้อกระดูก
  • เจ็บคอ
  • มีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ท้องร่วง
  • เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว
  • มีอาการไอ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ริมฝีปาก และ เล็บมือ มีสีม่วง
  • มือ เท้า และ ข้อเท้าบวม

การตรวจวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคนอกจากดูลักษณะอาการของโรค แพทย์จะทำการซักประวัติการรักษาโรค จากนั้นตรวจโรค โดย การตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การทำเอมอาร์ไอ และ การตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ควรรีบส่งคนไข้ไปโรงพยาบาลทันทีเพ่ือรับการรักษา แพทย์วินิจฉัยได้โดยจะมีการฟังเสียงหัวใจเต้นผิดปกติ ( echocardiography ) เอกซเรย์พบหัวใจโต คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ และตรวจเลือดพร้อมกับให้การรักษาในทันที การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยเบื้องต้นแพทย์จะรักษาจากต้นแต่ของโรค คือ การให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุของโรค ร่วมกับประคับประครองอาการต่างๆ

การป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ และ ดื่มสุรา
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ใส่เครื่องมือป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เพือป้องกันการติดเชื้อโรค

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( Myocarditis ) การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้เจ็บทรวงอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย แนวทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

มะเร็งต่อมลูกหมาก ชายที่อายุ 50 ปีขึ้นไปเสี่ยงสูง อาการปัสสาวะขัด แสบเวลาฉี่ ฉี่บ่อย สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากอะไร แนวทางการรักษา และ การป้องกันโรค มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคผู้ชาย โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate gland cancer ) คือ ภาวะการเกิดเซลล์มะเร็งที่ต่อมลูกหมาก เกิดกับอวัยวะของผู้ชาย อาการที่พบสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น ปัสสาวะขัด แสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ ตื่นกลางดึกเพื่อปัสสาวะอย่างเป็นประจำ ปัสสาวะไม่พุ่งอย่างปรกติ โรคมะเร็งชนิดนี้พบว่าเป็นอันดับสองรองจากโรคมะเร็งปอดในเพศชาย โดยเฉพาะในชายอายุมากตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปจะเป็นกลุ่มที่พบโรคนี้มาก

สำหรับต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย มีลักษณะคล้ายลูกเกาลัดเล็ก ๆ ทำหน้าที่ผลิตน้ำสำหรับหล่อเลี้ยงและลำเลียงอสุจิ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่เกิดจากความผิดปรกติของเซลล์ในต่อมลูกหมากขยายตับรวดกว่าปกติ จนเกิดเนื้องอกลุกลามไปยังเนื้อเยื่ออวัยวะรอบข้างของต่อมลูกหมาก ซึ่งมีปัจจัยของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้

  • กรรมพันธุ์ บุคคลที่มีญาติป่วยโรคนี้จะมีโอกาศป่วยมากกว่าบุคคลทั่วไปถึงสามเท่า
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะที่มีไขมันสูง มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น
  • อายุ จากสถิติพบว่าเมื่อเพศชายอายุ 50 ปีขึ้นไปมีโอกาสเกิดโรคสูง

ระยะของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มี 4 ระยะของโรคเหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ โดยระยะของมะเร็งต่อมลูกหมากจะกำหนดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง และการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะร่างกาย โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แบ่งออกเป็น 4 ระยะ มีดังนี้

  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มแรก พบว่าเกิดเซลล์มะเร็งเฉพาะต่อมลูกหมากเพียงกลีบเดียว ก้อนมะเร็งขนาดเล็ก คลำผ่านทางทวารหนักไม่พบ อัตราการรอดชีวิต 80-90% และไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 2 ระยะนี้เซลล์มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย ก้อนมะเร็งใหญ่ขึ้น คลำผ่านทางทวารหนักพบ ยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถพบได้ทั้งสองกลีบของต่อมลูกหมาก อัตราการรอดชีวิต 60-70%
  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 3 ระยะนี้เซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายสู่นอกต่อมลูกหมาก ซึ่งอาจลุกลามเข้าท่อน้ำเชื้อ อัตราการรอดชีวิต 50%
  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 4 ระยะนี้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลืองและกระดูก ระบบเลือด อัตราการรอดชีวิต  20-50%

อาการโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะแสดงอาการผิดปรกติที่ระบบการสืบพันธ์และท่อปัสสาสะ เช่น ปัสสาวะขัด มีอาการแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย ตื่นกลางดึกเพื่อปัสสาวะเป็นประจำ และ ปัสสาวะไม่เป็นลำผิดปกติ ไม่พุ่งออกมา ซึ่งนอกจากนั้นจะเป็นอาการผิดปรกติของร่างกาย ซึ่งอาการจะมากขึ้นตามระยะของการเกิดโรค อาการอื่นๆของมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถสังเกตุได้ดังนี้

  • น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ร่างกายบวม โดยเฉพาะส่วนล่างลงไป
  • ขาอ่อนล้า
  • มีอาการท้องผูก
  • อ่อนแรง
  • เจ็บบริเวณเชิงกราน ปวดหลังส่วนล่าง

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

แนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองโรคที่แม่นยำมากพอ ส่วนมากจะเป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยาในรายที่ต้องสงสัย ร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อดูค่ามะเร็ง อยู่ที่การพิจารณาขอแพทย์และความสบายใจของผู้ป่วยและญาติ สามารถวินิจฉัยจากอาการผิดปรกติของร่างกาย การตรวจเลือด การตรวจ X-ray ต่อมลูกหมาก การทำ MRI และ การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถทำได้ด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด และ การรักษาด้วยฮอร์โทร ซึ่งปัจจัยแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับ ตำแหน่ง ขนาด ระยะของเซลล์มะเร็ง สภาพร่างกายและจิตใจ ของผํู้ป่วย การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้

  • การผ่าตัด สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง ( laparoscopic radical prostatectomy) และ การผ่าตัดโดยใช้แขนกลช่วยผ่าตัด (robotic–assisted da Vinci surgery หรือ da Vinci® prostatectomy)
  • รังสีรักษา โดยการฝังแร่ที่ต่อมลูกหมาก การรักษาด้วยการฉายรังสีขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากลักษณะใด
  • การให้ยาเคมีบำบัด เพื่อไม่ให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต ซึ่งปัจจุบันทางแพทย์ก็มีวิธีบรรเทาอาการไม่พึงประสงค์ซึ่งเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยาได้
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน เป็นการรักษาเพิ่มเติมหลังการผ่าตัด กำจัดการสร้างฮอร์โมนเพศชายด้วยการใช้ยาต้านฮอร์โมน

การป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การลดปัจจัยเสียที่สามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากมีความผิดรกติของร่างกายให้ปรึกษาแพทย์

มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคในเพศชายที่อายุ 50 ปีขึ้นไป อาการปัสสาวะขัด แสบเวลาฉี่ ฉี่บ่อย เป็นอาการเบื้องต้นของโรคนี้ สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากอะไร แนวทางการรักษา และ การป้องกันโรค

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย