พาร์กินสัน สันนิบาตลูกนก เกิดจากความผิดปรกติของสมอง ทำให้มีอาการสั่น ไม่สามารถควบคุม ยังไม่มียารักษาโรคนี้ การรักษาใช้การประคับประครองตามอาการของโรค การป้องกันโรคพาร์กินสัน สันนิบาตลูกนก โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ

โรคพาร์กินสัน เกิดจากระบบประสาทและสมองเกิดการเสื่อม เป็นโรคทางสมองที่พบมากที่สุดอันดับที่ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ จากสถิติของจำนวนผู้ป่วยโรคพาร์กินสันทั่วโลกมีร้อยละ 1 ของกลุ่มคนที่มีอายุเกิน 65 ปี และสถิติการเกิดโรคพาร์กินสันในประเทศไทยพบผู้ป่วย 425 คนต่อประชากร 100,000 คน โรคพาร์กินสัน สมัยโบราณเรียก โรคสันนิบาตลูกนก ลักษณะของอาการสังเกตุจากอาการสั่นของร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่โด่งดังที่คนทั่วโลกรู้จัก คือ มูฮามัดอาลี นักชกมวยระดับโลก

สาเหตุการเกิดโรคพาร์กินสัน

สำหรับสาเหตุของโรคพาร์กินสันเกิดจากก้านสมองส่วนควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายเสื่อมจนไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ แต่ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของก้านสมองเสื่อมว่าเกิดจากอะไร แต่ทางการแพทย์เชื่อว่ามีปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีญาติหรือพี่น้องคนในครอบครัวมีอาการป่วยโรคพาร์กินสัน จะมีความเสี่ยงสูงกว่าปรกติ
  • ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การกระทบกระเทือนทางสมอง การรับสารต่างๆเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อการเกิดโรคได้มากขึ้น

อาการผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยจะค่อยๆแสดงอาการของโรคและเห็นอย่างชัดเจนจากลักษณะความผิดปรกติของการควบคุมร่างกาย มีลักษณะ 3 อาการเด่น คือ อาการสั่น อาการเกร็ง และอาการเคลื่อนไหวช้า โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการสั่น จะสั่นขณะที่อยู่เฉยๆ และหากเคลื่อนไหวอาการสั่นจะลดลงหรือหายไป และ มักเกิดขึ้นที่มือข้างใดข้างหนึ่ง
  • อาการเกร็ง จะมีอาการตึงบริเวรแขน ขาและลำตัว ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายลำบาก และทำให้ปวดตามกล้ามเนื้อ
  • อาการเคลื่อนไหวช้า เนื่องจากอาการอ่อนแรง ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายช้าลง ไม่ปรกติเหมือนคนทั่วไป

นอกจาก 3 อาการหลักๆ อาการเหล่านี้ยังส่งผลต่ออาการอื่นๆอีก เช่น น้ำลายไหล ร่างกายแข็งเกร็ง เดินลำบาก เดินซอยเท้า เท้าติดเวลาก้าวขา หกล้มง่าย  ความจำระยะสั้นไม่ค่อยดีในระยะต้น ความจำเสื่อมในระยะท้าย เหงื่อออกมาก ท้องอืด ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ การรับรู้กลิ่นและรสไม่ดี มึนศีรษะเวลาลุก รวมถึงอาการทางจิตใจ ผู้ป่วยพาร์กินสันอาจมีอาการโรคซึมเศร้าด้วย

การรักษาโรคพาร์กินสัน

สำหรับการรักษาโรคพาร์กินสันในปัจจุบันยังไม่มีสามารถรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาด หรือ หยุดยั้งอาการของโรคได้ ซึ่งแนวทางการรักษาในปัจจุบันเพียงการประคับประครองอาการของโรค โดยแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • การรักษาด้วยยาตามอาการ เช่น ใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน
  • การรักษาด้วยการกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีความสุขทั้งทางด้านจิตใจและร่างกาย ช่วยในเรื่องการเคลื่อนไหว ท่าเดิน ท่านั่ง การทรงตัว ตลอดจนการออกกายบริหารแก้ไขภาวะอื่นๆ เช่น หลังโกง ไหล่ติด ปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอ ปวดขา เป็นต้น
  • การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก ( deep brain stimulation ) รักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้า เพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยที่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล

การดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองจะลดลง แนวทางการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน มีดังนี้

  • ต้องมีผู้ที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
  • ป้องกันการลื่นล้ม ดูแลสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่ผู้ป่วย
  • ฝึกการก้าวเดินเนื่องจากส่วนมากจะมีปัญหาเรื่องการเดิน อาจจะใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
  • การออกกำลังกาย บริหารร่างกายส่วนต่างๆอย่างประจำสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นและป้องกันอาการโรคซึมเศร้า
  • ต้องระวังเรื่องท้องผูกเนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้จะไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายเองได้

โรคพาร์กินสัน หรือ สันนิบาตลูกนก เกิดจากความผิดปรกติของสมอง ทำให้ร่างกายมีอาการสั่น ไม่สามารถควบคุม ยังไม่มียารักษาโรคนี้ได้ แนวทางการรักษาใช้การประคับประครองตามอาการของโรค การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสันต้องทำอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ฝีในสมอง Brain abscess การติดเชื้อที่สมองจนเกิดฝี เกิดจากการสำลักหรือรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ความรุนแรงสูง ปวดหัว มีอาการชัก หมดสติ สูญเสียการควบคุมร่างกายโรคฝีที่สมอง โรคฝีในสมอง โรคติดเชื้อ โรคสมอง

โรคฝีสมอง ( Brain abscess ) คือ ภาวะการติดเชื้อในสมองจนทำให้เกิดฝี โรคชนิดนี้เป็นโรคอันตรายมีความรุนแรงของโรคสูง การติดเชื้อภายในสมองและเนื้อเยื่อใกล้เคียง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้ารุกรานร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม เข้าสู่สมองทางช่องทางต่างๆ ซึ่งเชื้อที่พบบ่อยสุด คือ สเตรปโตคอคคัส เป็นเชื้อโรคที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต โรครุนแรงพบในเด็กได้มากกว่าผู้ใหญ่ เด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหูน้ำหนวก โรคหัวใจพิการ ส่วนผู้ใหญ่มักป่วยจากการที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน จากการเกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สมองและเกิดเป็นฝี โรคนี้ลักษณะการใกล้เคียงกับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สาเหตุการเกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อที่สมองจนทำให้เกิดฝี มาจากการติดเชื้อ ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อมีหลายช่องทาง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ติดเชื้อโดยตรงจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือ เกิดการติดเชื้อหลังจากที่ผ่าตัด
  • ติดเชื้อจากอวัยวะอื่นและลามเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่สมองจึงทำให้เกิดฝีที่สมอง
  • อาการป่วยจากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ
  • ภาวะโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

อาการของโรคฝีในสมอง

สำหรับการแสดงอาการของฝีในสมอง จะแสดงอาการผิดปรกติที่หัวและการทำงานของร่างกายโดยรวม เช่น มีไข้ ปวดหัวอย่างรุนแรง มีหนองออกจากหู ชัด คลื่นไส้อาเจียน สายตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง ซึ่งอาการของโรคนี้ แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การแสดงอาการจากการติดเชื้อที่ศรีษะ และ อาการจากการติดเชื้อจากเนื้อสมองถูกกดทับ โดยรายละเอียด ดังนี้

อาการฝีในสมองจากการติดเชื้อในศีรษะ ผู้ป่วยจะมีไข้ และเพิ่มอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง

อาการฝีในสมองจากการถูกกดทับของเนื้อสมอง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน การรับรู้ลดลง ชา และ ชัก ตลอดจนการติดต่อสื่อสาร ความจำเสื่อม ความแจ่มชัดของสายตาลดลง สายตาแคบ ตามัว เดินเซ และ สมองเสื่อม

การตรวจวินิจฉัยโรคฝีในสมอง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะตรวจดูจากอาการ ตรวจประวัติการรักษา สังเกตุอาการ ตรวจร่างกาย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ ทำเอ็มอาร์ไอ เจาะนํ้าไขสันหลังส่งตรวจเพาะเชื้อ และส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองบริเวณที่เป็นฝี

การรักษาโรคฝีในสมอง

แนวทางการรักษาโรคฝีในสมอง ต้องตรวจหาตำแหน่งของฝี และ ขนาด จากนั้นจะกำจัดเอาก้อนฝี หรือ ระบายออกหนองออก โดยการใช้ยาปฏิชีวนะตามที่พบในก้อนฝีนั้น การให้ยาต้านเชื้อที่ติดจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จนฝีหายโดยจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอดเวลา แต่หากฝีไม่หาย ต้องใช้การผ่าตัดเพื่อเอาฝีออก และ ต้องรักษาด้วยการควบคุมเชื้อโรค เพื่อยับยั้งไม่ให้กลับมาเกิดโรคฝีในสมองซ้ำอีกครั้ง

การป้องกันการเกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับโรคฝีในสมองเกิดจากการติดเชื้อที่สมอง ดังนั้นแนวทางการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การป้องกันภาวะการติดเชื้อโรคทั้งหมด โดยให้รักษาความสะอาดขั้นพื้นฐาน เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อศีรษะ

 

โรคฝีในสมอง ( Brain abscess ) ภาวะการติดเชื้อที่สมองจนเกิดฝี เกิดจากการสำลักหรือรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ความรุนแรงของโรคสูง ผู้ป่วยมักปวดหัว มีอาการชัก หมดสติ สูญเสียการควบคุมร่างกาย แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร 

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย