สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

มะรุม สมุนไพรพื้นบ้าน ประโยชน์หลากหลาย ลักษณะของต้นมะรุม ประโยชน์และสรรพคุณของมะรุม เช่น บำรุงผิวพรรณ ลดไขมันและคอเรสเตอรัล คุณค่าทางโภชนาการโทษของมะรุม

มะรุม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะรุม ( Moringa ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะรุม คือ Moringa oleifera Lam. ชื่อเรียกอื่นๆของมะรุม เช่น บะค้อนก้อม ผักอีฮุม บักฮุ้ม เป็นต้น มะรุม จัดเป็นผักพื้นบ้าน มีประโยชน์มากมาย ทั้งด้านอาหาร ยา และ อุตสาหกรรม มะรุมเป็นไม้ยืน โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน

มะรุม มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย และ ในทวีปแอฟริกา ต้นมะรุมปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตดีในดินทุกๆประเภท สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะการเมล็ดพันธ์ และ วิธีการปักชำ

ลักษณะต้นมะรุม

ต้นมะรุม เป็นไม้ยืนต้น ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน โตเร็ว ทนแล้ง สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การปักชำ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นมะรุม มีดังนี้

  • ลำต้นของมะรุม ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีกิ่งก้านเป็นพุ่ม ลักษณะโปร่ง เปลือกของลำต้นมีสีเทา ผิวเปลือกเรียบ บาง ความสูงประมาณ 15 เมตร
  • ใบมะรุม เป็นในเดี่ยว ลักษณะใบเป็นทรงรี ปลายใบ และ ฐานใบ มน ใบมีขน ใบแตกออกจากก้าน ออกเรียงสลับกัน
  • ดอกมะรุม ออกเป็นช่อ ดอกมะรุมมีสีขาว ดอกออกตามข้อของกิ่ง ดอกมะรุมแก่ มีสีเหลืองนวล
  • ฝักมะรุม หรือ ผลมะรุม ฝักมะรุมอ่อน มีสีเขียว ฝักแก่จะมีสีน้ำตาล เปลือกหนา ลักษณะเป็นคลื่นนูนตามเมล็ด ภายในฝักมะรุมมีเมล็ด
  • เมล็ดมะรุม ลักษณะรี มีเยื่อหุ้มคล้ายกระดาษแก้วบางๆ ขนาดของเมล็ดประมาณ 1 เซ็นติเมตร

คุณค่าทางอาหารของมะรุม

สำหรับการบริโภคมะุรุม นั้นนิยมบริโภคส่วนใบและฝักของมะรุม โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุมและฝักมะรุม มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 26 แคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 6.7 กรัม กากใยอาหาร 0.1 กรัม ไขมัน 4.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม วิตามินเอ 6,780 μg. วิตามินซี 220 มิลลิกรัม แคโรทีน 110 μg. แคลเซียม 400 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.18 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม และ โพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 2.10 กรัม น้ำ 88.20 กรัม วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.0530 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.620 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.794 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.120 มิลลิกรัม วิตามินบี9 44 ไมโครกรัม วิตามินซี 141 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะรุม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะรุม ในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารุใช้ประโยชน์จากมะรุม มากมาย เช่น ใบมะรุม ฝักมะรุม เมล็ดมะรุม ยางจากต้นมะรุม รากมะรุม เปลือกมะรุม ดอกมะรุม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ใบมะรุม สรรพคุณรักษาไข้ รักษาเลือดออกตามไรฟัน ลดอาการอักเสบ รักษาแผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต บำรุงผิวพรรณ แก้ปวดหัว รักษาแผลสด
  • ยอดอ่อน ใช้ถอนพิษไข้
  • ดอกมะรุม สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง บำรุงดวงตา บำรุงสายตา
  • ฝักมะรุม สรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด ลดคอเรสเตอรัลในร่างกาย แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
  • เมล็ดของมะรุม สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ เป็นยาลดไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง แก้ไอ
  • รากมะรุม สรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้อาการบวม รักษาโรคไขข้อ
  • เปลือกลำต้น สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันมะเร็ง
  • ยางมะรุม สรรพคุณรักษาโรคหอบหืด แก้ปวดฟัน แก้ปวดหู ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ รักษาซิฟิลิส
  • น้ำมันมะรุม สรรพคุณช่วยละลอวัย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผม รักษาผมร่วง รักษาเชื้อราบนหนังศรีษะ แก้ปวดหัว รักษาสิว รักษาจุดด่างดำบนใบหน้า ฆ่าพยาทในหู รักษาหูน้ำหนวก รักษาเยื่อบุหูอักเสบ รักษาอาการคันตามผิวหนัง รักษาแผลสด รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของมะรุม

สำหรับมะรุม นั้นการรับประทานมะรุมให้ปลอดภัย ต้องรับประทานมะรุมหรือใช้อย่างถูกวิธีในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระวังในการบริโภคและการใช้ประโยยชน์จากมะรุม มีดังนี้

  • สตรีกำลังตั้งครรภ์ จากงานวิจัยบางชิ้น ระบุว่าการรับประทานมะรุมในช่วงนี้ อาจทำให้คุณแม่ผลิตน้ำนมออกมามากกว่าปรกติ จึงไม่ควรรับประทานมะรุม หากกำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร
  • ใบมะรุม ควรรับประทานใบสดๆ รับประทานใบที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป และ ไม่ควรให้ใบมะรุมถูกความร้อนนานเกินไป การใช้ใบมะรุม มาทำอาหารไม่ควรให้เด็กทารก หรือ เด็กวัยไม่เกิน 2 ขวบ รับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะ อาจจะทำให้ท้องเสียได้
  • สตรีมีครรภ์ ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะ อาจจะทำให้แท้งบุตรได้
  • ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคเลือด ไม่ควรรับประทานมะรุม เพราะ อาจทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย
  • เปลือกของลำต้นมะรุม มีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด สำหรับคนที่มีบุตรยาก หรือ ต้องการมีบุตร ไม่ควรกินมะรุม

ฟักทอง นิยมทานผลฟักทองเป็นอาหาร ต้นฟักทองเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด กากใยอาหารสูง โทษของฟักทอง

ฟักทอง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นฟักทอง ( Pumpkin ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟักทอง คือ Cucurbita moschata Duchesne ชื่อเรียกอื่นๆของฟักทอง เช่น หมากอึ มะฟักแก้ว มะน้ำแก้ว น้ำเต้า หมักอื้อ หมากฟักเหลือง เหลืองเคล่า หมักคี้ล่า เป็นต้น ฟักทอง เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงกวา นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน

สายพันธ์ของฟักทอง

สำหรับต้นฟักทอง สามารถแบ่งได้ 2 สายพันธ์ ใหญ่ คือ ฟักทองตระกูลอเมริกัน และ ฟักทองตระกูลสควอช โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ฟักทองตระกูลอเมริกัน ( pumpkin ) จะมีลักษณะของผลฟักทองขนาดใหญ่ เนื้อผลยุ่ย
  • ฟักทองตระกูลสควอช ( Squash ) ลักษณะของผลฟักทองมีเปลือกแข็ง เนื้อแน่น ฟักทองตระกูลสควอช ได้แก่ ฟักทองไทย และ ฟักทองญี่ปุ่น

ลักษณะของต้นฟักทอง

ต้นฟักทอง เป็นพืชล้มลุก พืชคลุมดิน เป็นพืืชตระกูลเดียวกันกับแตงกวา นิยมปลูกริมรั้ว มีลำต้นเลื้อยตามดิน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะ เมล็ดพันธ์ โดยลักษณะของต้นฟักทอง ลำต้น ใบ ดอก และ ผล มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นฟักทอง ลักษณะของลำต้น เป็นเถา ลักษณะอวบน้ำ มีขนอ่อนๆ เลื้อยไปตามพื้นดิน และ เกาะตามเสา เถามีสีเขียว
  • ใบฟักทอง ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว มีขนอ่อนๆ ใบมีขนาดใหญ่เป็นหยักๆ 5 หยัก
  • ดอกฟักทอง ลักษณะของดอกฟักทองเป็นช่อ สีเหลือง ออกดอกตากยอดของเถา ดอกคล้ายรูประฆัง
  • ผลฟักทอง มีลักษณะกลม แบน ใหญ่ เปลือกภายนอกผิวไม่เรียบ แข็ง และ ขรุขระ เปลือกผลอ่อนมีสีเขียว เปลือกผลสุกสีน้ำตาล เนื้อของผลมีสีเหลือง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก มีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของฟักทอง

ผลฟักทอง นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร โดยนำมาทำให้สุก ฟักทอง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย  เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลสุกฟักทอง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของฝักทอง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 26 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม น้ำตาล 2.76 กรัม กากใยอาหาร 0.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1 กรัม วิตามินเอ 476 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,100 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,500 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.298 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี9 16 ไมโครกรัม วิตามินซี 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.44 มิลลิกรัม วิตามินเค 1.1 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.125 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 340 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.32 มิลลิกรัม

เนื้อของผลฟักทองมีกากใยสูง และ มี กรดโพรไพโอนิก ที่มีสรรพคุณทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนแอลง

เมล็ดฟักทอฟักทอง มี สารคิวเคอร์บิทีน สรรพคุณช่วยขับพยาธิตัวตืด

สรรพคุณของฟักทอง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักทอง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบ ดอก เมล็ด ราก และ ผล โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดฟักทอง สรรพคุณกำจัดพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ช่วยบำรุงประสาท ป้องกันโรคต่อมลูกหมาก ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชาย
  • รากฟักทอง สรรพคุณแก้ไอ บำรุงร่างกาย
  • เยื่อกลางของผลฟักทอง สรรพคุณใช้พอกแผล แก้รฟกช้ำ แก้ปวดอักเสบ
  • ผลฟักทอง สรรพคุณช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย บำรุงระบบทางเดินอาหาร รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บำรุงผิว ช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยย่อยอาหาร บำรุงกำลัง ลดการอักเสบ แก้ปวด
  • เปลือกของผลฟักทอง สรรพคุณควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวาน ควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา

โทษของฟักทอง

สำหรับการรับประทาน ฟักทอง เมล็ดฟักทอง ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดอันตายต่อร่างกาย แต่หากกินในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดอันตรายได้ โดยข้อควรระวังในการกินฟักทอง มีดังนี้

  • การรับประทานเมล็ดฟักทอง ในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดการสะสมของแก็สในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ท้องอืด ปวดท้องได้
  • เมล็ดฟักทอง มีไขมันและแคลอรี่สูง หากกินมากเกินไป อาจทำให้ประมาณไขมัน สะสมในเส้นเลือดมากขึ้น
  • สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินเมล็ดฟักทองได้ อาจทำให้แก๊สสะสมในท้อง ทำให้แน่นท้อง ปวดท้องได้
  • ฟักทอง มีฤทธิ์อุ่น สำหรับกลุ่มคนที่มีอาการ เช่น กระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก มีแผลในช่องปาก เหงือกบวม ไม่ควรทานฟักทองมากเกินไป เพราะ อาจกระตุ้นให้ร่างกายร้อนขึ้น อาจทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง

ฟักทอง พืชล้มลุก นิยมรับประทานผลฟักทอง ลักษณะของต้นฟักทองเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของฟักทอง ประโยชน์และสรรพคุณของฟักทอง บำรุงสายตา ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด กากใยอาหารสูง โทษของฟักทอง มีอะไรบ้าง


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร