มะเร็งช่องปาก ยังไม่ทราบสาเหตุของโรค คนสูบบุหรี่เสี่ยงมะเร็งช่องปากสูง อาการมีก้อนในปาก เจ็บคอเรื้อรัง มีแผลในปากเรื้อรัง การรักษาและป้องกันต้องทำอย่างไรมะเร็งช่องปาก โรคมะเร็ง มะเร็งในช่องปาก โรคไม่ติดต่อ

โรคมะเร็งช่องปาก ( Oral cancer ) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นที่ปาก รวมถึงอวัยวะในช่องปาก เช่น ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น ลิ้นไก่ และ ต่อมทอนซิล มีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน มักเกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง และพบมากในกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป

สำหรับพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ กลุ่มคนเหล่านี้จะมีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งในช่องปากมากกว่าคนทั่วไปมากถึงประมาณ 15 เท่า

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก 

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคได้ แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดมะเร็งช่องปาก คือ การดื่มสุราและการสูบบุหรี่ ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปากมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรา นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่กระตุ้นการเกิดโรคมะเร็งช่องปากด้วย มีดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ( HPV )
  • อาการเหงือกอักเสบแบบเรื้อรัง หากเกิดขึ้นแบบซ้ำๆ อาจกระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็งได้
  • การเคี้ยวหมากของผู้สูงวัย ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคในช่องปากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ระยะของมะเร็งช่องปาก

สำหรับโรคมะเร็งช่องในปาก สามารถแบ่งระยะของการเกิดโรคได้เป็น 4 ระยะ เหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 1 เกิดก้อนเนื้อในช่องปาก แต่มีขนาดไม่ใหญ่ ขนาดน้อยกว่า 2 เซนติเมตร
  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 2 เกิดก้อนเนื้อในช่องปาก ซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นโตมากกว่า 2 เซนติเมตร แต่ยังน้อยก่วา 4 เซนติเมตร ระยะนี้จะมีอาการระคายเคืองในช่องปาก
  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 3 ขนาดของก้อนเนื้อใหญ่กว่า 4 เซนติเมตร เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่คอ ในระยะนี้เกิดขึ้นเพียงข้างเดียวของลำคอ
  • มะเร็งช่องในปาก ระยะที่ 4 ระยะนี้ก้อนเนื้อ เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง และ แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่นๆ ระยะนี้เป็นระยะรุนแรง สามารถเสียชีวิตได้

อาการโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งในช่องปาก จะพบว่าในช่องปากมีสีขาวหรือสีแดงบริเวณลิ้นและกระพุ้งแก้ม หากเกิดรอยลักษณะดังกล่าวเป็นเวลานาน เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคมะเร็งช่องปาก ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยโรค แต่โดยทั่วไปสามารถสังเกตุอาการของโรคมะเร็งในช่องปาก ได้ดังนี้

  • มีรอยสีขาวหรือรอยด่างแดงในช่องปาก
  • มีอาการบวม มีตุ่ม หรือ ก้อนเนื้อในช่องปาก ริมฝีปาก ลิ้น หรือ เหงือก
  • มีเลือดไหลในช่องปากโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • รู้สึกระคายเคืองภายในลำคอเหมือนมีบางสิ่งบางอย่างติดอยู่
  • มีอาการชา หรือ มีอาหารเจ็บ บริเวณใบหน้า ปาก หรือ ลำคอ โดยอาการไม่หายภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์
  • มีการเปลี่ยนแปลงของตัวฟัน เช่น การสบฟัน หรือ การเคี้ยว
  • มีอาการเจ็บคอแบบเรื้อรัง
  • เสียงเปลี่ยน เช่น เสียงแหบ
  • มีอาการเจ็บหู
  • น้ำหนักลดอย่างมาก

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งในช่องปาก ต้องตัดชื้นเนื้อต้องสงสัยไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง โดยแนวทางการวินิจฉัยโรค มีดังนี้

  • การตรวจประวัติการรักษา อาการต่างๆเบื้องต้น
  • การตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจก้อนเนื้อบริเวณลำคอ การตรวจช่องปาก
  • การตัดก้อนเนื้อเพื่อมาตรวจทางพยาธิวิทยา
  • การตรวจเลือดเพื่อประเมินร่างกายผู้ป่วย ได้แก่ เบาหวาน การทำงานของไต ตับ กระดูก สมดุลเกลือแร่ในร่างกาย
  • X-ray ดูช่องอก ปอด หัวใจ
  • ตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจโดยเอ็มอาร์ไอ บริเวณปากและลำคอเพื่อประเมินการลุกลามของโรค
  • การอัลตราซาวน์ดูการลุกลามของโรคในตับ
  • การตรวจทางทันตกรรมเพื่อดูแลรักษาฟันร่วมกับการรักษาต่างๆ

การรักษาโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งช่องปาก แพทย์จะใช้การผ่าตัด ร่วมกับ การฉายรังสี ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ ระยะของการเกิดโรค ขนาดและตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง รายละเอียดของการรักษาโรคมะเร็งในช่องปาก มีดังนี้

  • การผ่าตัด สามารถทำได้ในระยะต้นของโรค แต่ไม่เกินระยะสาม มักมีผลข้างเคียงทำให้เกิด อาการปวดเจ็บ หรืออาจเกิดการติดเชื้อ
  • รังสีรักษา สามารถทำได้โดยการฉายโดยตรงหรือฝังแร่ ซึ่งมักใช้ร่วมกับการผ่าตัด ผลข้างเคียงที่เกิดคือผิวหนังบริเวณที่ได้รับรังสี จะต้องได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี
  • เคมีบำบัด ใช่ร่วมกับวิธีอื่นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ มักมีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด เกร็ดเลือดต่ำ ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งช่องปาก

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในช่องปาก ยังไมสามารถทำได้ เนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การงดเว้นปัจจัยเสียงที่กระตุ้นให้เกิดโรค แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ไม่เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  • ไม่สูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • รักษาสุขภาพในช่องปาก และ แปรงฟันหลังรับประทานอาหาร
  • หมั่นสังเกตุอาการตนเอง โดยเฉพาะในช่องปาก หากพบอาการผิดปกติตุ่มหนอง ก้อนเนื้อควรรีบปรึกษาแพทย์

มะเร็งช่องปาก โรคอันตรายโรคหนึ่ง ยังไม่ทราบสาเหตุของโรค คนสูบบุหรี่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคสูง อาการสำคัญที่พบ คือ มีก้อนในปาก เจ็บคอเรื้อรัง มีแผลในปากเรื้อรัง การรักษาโรคมะเร็งในช่องปาก ต้องทำอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

มะเร็งหลอดอาหาร เซลล์เนื้อเยื่อหลอดอาหารแบ่งตัวมากผิดปกติ อาการเจ็บคอถึงลิ้นปี่ อาเจียนมีเลือดปน เสมหะมีเลือดปน การรักษาและแนวทางการป้องกันโรคทำอย่างไรมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคทางเดินอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal cancer ) คือ การเกิดเซลล์มะเร็งที่หลอดอาหาร ส่งผลต่ออวัยวะที่ทำหน้าที่ส่งอาหารจากปากเข้าสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งการแบ่งเซลล์ผิดปรกติหากลามไปยังอวัยวะข้างเคียง เช่น ต่อมน้ำเหลือง ระบบเลือด เป็นอันตรายถึงชีวิต โรคนี้พบว่าอัตราการเกิดโรคเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะคนอายุ 55 ปีขึ้นไป

ชนิดของมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร สามารถแบ่งชนิดของโรคตามลักษณะของเซลล์มะเร็งได้ 3 ลักษณะ คือ มะเร็งหลอดอาหารชนิดสะความัส มะเร็งหลอดอาหารชนิดอะดีโนคาร์สิโนมา และ  มะเร็งหลอดอาหารชนิดอื่น ๆ ลักษณะดังนี้

  • มะเร็งหลอดอาหาร ชนิดสะความัส ( Squamous Cell Carcinoma ) ลักษณะมะเร็งเกิดขึ้นที่ชั้นผิวของหลอดอาหาร มักเกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหารส่วนบน หรือ ส่วนกลาง เป็นชนิดของมะเร็งหลอดอาหารที่พบมากที่สุด
  • มะเร็งหลอดอาหาร ชนิดอะดีโนคาร์สิโนมา ( Adenocarcinoma ) ลักษณะมะเร็งเกิดทที่เซลล์ของต่อมผลิตเมือก มักเกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหารส่วนล่าง
  • มะเร็งหลอดอาหารชนิดอื่นๆ ลักษณะที่แตกต่างจาก 2 ลักษณะแรก แต่ไม่พบมะเร็งลักษณะนี้บ่อย

สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับโรคงมะเร็งหลอดอาหาร วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ทราบว่าเกิดจากการผิดปรกติของดีเอ็นเอบริเวณหลอดอาหาร แต่มีปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร

ปัจจัยเสี่ยงต่อเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร 

สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร มีปัจจัยต่างๆที่อาจส่งผลต่อเซลล์ร่างกายผิดปรกติ ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อที่หลอดอาหาร
  • การได้รับสารเคมีที่หลอดอาหารอย่างรุนแรง เช่น การดื่มน้ำกรด การดื่มยาฆ่าแมลง เป็นต้น
  • โรคกรดไหลย้อนแบบเรื้อรัง
  • พฤติกรรมการกิน เช่น รับประทานอาหารที่ผสมสารกันบูด กินอาหารที่เผ็ดจัด เป็นต้น
  • การดื่มสุรา
  • การบุหรี่
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

อาการผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร จะแสดงอาการของโรคที่ลำคอ เกี่ยวข้องกับการกลืนอาหาร และ อาการของโรคจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นตามระยะของการเกิดโรค สามารถสังเกตุอาการของโรคมะเร็งหลอดอาหาร ได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารลำบาก มีอาการสำลักบ่อยๆ และ มีอาการไอระหว่างรับประทานอาหาร
  • มีอาการเจ็บบริเวณลิ้นปี่ และ ลำคอ
  • มีก้อนตรงลำคอ และ มีอาการคอบวม
  • เสมหะมีปนเลือด
  • อาเจียนมีเลือดปน
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย
  • เสียงแหบ

ระยะการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหารมีระยะของการเกิดโรค เป็น 4 ระยะ เหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ ซึ่งความรุนแรงของอาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะของโรค รายละเอียด ดังนี้ 

  • มะเร็งหลอดอาหารระยะแรก เกิดก้อนเนื้อขนาดเล็กที่หลอดอาหาร
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะที่สอง เซลล์มะเร็งลุกลามสู่ภายนอกหลอดอาหาร และ ต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้เคียง
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะที่สาม เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามไปสู่อวัยวะใกล้เคียง และ ต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และ กระจายทั่วร่างกายทางกระแสเลือด

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร พทย์จะทำการการตรวจประวัติการรักษาโรคและประวัติทางพันธุกรรม ตรวจร่างกายทั่วไป ส่องกล้องตรวจลำคอ ตราจเลือด X-rayปอดและช่องท้อง อัลตราซาวน์ช่องท้อง และ ตรวจกระดูก

การรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร จะใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน คือ  การผ่าตัด การฉายรังสี และ การใช้เคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากสภาพร่างกายของผู้ป่วย ในการเลือกวิธีการรักษา รายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัดเอาเซลล์มะเร็งออก ซึ่งการรักษาวิธีนี้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดต่องให้อาหารโดยทางสายยาง
  • การฉายรังสี ใช้รังสีฉายไปที่ผนังหลอดอาหาร เพื่อให้เซลล์มะเร็งหยุดการเจริญเติบโต
  • การใช้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยารับประทานเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยการวิธีนี้ต้องทำร่วมกับการฉายแสง

การป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับโรคมะเร็งหลอดอาหาร ปัจจุบันไม่มีการตรวจคัดกรองโรค ทำให้ไม่ทราบว่าผู้ป่วยเกิดโรคมะเร็งจนกว่าจะแสดงอาการความผิดปรกติของร่างกาย สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดโรค ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่รับประทานอาหารที่เผ็ดจัดๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกสุบบุหรี่
  • เลิกดื่มสุรา

มะเร็งหลอดอาหาร เกิดจากเซลล์ที่เนื้อเยื่อหลอดอาหารแบ่งตัวมากผิดปกติ อาการเจ็บคอถึงลิ้นปี่ อาเจียนมีเลือดปน เสมหะมีเลือดปน สาเหตุของโรค อาการ การรักษา และ แนวทางการป้องกันโรค ทำอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย