สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

พลูคาว สมุนไพร ประโยชน์หลากหลาย ต้นพลูคาวเป็นอย่างไร สารในต้นพูลคาว ประโยชน์และสรรพคุณของพลูคาว เช่น ขับปัสสาวะ แก้อักเสบ รักษาบาดแผล โทษของพลูคาวมีอะไรบ้างพลูคาว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นพลูคาว ( Plu Kaow ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของพลูคาว คือ Houttuynia cordata Thunb. ชื่อเรียกอื่นๆของพลูคาว เช่น ผักคาวตอง คาวทอง ผักก้านตอง ผักคาวปลา ผักเข้าตอง เป็นต้น พลูคาว เป็นพืชที่พบได้ตามประเทศแถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม สำหรับประเทศไทย พลูคาว พบได้ในภาคเหนือ

พลูคาว สามารถนำเอามาสกัดนำสารในต้นพลูคาว มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์หลากหลาย รักษาโรคต่างๆ ได้มากมาย มีการนำเอา พลูคาว มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น พลูคาวแคปซูน น้ำพลูคาวสกัด เป็นต้น

ลักษณะของต้นของพลูคาว

ต้นพลูคาว คือ พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่อากาศเย็น ลักษณะของต้นพลูคาว มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นพลูคาว ลักษณะลำต้นเป็นข้อ อวบน้ำ สีเขียว กลม ลำต้นเอียง เลื้อยตามพื้นดิน มีรากแขนงตามข้อของลำต้น ลำต้นมีกลิ่นคาวปลา
  • ใบพลูคาว เป็นใบเดี่ยว ออกตามข้อของลำต้น ใบลักษณะคล้ายรูปหัวใจ สีเขียวสด ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ท้องใบมีสีม่วง
  • ดอกพลูคาว ออกดอกเป็นช่อ โดยดอกออกที่ปลายยอดของต้น ลักษณะดอกเป็นทรงกระบอก สีขาว
  • ผลพลูคาว มีขนาดเล็ก พัฒนามาจากดอกพลูคาว เมล็ดเป็นทรงรี

สารเคมีที่พบในพลูคาว

สำหรับต้นพลูคาว มีการนำมาศึกษาสารต่างๆที่อยู่ในต้นพลูคาว พบว่าทั้งต้นของพลูคาว มีโปแตสเซียมคลอไรด์ โปแตสเซียมซัลเฟต และ cordarine

น้ำมันหอมระเหยพลูคาว มีสาร decanoyl acetaldehyde

ดอกและใบพลูคาว มีสารกลุ่ม flavone คือ Quercirin , Isoquercitrin , quercetin , reynoutrin และ hyperin

สรรพคุณของพลูคาว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพลูคาว สามารถใช้ประโยชน์ได้จากส่วนต่างๆของพลูคาว คือ ทั้งต้น ลำต้น ใบสด ดอก โดยรายละเอียด ของ สรรพคุณของพลูคาว มีดังนี้

  • ทั้งต้นพลูคาว สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาไข้หวัด แก้อักเสบ รักษาแผลอักเสบ รักษาปอดอักเสบ รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปวดท้อง ช่วยลดอาการบวมน้ำ รักษาหนองใน รักษาอาการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว ช่วยห้ามเลือด
  • ต้นสด สรรพคุณรักษาไข้มาลาเรีย รักษาแผล พอกฝี แก้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาพิษงูกัด บำรุงกระดูก ยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น รักษาฝีหนองในปอด ช่วยขับระดูขาว ช่วยห้ามเลือด
  • ใบสด สรรพคุณช่วยลดไข้ เป็นยาระบาย ช่วยขับพยาธิ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องเสีย รักษาหนองใน บำรุงไต แก้ปวดตามข้อกระดูก  รักษาโรคผิวหนัง
  • ดอกพลูคาว สรรพคุณช่วยขับทารกที่ตายในท้อง
  • รากพลูคาว สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพลูคาว

สำหรับพลูคาวสามารถนำมาสกัดนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้

  • พลูคาวแคปซูล นำพลูคาวมาสกัดเป็นผงแล้วบรรจุแคปซูล เหมาะสำหรับผู้รักสุขภาพ
  • น้ำพลูคาวสกัด นำพลูคาวมาสกัดทำเครื่องดื่มมีประโยชน์ต่อร่างกาย

โทษของพลูคาว

สำหรับการรักประทานพลูคาว มีข้อควรระวังในการรับประทานพลูคาว ดังนี้

  • การรับประทานพลูคาว หากรับประทานมากเกินไป ทำให้หายใจสั่นและถี่ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • สำหรับคนที่มีอาการหนาวง่าย ปวดท้องบ่อย ท้องเสียบ่อยๆ แขนขาเย็น ไม่ควรรับประทานพลูคาว
  • พลูคาวสามารถนำมารักษาโรคผิวหนังได้ หากใช้มากจนเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้

พลูคาว คือ พืชล้มลุก สมุนไพร ประโยชน์หลากหลาย ลักษณะของต้นพลูคาวเป็นอย่างไร สารในต้นพูลคาว ประโยชน์และสรรพคุณของพลูคาว เช่น ขับปัสสาวะ แก้อักเสบ รักษาบาดแผล โทษของพลูคาวมีอะไรบ้าง

ต้นดาวเรือง ไม้ประดับ ดอกดาวเรือง สีเหลืองทอง นิยมใช้บูชาพระ ต้นดาวเรืองเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณแก้เวียนหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของดาวเรือง มีอะไรบ้าง ดาวเรื่อง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ดาวเรือง ( African marigold )  จัดอยู่พืชตระกูลเดียวกันกับทานตะวัน ชื่อวิทยาศาสตร์ของดาวเรือง คือ Tagetes erecta L. ชื่อเรียกอื่นๆของดาวเรือง เช่น คำปู้จู้หลวง พอทู บ่วงซิ่วเก็ก ว่านโซ่วจวี๋ บ่วงลิ่วเก็ก เฉาหู่ย้ง กิมเก็ก ดาวเรืองอเมริกัน เป็นต้น  ต้นดาวเรือง เจริญเติบโตเร็ว ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด แหล่งปลูกดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย คือ ลำปาง พะเยา ราชบุรี นนทบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี และกรุงเทพฯ เป็นต้น

สายพันธ์ดาวเรือง

สำหรับสายพันธ์ดาวเรืองที่นิยมปลูกในปัจจุบัน มี 5 สายพันธ์ ประกอบด้วย ดาวเรืองอเมริกัน ( Tagetes erecta ) , ดาวเรืองฝรั่งเศส  ( Tagetes patula ) , ดาวเรืองนักเก็ต ( Triploid Marigold ) , ดาวเรืองซิกเน็ต ( Tagetes tenuifolia ) และ ดาวเรืองใบ ( Tagetes filifolia )

ลักษณะของต้นดาวเรือง

ต้นดาวเรือง คือ พืชล้มลุก เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเม็กซิโก อายุของต้นดาวเรือง 1 ปี สามารถขยายพันธ์ โดยการปักชำ เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นดาวเรือง มีดังนี้

  • ลำต้นของดาวเรือง มีสีเขียว ลักษณะตั้งตรง ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แมลงไม่ชอบกลิ่นของต้นดาวเรือง ลำต้นดาวเรืองอ่อน ชุ่มน้ำ
  • ใบดาวเรือง ลักษณะของใบดาวเรืองทรงรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นซี่ฟัน มีสีเขียว เนื้อใบนิ่ม
  • ดอกดาวเรือง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกที่ปลายยอดของลำต้น ดอกดาวเรืองมีเหลือง กลีบดอกเรียงซ้อนกันหลายชั้น
  • ผลดาวเรือง อยู่ในดอกดาวเรืองแห้ง ผลดาวเรืองมีสีดำ สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของดาวเรือง

สารสำคัญในดอกดาวเรือง สามารถสกัดสารต่างๆ ประกอบด้วย lutein และ zeaxanthin Lutein

สำหรับสารLutein ทำหน้าที่ในการปรับพลังงานให้เป็นพลังงานแสง เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ไม่ใช่ตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อจัดการกับคลอโรฟิลล์ 3 ตัวในพืช ลูทีน ยังใช้เป็นสีเหลืองธรรมชาติที่สำคัญในชีวิต

สรรพคุณของดาวเรือง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากดาวเรือง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชนืจาก ดอกดาวเรือง รากดาวเรือง และ ใบดาวเรือง โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของดาวเรือง มีดังนี้

  • รากดาวเรือง สรรพคุณเป็นยาเย็น บำรุงปอด บำรุงตับ ช่วยขับลม แก้อักเสบ
  • ดอกดาวเรือง สรรพคุณเป็นยาเย็น บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงเลือด เป็นยาฟอกเลือด แก้เวียนหัว บำรุงสายตา แก้เจ็บตา รักษาโรคตาแดง รักษาคางทูม แก้อาการชัก แก้ร้อนใน รักษาหวัด แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ช่วยขับลม ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล แก้ปวดตามข้อ
  • ใบดาวเรือง สรรคุณรักษาโรคตานขโมย แก้ปวดหู ช่วยขับลม ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผลเน่าเปื่อย รักษาแผลพุพอง
  • ทั้งต้นดาวเรือง สรรพคุณช่วยขับลม แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง

โทษของดาวเรือง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากดาวเรือง มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • สำหรับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วยกำลังให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสารสกัดจากดาวเรือง
  • ดอกดาวเรือง มีเกสร ซึ่งสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องแพ้เกสรดอกไม้ ไม่ควรใกล้ดอกดาวเรือง
  • ดอกดาวเรือง มีกลิ่นหอม หากสูดดมมากเกินไป อาจทำให้เวียนหัว และ อาเจียนได้

ต้นดาวเรือง คือ พืชล้มลุก ไม้ประดับ ดอกดาวเรือง สีเหลืองทอง อยู่คู่สังคมไทยมานาน นิยมใช้บูชาพระ ลักษณะของต้นดาวเรือง เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของดาวเรือง เช่น แก้เวียนหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของดาวเรือง มีอะไรบ้าง


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร