สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

รางจืด ว่านรางจืด สมุนไพรไทย ต้นรางจืดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของรางจืด ขับสารพิษในร่างกาย ป้องกันมะเร็ง ช่วยสมานแผล รักษาโรคผิวหนัง โทษมีอะไรบ้าง

รางจืด สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นรางจืด หรือ ต้นว่านรางจืด ( Laurel clockvine ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของรางจืด คือ Thunbergia laurifolia Lindl. ชื่อเรียกอื่นๆของรางจืด เช่น รางเย็น , คาย , ดุเหว่า , ทิดพุด , ย่ำแย้ , แอดแอ , น้ำนอง , จอลอดิเออ , ซั้งกะ , ปั้งกะล่ะ , พอหน่อเตอ  , กำลังช้างเผือก , ยาเขียว , เครือเขาเขียว , ขอบชะนาง , ว่านรางจืด เป็นต้น ต้นรางจืด มีถิ่นกำเนิดแถบประเทศเอเชียตะวันนอกเฉียงใต้ พบมากตามป่าดงดิบ หรือ ป่าดิบชื้น นิยมนำมาปลูกตามบ้านเรือนทั่วไปของประเทศไทย

รางจืดในประเทษไทย

สำหรับต้นรางจืด นั้นภูมิปัญญาอีสาน ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการป้องกันพิษ ลดความดัน และ รักษาโรคผิวหนัง การปรุงอาหารที่ได้จากป่า ให้ใส่ใบรางจืดและดอกรางจืด เข้าไปด้วย จะช่วยป้องกันพิษของอาหารได้ หมอสมุนไพร ใช้ยอดและดอกของรางจืด ทำอาหารสุขภาพ เพื่อลดความดันโลหิต รักษาอาการแพ้ที่ผิวหนัง และ รักษาผดผื่นคัน ได้

ชนิดของรางจืด

สำหรับ รางจืดที่ใช้ในตำรายาสมุนไพร แบ่งรางจืด ออกเป็น 3 ชนิด คือ รางจืดเถา รางจืดต้น และ ว่างรางจืด รายละเอียด ดังนี้

  • รางจืดเถา มีลักษณะเป็นเถายาวเลื้อย ซึ่งรางจืดเถา มี 3 ชนิด คือ รางจืดชนิดดอกสีม่วงอ่อน รางจืดชนิดดอกสีเหลือง รางจืดชนิดดอกสีขาว
  • รางจืดต้น ( Milica kityana ) เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูง รากรางจืดต้นสามารถแก้ยาพิษได้
  • ว่านรางจืด จัดอยู่ในกลุ่มว่าน ลำต้นอยู่ใต้ดิน เนื้อของหัวสีขาว มีกลิ่นหอม

ลักษณะของต้นรางจืด

ต้นรางจืด เป็นพืชเถา รางจืด เป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ ต้นรางจืดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน ลักษณะของต้นรางจืด มีดังนี้

  • ลำต้นรางจืด ลักษณะเป็นเถา ยาวและเลื้อยเกาะตามพื้นที่ต่างๆ เนื้อไม้แข็ง ลักษณะกลมเป็นปล้อง ลำต้นมีสีเขียว ลำต้นไม่มีขน
  • ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายหัวใจ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบมีสีเขียว
  • ดอกรางจืด เป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ ดอกมีสีม่วงอมฟ้า ดอกมีน้ำหวานภายในหลอด
  • ผลรางจืด ลักษณะเป็นฝัก กลม ปลายผลจะเป็นงอย ผลแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก

สารที่พบในรางจืด

สารเคมีที่พบในรางจืด มีสารในกลุ่มโพลีฟีนอล ( polyphenol ) และ ฟลาโวนอยด์ ( flavonoid ) รายละเอียด ดังนี้

  • กรดฟีนอลิค ( phenolic acid ) คือ กรดแกลลิก ( gallic acid ) กรดคาเฟอิค ( caffeic acid ) และ กรดโปรโตคาเทคซูอิค  ( protocatechuic acid )
  • ฟลาโวนอยด์ ( flavonoid ) ได้แก่ อาพิจินิน (apigenin) และ อาพิจินิน กลูโคไซด์ ( apigenin glucoside ) ซึ่งอาพิจินิน เป็นสารสำคัญสามารถยับยั้งพิษของสารหนูได้
  • อนุกรมวิธานของรางจืด ประกอบด้วย Kingdom : Planatae ,  Phylum : Magnoliophyta , Class: Magnoliopsida , Order : Scrophulariales , Family : Acanthaceae , Genus : Thunbergia และ Species : Laurifolia Linn.

สรรพคุณของรางจืด

การใช้ประโยชน์จากรางจืด ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบรางจืด รากรางจืด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบและรากของรางจืด สรรพคุณใช้รักษาแผล นำมาพอกแผล ทำเป็นยาถอนพิษไข้ ถอนพิษอาหาร พิษเบื่อเมา แก้อาการเมาค้าง
  • ใบของรางจืด สรรพคุณใช้ถอนพิษไข้ แก้พิษเบื่ออาหาร
  • รากรางจืด สรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสีย รักษาโรคผิวหนัง ลดอาการแพ้ที่ผิวหนัง รักษาผื่นคัน แก้พิษยาฆ่าแมลงในสัตว์ รักษาพิษสุราเรื้อรัง ช่วยล้างพิษที่สะสมในร่างกาย ถอนพิษเบื่อเมา ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

โทษของรางจืด

สำหรับการใช้ประโยชน์จากรางจืด ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ใช้ในปริมาณมากและไม่ใช้ติดต่อกันนานเกินไป โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากรางจืด มีดังนี้

  • ไม่ควรดื่มน้ำที่คั้นจากรางจืด ติดต่อกันนานเกินไป เพราะ อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ รางจืดจะเป็นพิษต่อร่างกายก็ตาม การรับประทานยาสมุนไพรชนิดใดๆ ก็ตามติดต่อกันเป็นเวลานานควรตรวจเลือด ค่าตับและไตด้วย
  • หากมีแผนในการเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานรางจืด อย่างน้อย 14 วัน
  • รางจืด สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด การรับประทานรางจืด ควรระวังเรื่องระดับน้ำตาลในเลือด อย่าให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
  • รางจืด อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น ผื่นคัน

รางจืด ว่านรางจืด สมุนไพรไทย สรรพคุณช่วยขับพิษ บำบัดอาการติดยาเสพติด ลักษณะของต้นรางจืดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของรางจืด สรรพคุณของรางจืด ขับสารพิษในร่างกาย ป้องกันมะเร็ง ช่วยสมานแผล รักษาโรคผิวหนัง โทษของรางจืดมีอะไรบ้าง

ชะพลู นิยมรับประทานใบชะพลู ต้นชะพลูเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ เป็นต้น โทษของชะพลูทำให้เป็นนิ่วในไตชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นชะพลู ( Wildbetal leafbush ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะพลู คือ Piper sarmentosum Roxb. ชื่อเรียกอื่นๆของชะพลู เช่น ผักพลูนก , พลูลิง , ปูลิง , ปูลิงนก , ผักปูนา , ผักแค , ผักอีเลิด , ผักนางเลิด , ช้าพลู , นมวา เป็นต้น ชะพลู พืชพื้นบ้าน ตระกูลพริกไทย ใบชะพลูมีสารบีตาแคโรทีนสูง นิยมนำใบมารับประทานเป็นอาหาร เช่น เมี่ยงคำ แกงกะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือ นำมากินกับน้ำพริก แต่ใบชะพลูไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรือ รับประทานอย่างเป็นประจำ

ลักษณะของต้นชะพลู

ชะพลู พืชตระกลูเดียวกับพริกไทย เป็นพืชล้มลุก พืชคุลมดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด แต่ชะพลูชอบดินร่วนซุย และมีความชุ่มชื้น มีร่มเงา ชะพลู สามารถขยายพันธุ์ โดยการแยกเหง้า หรือ แตกหน่อ ลักษณะของต้นชะพลู มีดังนี้

  • ลำต้นชะพลู มีลักษณะตั่งตรง เกาะตามหลักหรือเสา สูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลำต้นมีสีเขียว ลำต้นเป็นข้อๆ
  • ใบชะพลู ลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ใบสีเขียวสด ผิวใบเรียบนูน ลักษณะมันวาว ใบมีกลิ่นหอม ใบออกตามข้อของลำต้น
  • ดอกชะพลู ออกดอกเป็นช่อ ลักษณะของดอกชะพลูเป็นทรงกระบอก ดอกอ่อนชะพลูมีสีขาว ดอกแก่ชะพลูสีเขียว ดอกแทงออกบริเวณปลายยอดและช่อใบ
  • ผลชะพลู ผลชะพลูมีสีเขียว ลักษณะมัน ผลออกบนช่อดอก ลักษณะเล็กกลมฝังตัวในช่อดอก ดอกชะพลูออกในฤดูฝนของทุกปี

คุณค่าโภชนากการของชะพลู

ใบชะพลู นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด สารอาหารสำคัญใน ใบชะพูล เช่น แคลเซียม เบต้าแคโรทีน น้ำมันหอมระเหย ( Volatile Oil ) ที่ประกอบด้วยสารในกลุ่ม Lignans และ Alkaloids

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการชองใบชะพลู ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 101 กิโลแคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 6.09 กรัม โปรตีน 5.40 กรัม ไขมัน 2.50 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.20 กรัม แคลเซียม 298.00 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.63 กรัม วิตามินบี1 0.09 กรัม วิตามินบี2 0.23 กรัม ไนอาซีน 3.40 กรัม วิตามินซี 22.00 กรัม และ เบต้าแคโรทีน 414.45 ไมโครกรัม

สรรพคุณของชะพลู

สำหรับชะพลู มีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ชะพลู สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้ง รากชะพลู ลำต้นชะพลู ใบชะพลู และ ผลชะพลู สรรพคุณของชะพลู มีดังนี้

  • รากชะพลู มีรสชาติเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงเลือด
  • ลำต้นชะพลู สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง
  • ใบชะพลู สรรพคุณช่วยขับลม รักษาโรคเบาหวาน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ผลชะพลู มีรสชาติเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร
  • ดอกชะพลู สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม

โทษของชะพลู

สำหรับการบริโภคชะพลู ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประมานมากเกินไป และ รับประทานติดต่อกันนานเกินไป จะเกิดโทษต่อร่างกาย โดยข้อควรระวังในการรับประทานชะพลู มีดังนี้

  • ใบชะพลูมีสารออกซาเลทสูง ไม่ควรรับประทานมากเกินไป การสะสมสารออกซาเลทมากๆ อาจทำให้เป็นนิ่วในไต สำหรับการขับสารออกซาเลท ต้องดื่มน้ำตามมากๆ สารออกซาเลตจะเจือจางลง โดยทางการปัสสาวะ

 

ชะพลู พืชล้มลุก ตระกลูพริกไทย นิยมรับประทานใบชะพลู ลักษณะของต้นชะพลู คุณค่าทางโภชนาการของใบชะพลู ประโยชน์และสรรพคุณของชะพลู เช่น ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ เป็นต้น โทษของชะพลู ทำให้เป็นนิ่วในไต


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร