โลน สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาศัยบนขน กินเลือดมนุษย์ ทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง คันตามขนต่างๆ เช่น ขนหน่า ขนรักแร้ คิ้ว หนังศรีษะ ตุ่มบวมแดงคัน เกิดแผลอักเสบ
โลน ติดเชื้อโลน โรคติดเชื้อ
ตัวโลน
Pthirus pubis ) คือ สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่ชอบอาศัยอยู่ที่บริเวณขนหยาบ เช่น ขนที่หัวเหน่า ขนรักแร้ เป็นต้น ตัวโลนมีขนาดประมาณ 2 มม. สีเหลืองเทา รูปร่างคล้ายปู มักจะวางไข่บนขน ซึ่งสามารถมองเห็นเป็นเม็ดๆสีน้ำตาลกระจัดกระจาย โลนจะมีวงจรชีวิตคล้ายตัวเหาแต่เป็นสิ่งมีชีวิตคนละกลุ่มกัน

การที่โลนอาศัยบนขนของมนุษย์ทำให้เกิดการติดเชื้อโลน และ สามารถแพร่กระจายสู่คนอื่นๆได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อโลน ไม่เกี่ยวกับความสกปรก หรือ การดูแลความสะอาดของร่างกายที่ไม่ดีพอ แต่เกิดจากการเจริญเติบโตของโลนบนขนของมนุษย์ ซึ่งชอบอยู่บริเวณขนหยาบ เช่น ขนที่หัวเหน่า ขนรักแร้ ขนหน้าแข้ง ขนบริเวณท้อง ขนหน้าอก และเครา เป็นต้น ตัวโลนไม่สามารถกระโดดได้แต่มันจะค่อยๆ คืบคลานไปตามขนและพื้นผิว ดังนั้น การนอนเตียงเดียวกันคนที่มีตัวโลนอาศัยอยู่มีโอกาสการติดเชื้อโลนได้

ตัวโลนที่พบได้ในร่างกายมนุษย์ มีทั้งหมด 3 ลักษณะ คือ ไข่โลน ตัวอ่อนโลน และ โลนตัวเต็มวัย รายละเอียดของลักษณะโลนในร่างกายมนุษย์ มีดังนี้

  • ไข่โลน ( Nit ) ลักษณะเล็กมากจนมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ไข่ของโลนมีสีขาว มักเกาะตามเส้นขน ซึ่งไข่โลนใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 6-10 วัน ก่อนจะเป็นตัวอ่อน
  • ตัวอ่อนโลน ( Nymph ) จะอาศัยอยู่ที่บริเวณอวัยวะเพศ โดยกินเลือดของมนุษย์เป็นอาหาร ตัวอ่อนจะคล้ายกับโลนตัวโตเต็มวัยแต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์กว่าจะโตเต็มวัย
  • โลนตัวเต็มวัย ( Adult ) ตัวโลนจะมีสีน้ำตาลอ่อน ขาหน้า 2 ขาจะใหญ่ลักษณะคล้ายก้ามปู โลนตัวเมียตัวจะใหญ่กว่าโลนตัวผู้

สาเหตุการติดเชื้อโลน

สำหรับสาเหตุการติดเชื้อโลน เกิดจากการมีตัวโลนอาสัยบนขนของมนุษย์ และ โลนดูดเลือดมนุษย์เป็นอาหารทำให้เกิดการติดเชื้อโรคได้ ซึ่งโลนสามารถแพร่สู่คนอื่นๆได้โดยผ่านการสัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่น การกอด จูบ แต่ที่มักพบได้บ่อยที่สุด คือ การติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีโลนอาศัยบนขน ซึ่งการติดโลนไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการสวมถุงยางอนามัย หรือ การใช้ยาคุมกำเนิด

นอกจากนี้ การใช้ผ้าร่วมกัน การใช้ห้องน้ำร่วมกันก็สามารถทำให้มีโอกาสติดโลนได้ แต่มีโอกาสน้อยมาก ปัจจัยเสียงที่ทำให้มีโอกาสติดโลน มีรายละเอียด ดังนี้

  • การอยู่อาศัยใกล้คนที่มีโลนอาศัยขนขน
  • การนอนร่วมเตียงกับคนที่มีโลนอาศัยบนขน
  • การใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับคนที่มีโลนอาศัยบนขน

อาการของโรคโลน

ลักษณะอาการของคนที่ติดโลน ลักษณะอาการที่เด่นชัด คือ คันบริเวณขนที่มีโลนอาศัยอยู่ เช่น อวัยวะเพศ ทวารหนัก ใต้รักแร้ บริเวณที่มีขน เช่น ขา หน้าอก ท้อง หรือหลัง หนวด เครา คิ้ว หรือขนตา เป็นต้น หลังจากที่โดนโลนดูดเลือดและติดเชื้อจะมีอาการผิดปรกติของร่างกาย ต่างๆ ดังนี้

  • มีไข้ต่ำ ๆ
  • อ่อนแรง ไม่มีแรง
  • มีรอยช้ำเล็ก ๆ จากการกัดบนผิวหนังบริเวณต้นขา หรือหน้าท้องส่วนล่าง
  • มีผงลักษณะสีดำติดที่กางเกงชั้นใน
  • รู้สึกคันมากบริเวณที่มีตัวโลนอาศัยอยู่
  • มีผลหรือตุ่มแดง

การรักษาโรคโลน

แนวทางการรักษาโลน สามารถรักษาได้ด้วยการใช้แชมพู โลชั่น หรือครีมที่มีส่วนประกอบของสารกำจัดแมลงจำพวกโลนหรือเหา  แต่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างใกล้ชิิด แต่วิธีการรักษาที่ง่ายที่สุด คือ การกำจัดขนส่วนที่มีโลนเกาะอยู่โกนขนออกให้เกลี้ยง เพียงเท่านี้ตัวโลนก็ไม่สามารถจะเกาะอะไรได้

การป้องกันโรคโลน

สำหรับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อโลน คือ การไม่ให้มีตัวโลนอาศัยขนขนของเรา ซี่งแนวทางการป้องกันการติดโลน มีดังนี้

  • ควรหลีกเลี่ยง การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็น โรคโลน
  • ดูแลความสะอาดตัวเอง อย่างสม่ำเสมอ
  • หมั่นทำความสะอาด เตียงนอน ซักผ้าห่ม และ ซักผ้าปูที่นอนเป็นประจำ
  • นำเครื่องนอนออกมาตากแดด อยู่สม่ำเสมอ
  • ควรหลีกเลี่ยง การใช้สิ่งของร่วมกับ ผู้ป่วยที่เป็นโรคโลนอยู่ เช่น เสื้อชั้นใน ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
  • หากรักษาโรคโลน จนหายเป็นปกติแล้ว ควรนำของใช้ทั้งหมดไปทิ้ง หรือ ไม่ก็เอาไปต้มในน้ำร้อน และ นำไปตากแดด เพื่อ ฆ่าตัวโลนให้ตาย ตัวโลน หากอยู่นอกร่างกายมนุษย์เกิน 2 วัน มันจะตายทันที
  • ทำความสะอาดร่างกาย และ บริเวณซ่อนเร้น ก่อน และ หลังมีเพศสัมพันธ์

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

โรคนอนไม่หลับ Insomnia ภัยใกล้ตัวของทุกคน นอนไม่หลับทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย ลักษณะของโรคเป็นอย่างไร การรักษาทำอย่างไร

โรคนอนไม่หลับ นอนไม่หลับ การรักษาโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับถือเป็นปัญหาหนึ่งของมนุษย์ สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย การนอนไม่หลับทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ จิตใจกังวล ส่งผลต่อการคิดการตัดสินใจในการทำงานในช่วงกลางวัน จากการศึกษาการเกิดโรคนอนไม่หลับพบร้อยละ 30 ของผู้ใหญ่มีอาการนอนไม่หลับ

ความต้องการในการนอนของคนโดยปกติมีความแตกต่างกันในแต่ละวัย ซึ่งการต้องการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอในแต่ละวัย มีดังนี้

  • เด็กแรกเกิดต้องการนอน 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กอายุ 1 ปี ต้องการนอน 14 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 2 ปี ต้องการนอน 12-14 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 3-5 ปี ต้องการนอน 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 6-13 ปี ต้องการนอน 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
  • คนอายุ 14-17 ปี ต้องการนอน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
  • ผู้ใหญ่ทั่วไปต้องการนอน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
  • สำหรับผู้สูงวัยจะต้องการนอนที่สั้นลง เพราะ ร่างกายสามารถผลิตสารที่ช่วยให้นอนหลับได้ลดน้อยลง

โรคนอนไม่หลับInsomnia ) อาการนอนไม่หลับถือว่าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งสาเหตุของการนอนไม่หลับอาจจะมาจากหลายสาเหตุ การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้ร่างกายนั้นมีความอ่อนเพลีย ซึ่งส่งผลต่อสภาพร่างกายอื่นๆต่อมา เช่น ขาดสมาธิในเวลาทำงาน

ประเภทของโรคนอนไม่หลับ

สำหรับโรคนอนไม่หลับ สามารถแบ่งประเภทได้ 3 ประเภท คือ นอนไม่หลับชั่วคราว ( Transient insomnia ) นอนไม่หลับระยะสั้น ( Short-term insomnia ) และ นอนไม่หลับเรื้อรัง ( Long-term or Chronic insomnia ) รายละเอียดของประเภทต่างๆ มีดังนี้

  • นอนไม่หลับชั่วคราว ( Transient insomnia ) เป็นอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันแบบกระทันหัน มักพบในช่วงการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นชิน การดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก ( Time zone ) เป็นต้น
  • นอนไม่หลับระยะสั้น ( Short-term insomnia ) อาการลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเพียง 2-3 วัน ไม่เกิน 3 สัปดาห์ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะความเครียดบางอย่างส่งผลกระทบต่อการนอน
  • นอนไม่หลับเรื้อรัง ( Long-term or Chronic insomnia ) ลักษณะการนอนไม่หลับเป็นเวลานานต่อเนื่องเป็นปีๆ อาจเกิดจากการใช้ยาบางชนิด อาการเจ็บป่วยเรื้อรังบางโรคที่กระทบต่อร่างกายและจิตใจ เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนไม่หลับ

สำหนับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ มีหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งปัจจัยทางด้านร่างกาย ปัจจัยด้านสภาพจิตใจ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม รวมถึงอุปนิสัยการนอน ( Sleep hygiene ) ของแต่ละคน ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยการนอนไม่หลับได้ดังนี้

  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น มีอาการเจ็บป่วย มีไข้ โรคกรดไหลย้อน ภาวะระบบประสาทตื่นตัวมากกว่าปกติ เป็นต้น
  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านจิตใจ เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการความเครียด ความวิตกกังวล ในช่วงเวลานั้นๆ หรือ โรคที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์ เป็นต้น
  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านสิ่งแวดล้อม อาจเกิดเสียงรบกวน หรือแสงไฟรบกวน ทำให้นอนไม่หลับ
  • ปัจจัยจากอุปนิสัยการนอน ลักษณะการนอนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือ การทำกิจกรรมต่างๆที่ส่งผลให้นอนไม่หลับ เช่น การเล่นเกมส์ การเล่นโทรศัพท์ การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน ส่งผลกระทบต่อการนอนทั้งสิ้น

ลักษณะอาการของโรคนอนไม่หลับ
สำหรับอาการของโรคนอนไม่หลับนี้ มีหลายลักษณะแต่ลักษณะเด่นชัด คือ นอนไม่หลับ ในช่วงเวลาที่ต้องนอนพักผ่น ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคนอนไม่หลับ ได้ดังนี้

  • ใช้เวลานานในการทำให้ตัวเองหลับ
  • ชั่วโมงนอนน้อยเกินไป
  • อาการหลับๆตื่นๆ นอนไม่ต่อเนื่อง
  • ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สามารถนอนหลับได้อีก
  • ง่วงนอนในเวลากลางวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน

แนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับ

สำหรับการรักษาโรคะนอนไม่หลับ สามารถรักษาได้ด้วย 2 หลักๆ คือ การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และ การรักษาด้วยการใช้ยารักษาทำให้นอนหลับ ซึ่งในระยะสั้นการใช้ยาจะช่วยให้นอนหลับได้ แต่ การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุในเกิดอาการนอนไม่หลับ เป็นวิธีที่ดีที่สุด แนวทางการปรับพฤติกรรมให้นอนหลับ มีดังนี้

  • ควรอย่างมากที่จะต้องค้นหาสาเหตุ ที่มาที่ไปของการนอนไม่หลับ
  • ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง เชื่อว่าการออกกำลังกายนั้น เป็นยาวิเศษที่ทำให้ร่างกายนอนหลับพักผ่อนได้
  • การจัดห้องนอนให้เหมาะต่อการนอน การปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม และที่สำคัญบรรยากาศต้องเงียบ ส่งผลให้สมองผ่อนหลาย และ นอนหลับได้ดี
  • ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทุกชนิด
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มันกระตุ้นสอง อย่างเช่น กาแฟ ชา หรือแม้กระทั่ง น้ำอัดลม

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย