สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ต้นมังคุด ราชินีแห่งผลไม้ ต้นมังคุดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด ประโยชน์และสรรพคุณของมังคุด บำรุงกำลัง บำรุงผิวพรรณ รักษาสิว โทษของมังคุด มีอะไรบ้างมังคุด ราชินีแห่งผลไม้ ผลไม้ สรรพคุณของมังคุด

มังคุด ( Mangosteen ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมังคุด คือ Garcinia × mangostana L.ชื่อเรียกอื่นของมังคุด เช่น แมงคุด เมงค็อฟ เป็นต้น ต้นมังคุด มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะซุนดา และ หมู่เกาะโมลุกกะ มีฉายาว่า “ ราชินีแห่งผลไม้ ” จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์มาก มังคุดนั้น ไม่ได้นิยมเพียงรับประทานผลเท่านั้น เปลือกมังคุด ก็มีประโยชน์มากมาย เช่นกัน

ต้นมังคุด จัดเป็น ไม้ยืนต้น ไม้ผลเขตร้อน พบปลูกมากในประเทศไทย มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา พม่า และ ฟิลิปปินส์ โดยประเทศที่มีผลผลิตจากมังคุดมากที่สุด คือ ประเทศไทย

มังคุดในประเทศไทย

ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีผลผลิตมังคุดมากที่สุดในโลก โดยแหล่งปลูกมังคุด ที่สำคัญของไทย คือ ภาคใต้ และ ภาคตะวันออก  โดยมูลค่าการส่งออกในแต่ละปี มากถึง 1,500 ล้านบาท ประเทศที่รับมังคุดของไทยไป คือ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และ เนเธอแลนด์ ประเทศไทยสามารถผลิตมังคุดที่มีคุณภาพดีที่สุด มีรสชาติดีมากกว่ามังคุดของประเทศอื่นๆ ด้วยความเหมาะสมของดิน และ อากาศ ทำให้มังคุดจากประเทศไทยเป็นมังคุดที่ดีที่สุดในโลก แนวโน้มอนาคุดมังคุดจะมีความสำคัญมาก สำหรับเป็นผลไม้ส่งออกของไทย เพราะ การขยายตลาดมังคุดสู่ประเทศจีน

ลักษณะของต้นมังคุด

มังคุด เป็นพืชเศรษฐกิจ ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน ทนแล้งได้ดี สามารถขยายพันธ์ได้โดย การเพาะเมล็ดพันธ์ การเสียบยอด และ การทาบกิ่ง แต่วิธีที่นิยมในการขยายพันธ์มังคุดมากที่สุด คือ การเพาะเมล็ด เพราะ สะดวกและรวดเร็ว ลักษณะของต้นมังคุด มีดังนี้

  • รากของมังคุด เป็นรากแก้ว และ รากแขนง รากค่อนข้างลึก ประมาณ 120 เซนติเมตร
  • ลำต้นของมังคุด ลักษณะของลำต้น ทรงกลม ความสูงประมาณ 25 เมตร ทรงพุ่ม เปลือกของลำต้นมีสีดำ
  • ใบของมังคุด เป็นใบเดี่ยว ใบมีสีเขียว ใบแทงออกตามกิ่ง ลักษณะของใบเป็นทรงรี ใบค่อนข้างหนา ใบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวใบมียางสีเหลือง
  • ดอกมังคุด ดอกออกเป็นดอกคู่หรือดอกเดี่ยว ดอกออกที่ปลายกิ่งแทงออกตามซอกใบ ดอกมีกลีบสีแดง
  • ผลมังคุด ลักษณะผลทรงกลม เปลือกผลมังคุด หนาประมาณ 1 เซนติเมตร ผลมังคุดอ่อนสีเขียว ผลมังคุดสุกมีสีม่วง เปลือกมังคุดลักษณะแข็ง ผิวมัน เปลือกด้านในอ่อน มีเนื้อสีขาว ชุ่มน้ำ รสเปรี้ยวอมหวาน ภายในผลมีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด

สำหรับมังคุดนั้นนิยมรับประทานเนื้อผลมังคุด ให้รสหวาน อร่อย นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลมังคุดสดๆ รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อผลมังคุด สด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 73 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 80.94 โปรตีน 0.41 กรัม ไขมัน 0.58 กรัม คาร์โบไฮเดรต 17.91 กรัม กากใยอาหาร 1.8 กรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก  0.30 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 48 มิลลิกรัม โซเดียม 7 มิลลิกรัม สังกะสี 0.21 มิลลิกรัม วิตามินซี 2.9 มิลลิกรัม ไทอะมีน 0.054 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.054 มิลลิกรัม ไนอะซีน 0.286 มิลลิกรัม และ วิตามินบี6  0.018 มิลลิกรัม

สารเคมีสำคัญในมังคุด นั้น พบว่ามังคุดมีสารแซนโทน ( Xanthone ) สรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง นอกจาก ยังมีสารแทนนิน ( Tannin ) อยู่ในเปลือกของมังคุด

สรรพคุณของมังคุด

มังคุดนั้น นิยมใช้ประโยชน์กับผลมังคุด โดยนิยมรับประทางผล และ นำเปลือกผลมังคุดตากแห้งมาใช้ประดยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค โดยรายละเอียดของสรรพคุรของมังคุด มีดังนี้

  • ผลมังคุด เปรี้ยวอมหวาน สรรพคุณบำรุงกำลัง ทำให้กระปรี่กระเปร่า บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันท้องเสีย ช่วยให้ผ่อนคลาย บำรุงสมอง
  • เปลือกผลมังคุด สรรพคุณป้องกันโรคหวัด บำรุงผิว รักษาสิว ป้องกันมะเร็ง บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ  ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ป้องกันโรคภูมิแพ้ ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ

โทษของมังคุด 

  • เปลือกมังคุด มีสารออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง และ กดระบบการทำงานของประสาท ทำให้เพิ่มความดันเลือด ผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารสกัดที่ได้จากเปลือกมังคุด
  • มังคุด มีสารแทนนิน ( Tannin ) หากบริโภคมากเกินไป และ บริโภคต่อเนื่องนานๆ อาจเป็นพิษต่อตับ และไต ได้

ต้นมังคุด ผลไม้ รสหวาน ราชินีแห่งผลไม้ ลักษณะของต้นมังคุดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด ประโยชน์และสรรพคุณของมังคุด เช่น บำรุงกำลัง บำรุงผิวพรรณ รักษาสิว โทษของมังคุด มีอะไรบ้าง

หอมหัวใหญ่ พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร มีกลิ่นฉุน ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ ประโยชน์ สรรพคุณของหอมใหญ่ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจหอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นหอมหัวใหญ่ ( Onion )  ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมหัวใหญ่ คือ Allium cepa L. ชื่อเรียกอื่นๅของหอมหัวใหญ่ เช่น หัวหอมใหญ่ หอมฝรั่ง หอมหัว เป็นต้น หอมหัวใหญ่ จัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับพับพลึง นิยมใช้ในการนำมาทำอาหาร ปรุงรสอาหารให้รสชาติ หอมหัวใหญ่ เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน เฉพาะตัว สรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มากมาย อุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามิน และสารเคมีต่างๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่

ต้นหอมหัวใหญ่ เป็นพืชหัวอยู่ใต้ดิน นิยมนำหัวมาบริโภค ถิ่นกำเนิดของหอมหัวใหญ่ อยู่ในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แหล่งผลิตที่สำคัญของหอมหัวใหญ่ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และ ประเทศอินเดีย หอมใหญ่ สามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ที่มีการระบายน้ำ และ อากาศได้ดี ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ต้นหอมหัวใหญ่ มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกบางๆ สีแดง ลำต้นหอมหัวใหญ่อยู่ใต้ดิน เรียกว่า หัวหอม มีกลีบสีขาวอวบน้ำซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หัวหอมใหญ่มีกลิ่นฉุน
  • ใบหอมหัวใหญ่ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบยาว กลม ออกเป็นกระจุก แทงออกมาจากหัว มีสีเขียว ใบมีกลิ่นฉุน
  • ดอกหอมหัวใหญ่ ลักษณะดอกหอมใหญ่ ออกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการชองหอมหัวใหญ่

สำหรับการนำหอมหัวใหญ่มารับประทาน นั้นนิยมใช้หัวของหอมใหญ่มารับประทาน ซึ่งรับประทานทั้งหัวสดๆ หรือ นำมาผ่านความร้อนก่อน โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของหอมหัวใหญ่ มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 40 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม น้ำตาล 4.24 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม น้ำ 89.11 กรัม วิตามินบี1 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.116 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.123 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม

สำหรับสารเคมีต่างๆในหอมหัวใหญ่ มีสารประกอบ กำมะถันหลายชนิด เช่น สารไดอัลลิลไดซัลไฟด์  สารไซโคลอัลลิอิน และ ยังอุดมไปด้วยวิตามินอี และ สารต่างๆที่ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ สำหรับกลิ่นฉุนของหอมหัวใหญ่ นั้นเกิดจากสาร ACSOs โดยกลิ่นฉุนถูกขับออกมาเมื่อเซลล์หอมถูกทำลาย

สรรพคุณของหอมหัวใหญ่

สำหรับประโยชน์ของหอมหัวใหญ่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ประโยชน์จากหอมหัวใหญ่ โดยสรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงร่างกาย ป้องกันโรคต่างๆ และ ป้องกันมะเร็งได้ดี
  • ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้ง่วง ช่วยในการนอนหลับสบาย
  • ช่วยบำรุงเลือด บำรุงสมอง ช่วยทำให้มีความจำที่ดี ช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และ ลดความเสี่ยงอัมพาต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยสลายลิ่มเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต รักษาเบาหวาน
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน สำหรับสตรีหลังหมดประจำเดือน
  • ช่วยรักษาไข้หวัด ลดน้ำมูก ช่วยขับเสมหะ แก้ปวด แก้อักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับพยาธิ ป้องกันเชื้อแบคที่เรีย
  • บำรุงผิวพรรณ รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาแผลฟกช้ำ ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ

โทษของหอมหัวใหญ่

สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานหอมหัวใหญ่ นั้นต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากหอมใหญ่มีฤทธิ์อุ่น และ รสเผ็ด ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ การนำหอมหัวใหญ่มาใช้ประโยชน์ ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย ข้อควรระวังในการใช้หอมหัวใหญ่ มีดังนี

  • หอมหัวใหญ่ มีกลิ่นฉุน และ ทำให้เกิดการระคายเคืองตาได้ หากระอองจากหัวหอมเข้าตา
  • การรับประทานหัวหอมใหญ่ ในปริมาณมากเกินไป และ รับประทานต่อเนื่องติดๆกัน อาจจะทำลายจิตประสาท ทำให้ลืมง่าย ความจำเสื่อม สายตามัว และยังไปทำลายสมรรถภาพทางเพศ
  • ไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่แบบสด ในขณะที่ท้องว่าง เพราะ อาจะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะได้
  • หอมหัวใหญ่กลิ่นแรง ทำให้เกิดกลิ่นปาก สำหรับคนที่มีกลิ่นตัวแรง ไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่มากเกินไป

สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร