สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

คื่นช่าย นิยมนำมาทำอาหาร ขึ้นฉ่าย คื่นไฉ่ คื่นช่าย คื่นฉ่าย คื่นไช่ ต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยดับคาว บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร โทษของคื่นฉ่ายมีอะไรบ้างคื่นฉ่าย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นขึ้นฉ่าย ต้นคื่นไฉ่ ต้นคื่นช่าย ต้นคื่นฉ่าย ต้นคื่นไช่ ( Celery ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของคื่นฉ่าย คือ Apium graveolens L. ชื่อเรียกอื่นของคื่นฉ่าย เช่น ผักข้าวปีน , ผักปืน , ผักปิ๋ม เป็นต้น พืชตระกูลผักชี สมุนไพรมีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร เพิ่มความหอมให้น้ำซุป

ชนิดของคื่นช่าย

ผักคื่นฉ่ายโดยทั่วไป มีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ คื่นฉ่ายฝรั่ง และ คื่นฉ่ายจีน โดยรายละเอียด ดังนี้

  • คื่นฉ่ายฝรั่ง ลักษณะต้นใหญ่ อวบน้ำ ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นสีเหลืองอมเขียว
  • คื่นฉ่ายจีน ลักษณะต้นเล็ก อวบน้ำ ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นมีสีเขียว

ลักษณะของต้นคื่นฉ่าย

ต้นขึ้นฉ่าย เป็นผักสวนครัว พืชล้มลุก มีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นคื่นฉ่าย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นคื่นฉ่าย มีสีเขียว อวบน้ำ เนื้อลำต้นอ่อน ความสูงของต้นประมาณ 30 เซนติเมตร ภายในลำต้นกลวง
  • ใบคื่นฉ่าย ใบมีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นใบแบบขนนก เป็นแฉกๆ ขอบใบหยัก ใบมีกลิ่นหอม
  • ดอกคื่นฉ่าย ดอกมีสีขาว ขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อ
  • ผลค่ืนฉ่าย ลักษณะกลมรี สีน้ำตาล มีขนาดเล็ก ผลมีกลิ่นหอม ภายในมีเมล็ดสามารถนำไปขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของคื่นช่าย

สำหรับการบริโภคคื่นช่าย นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน รับประทานทั้งต้น ใส่ในน้ำแกงให้กลิ่นหอม และ รสชาติของแกงที่มีเอกลักษณ์ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของคื่นช่ายและสารต่างๆในคื่นช่าย มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของขึ้นฉ่าย ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม
น้ำตาล 1.4 กรัม กากใยอาหาร 1.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม น้ำ 95 กรัม ธาตุแคลเซียม 40 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.2 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 260 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 80 มิลลิกรัม  และ
ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ในคื่นช่ายขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆมากมาย ประกอบด้วย วิตามินเอ 22 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.021 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.323 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี9 36 ไมโครกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม และ วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม

สารสำคัญที่พบในขึ้นฉ่าย คือ น้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสารต่างๆ ประกอบด้วย สารดี-ไลโมนีน ซีลินีน และ สารจำวพธาไลเตส นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ แต่พบในปริมาณน้อย ประกอบด้วย แซนตารอล ยูเดสมอล ไดไฮโดรคาร์โวน และ กรดไขมัน

สรรพคุณของคื่นฉ่าย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากคื่นฉ่าย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น นิยมใช้ประโยชน์โดยการรับประทานทั้งต้นของคื่นช่าย โดยสรรพคุณของต้นคื่นช่าย มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นให้อยากกินอาหารมากขึ้น ช่วยเจริญอาหาร
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ทำให้ระบบไหลเวียนดลหิตดี ช่วยขยายตัวของหลอดเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยปรับสมดุลของกรดและด่างในเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ชวยลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด
  • มีเบต้าแคโรทีน ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยรักษาโรคปวดข้อต่างๆ  อาการปวดตามปลายประสาท
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย ลดโอกาสการเกิดอัลไซล์เมอร์ แก้เวียนหัว ลดอาการอาเจียน
  • ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคหอบหืด ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยลดไข้ ช่วยขับร้อนในร่างกาย
  • บำรุงระบบาทงเดินอาหาร ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร รักษาโรคบิด รักษาท้องร่วง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยขับประจำเดือน สำหรับสตรีประจำเดืนไม่มาตามปรกติ แก้อาการปวดประจำเดือน
  • ช่วยบำรุงตับและไต ลดอาการบวมน้ำ
  • รักษาโรคผิหนัง ช่วยแก้ลมพิษ รักษาผดผื่นคัน รักษาฝีฝักบัว
  • ช่วยคุมกำเนิด ลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย ช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์

โทษของคื่นช่าย

สำหรับการรับประทาน หรือ ใช้ประโยชน์จากคื่นช่าย มีข้อควรระวังในการรับประทานขึ้นฉ่าย ดังนี้

  • คื่ช่วยมีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด ลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย ช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ สำหรับคนที่ต้องการมีบุตร ต้องลดการกินคื่นช่าย หรือ สารสกัดจากคื่นช่าย
  • การกินขึ้นฉ่ายในปริมาณมาก อาจจะทำให้เป็นหมันได้ เพราะ ทำให้อสุจิลดลง
  • คื่นช่ายมีน้ำมันหอมระเหย การสัมผัสต้นขึ้นฉ่าย ในคนที่มีอาการแพ้อาจทำให้เกิดผื่นคันได้
  • สารสกัดจากขึ้นฉ่าย มีสรรพคุณช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนสีิวให้มีสีน้ำตาลมากขึ้น

 

คื่นช่าย คือ ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ให้กลิ่นหอม เขียนได้หลายชื่อ เช่น ขึ้นฉ่าย คื่นไฉ่ คื่นช่าย คื่นฉ่าย คื่นไช่ ลักษณะของต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยดับคาว ช่วยบำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร โทษของคื่นฉ่าย มีอะไรบ้าง

ตำลึง นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพรพื้นบ้าน ต้นตำลึงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง สรรพคุณของตำลึง เช่น บำรุงสายตา บำรุงเลือด โทษของตำลึง มีอะไรบ้าง

ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นตำลึง ( Ivy gourd ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตำลึง คือ Coccinia grandis (L.) Voigt ชื่อเรียกอื่นๆของตำลึง เช่น สี่บาท , ผักแคบ , ผักตำนิน , แคเด๊าะ เป็นต้น ต้นตำลึง เป็นพืชตระกูลแตง สำหรับอาหารไทย นิยมนำตำลึงมาทำอาหาร หลายเมนู เช่น แกงจืดผักตำลึง แกงเผ็ด แกงคั่ว แกงเขียวหวาน เป็นต้น

ลักษณะของต้นตำลึง

ต้นตำลึง จัดเป็นพืชล้มลุก ไม้เลื้อย ต้นตำลึงจะทอดยาวเกาะตามเสา รั้วบ้าน เกาะตามหลัก ต้นไม้ เป็นต้น สามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดพันธ์ หรือ การปักชำ ลัก ษณะของต้นตำลึง มีดังนี้

  • ลำต้นของตำลึง เป็นลักษณะเถาไม้เลื้อย ทอดยาวเกาะตามหลักต่างๆ เปลือกของลำต้นอ่อน มีสีเขียว เปลือกแก่จะมีสีน้ำตาลอ่อน
  • ใบของตำลึง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบคลายรูปหัวใจ ใบออกมาตามข้อของลำต้น ใบมีสีเขียวใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่ขนาดใหญ่สีเขียวเข้ม
  • ดอกของตำลึง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ คล้ายรูประฆัง ดอกมีสีขาว
  • ผลของตำลึง คลายแตงกวา มีขนาดเล็ก ผลเป็นทรงรียาว สีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีแดง ข้างผลมีเมล็ด สามารถนำไปขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

สำหรับการรับประทานตำลึง นิยมนำใบอ่อนและยอดอ่อนของตำลึง นำมาทำอาหารรับประทาน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตำลึง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง ขนาด 100 กรัม  ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ 18,608 IU วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 34 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 126 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 30 กรัม และ ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม สารเคมีสำคัญในตำลึงมีสารเอนไซม์อะไมเลสและเบต้าแคโรทีน ช่วยในการย่อยแป้ง

สรรพคุณของตำลึง

สำหรับประโยชน์ของตำลึงด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบตำลึง ลำต้นตำลึง และ รากตำลึง รายละเอียด ดังนี้

  • ใบตำลึง สรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมความเซลล์ในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงหัวใจ บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงน้ำนมแม่ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยดับพิษร้อน ลดความร้อนในร่างกาย  แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับพิษในลำไส้ แก้ท้องผูก ช่วยแก้ผดผื่นคัน รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาฝี รักษาแผลอักเสบ ป้องกันตะคริว
  • รากตำลึง สรรพคุณช่วยลดไข้  แก้อาเจียน บำรุงสายตา เป็นยาระบาย แก้อักเสบ รักษาแผลอักเสบ
  • ลำต้นตำลึง สรรพคุณแก้อาการวิงเวียนศีรษะ แก้อาการตาแดง ลดอาการตาช้ำ
  • ดอกตำลึง สรรพคุณแก้ผดผื่นคัน
  • เมล็ดตำลึง สรรพคุณแก้หิด

โทษของตำลึง

  • ตำลึงมีสรรพคุณเป็นยาเย็น หากนำน้ำตำลึงมาทาที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็น แปลว่า ไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที เพราะ จะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น
  • ตำลึง มีทั้ง ตำลึงตัวผู้ และ ตำลึงตัวเมีย ตำลึงตัวเมีย กินได้ไม่มีปัญหา ตำลึงตัวผู้ สำหรับคนที่ธาตุอ่อน อาจทำให้ท้องเสียได้

 

ตำลึง ผักพืนบ้าน นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพรพื้นบ้าน ลักษณะของต้นตำลึงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง สรรพคุณของตำลึง เช่น บำรุงสายตา บำรุงเลือด โทษของตำลึง มีอะไรบ้าง


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร