สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ต้นมะระ ผลมะระมีรสขม นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร มะระขี้นก มะระจีน ลักษณะของต้นมะระ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด ลดน้ำตาลในเลือด โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

มะระ สมุนไพร สมุนไพรไทย

มะระ ( Bitter melon ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะระ คือ Momordica charantia L. ชื่อเรียกอื่นๆของมะระ เช่น  ผักเหย , ผักไห , มะร้อยรู , มะห่อย , มะไห่ , สุพะซู , สุพะเด เป็นต้น ต้นมะระ พืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย จัดเป็นพืชตระกุลแตง ขึ้นในประเทศเขตร้อน มะระที่นิยมรับประทาน มี 2 สายพันธุ์ คือ มะระขี้นก และ มะระจีน

ชนิดของมะระ

สำหรับ มะระที่พบว่าปลูกในประเทศไทย สามารถแบ่งมะระออกเป็น 4 สายพันธ์ คือ มะระขี้นก มะระจีน มะระสองพี่น้อง และ มะระย่างกุ้ง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • มะระขี้นก ลักษณะของผลมะระจะเล็ก ผิวของผลขรุขระ ทรงเรียวยาวป้อม ผลมะระมีรสขมมาก เนื้อผลบาง
  • มะระจีน ลักษณะของผลมะระใหญ่ เรียว ยาวประมาณ 30 เซ็นติเมตร ผลมีสีเขียว รสขม มีเนื้อผลมาก นิยมรับประทานมากที่สุด
  • มะระสองพี่น้อง เป็นพันนธุ์ ผสมจากมะระจีน มีผลขนาดใหญ่กว่ามะระจีน ขมน้อยกว่า น่ารับประทาน
  • มะระย่างกุ้ง ลักษณะผลเล็ก รูปร่างยาว ผิวของผลขรุขระ รสขมน้อย

ลักษณะของต้นมะระ

ต้นมะระ จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงกวา แต่เอกลักษณ์ของมะระ คือ รสขมของผลมะระ สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อน โดยเฉพาะ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นมะระ มีดังนี้

  • ลำต้นมะระ เป็นเถาไม้เลื้อย เถายาวเกาะตามเสา หรือ พื้นที่ที่ต่างๆ ลำต้นอุ้มน้ำมาก มีขนอ่อนๆ
  • ใบมะระ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายรูปฝ่ามือ ขอบใบหยักเป็นซี่ห่างๆ ใบเว้าเป็นแฉกๆ ใบมีขนอ่อนๆ
  • ดอกมะระ ออกเป็นชอ มีสีเหลือง ออกดอกตามซอกใบ
  • ผลมะระ มีสีเขียวทรงยาวเรียว ผิวของผลลักษณะขรุขระ มะระสุกมีสีเหลือง ภายในมีเมล็ด ผลมะระมีรสขมมาก

คุณค่าทางโภนาการของมะระ

มะระมีรสขม เนื่องจากในเนื้อผลมะระมีสารเคมีชนิดหนึ่ง เรียก Momodicine ให้รสขมมาก แต่มีประโยชน์การช่วยกระตุ้นความรู้สึกอยากกินอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะระ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะะระจีน ขนาด 93 กรัม พบว่ามีสารอาหารต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินซี สารโฟเลต ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุทองแดง และ ธาตุสังกะสี

สรรพคุณของมะระ

สำหรับประโยชน์ของมะระ ในด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ ผล เมล็ด และ ลำต้น โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผลมะระ มีรสขมมาก สรรพคุณช่วยชะลอวัย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเลือด ต้านเชื้อไวรัส ป้องกันหวัด รักษาแผลในปาก ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงตับ กระตุ้นการทำงานของตับ รักษาโรคผิวหนัง รักษาผิวหนังอักเสบ รักษาผิวแห้ง
  • ผลมะระสุก ใช้รักษาสิว
  • ใบมะระ สรรพคุณช่วยแก้กระหายน้ำ รักษาโรคหวัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ฟกช้ำ แก้ปวดบวม
  • ลำต้นมะระ สรรพคุณลดความร้อนในร่างกาย แก้ปวดท้อง
  • เมล็ดมะระ สรรพคุณช่วยปรับสมดุลย์ร่างกาย ช่วยขั บพยาธิตัวกลม
  • รากมะระ สรรคุณช่วยรักษาหวัด แก้ปวดท้อง

โทษของมะระ

สำหรับรับมะระนั้น มีรสขม ซึ่งสรรพคุณของความขมเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ทำให้เกิดอาการคลื้นไส้อาเจียน สำหรับคนที่ร่างกายไม่ถูกฝึกให้กินขม ข้อควรระวังในการรับประทานมะระ มีรายละเอียด ดังนี้

  • สำหรับหญิงมีครรภ์ ไม่ควรกินมะระ เพราะ มะระอาจทำให้มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ และ อาจเป็นสาเหตุของการแท้งได้
    เด็ก ห้ามรับประทานเยื่อหุ้มเมล็ดของมะระที่มีสีแดง เพราะอาจเป็นพิษต่อร่างกาย
  • มะระมีสรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ไม่ควรรับประทานมะระมากเกิน
  • สำหรับป่วยที่มีแผนในการเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานมะระ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะ อาจทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้งในระหว่างการผ่าตัดและหลังการผ่าตัดมีปัญหา
  • การรับประทานผลสุกของมะระ อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เพราะ มีสารซาโปนิน ( Saponin ) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย

การเลือกซื้อมะระ

สำหรับการเลือกมะระ ที่เหมาะสำหรับนำมาทำอาหาร ให้เลือกมะระที่ไม่ดิยเกินไป และ ไม่แต่เกินไป ให้สังเกตุสีของมะระ ออกสีเขียวอ่อนๆ ขนาดใหญ่ ผิวของมะระรอยหยักใหญ่ รอยหยักไม่มาก จะได้มะระที่มีความขมไม่มากนัก และ เนื้อมะระมาก โดยลักษณะของเนื้อมะระต้องแข็ง หากอ่อนนุ่ม แสดงว่ามะระกำลังจะเน่า

การทำให้มะระไม่ขม

เมื่อได้มะระมาแล้ว ให้นำมะระมาผ่าออก เอาเมล็ดออกให้หมด และ นำมาแช่ในน้ำผสมเกลือ ซึ่งเกลือจะช่วยลดความขมของมะระ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จากนั้นนำมาแช่ในน้ำเปล่า เวลานำมะระมาทำอาหาร หากต้องการลดความขมอีก ให้นำมะระไปต้มในน้ำก่อน ให้มะระคายความขมออก หลังจากนั้นจึงนำเอามะระไปใส่ในอาหาร และ น้ำต้มมะระให้ทิ้งไปเลย เพราะน้ำจะขมมาก

ต้นมะระ พืชสวนครัว ผลมะระ มีรสขม นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร มะระขี้นก มะระจีน ลักษณะของต้นมะระ สรรพคุณของมะระ เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด ลดน้ำตาลในเลือด โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

อบเชย สมุนไพร เปลือกอบเชยเป็นส่วนผสมของเครื่องเทศ และ ปรุงรสอาหาร ลักษณะของต้นอบเชย ประโยชน์และสรรพคุณ เช่น ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

อบเชย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นอบเชย ( Cinnamon ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของอบเชย คือ Cinnamomum spp. ชื่อเรียกอื่นๆของอบเชย เช่น บอกคอก พญาปราบ  สะวง กระดังงา ฝักดาบ สุรามิด กระแจกโมง โมงหอม กระเจียด เจียดกระทังหัน อบเชยต้น มหาปราบ เป็นต้น อบเชย เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อบเชยสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีที่สุด และ ราคาแพงที่สุด คือ อบเชยศรีลังกา ซึ่งในอบเชยมีสารเคมีและน้ำมันระเหยที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย

ลักษณะของต้นอบเชย

ต้นอบเชย เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์ของอบเชย ลักษณะของต้นอบเชย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นอบเชย ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 20 ถึง 25 เมตร เปลือกของลำต้นสีเทา ลักษณะหนา มีกลิ่นหอม
  • ใบอบเชย เป็นใบเดี่ยว ออกลับกันตามลำต้น ลักษณะของใบอบเชยคล้ายไข่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกอบเชย ออกเป็นช่อ ดอกออกตามปลายกิ่ง ดอกอบเชยมีขนาดเล็ก สีเหลือง ดอกอบเชยมีกลิ่นหอม
  • ผลอบเชย ลักษณะทรงไข่ สีดำ

ชนิดของอบเชย

สำหรับอบเชย ในปัจจุบันนั้นมีหลายชนิด และ แต่ละชนิดมีคุณภาพที่แตกต่างกัน  เปลือกของอบเชยมีน้ำมันหอมระเหย และ ให้กลิ่นหอม โดย อบเชยมีมากกว่า 16 สายพันธ์ทั่วโลก และ มีสายพันธ์หลักๆ 5 สายพันธ์ คือ อบเชยไทย อบเชยชวา อบเชยญวน อบเชยจีน และ อบเชยเทศ รายละเอียดของอบเชยสายพันธ์ต่างๆ มีดังนี้

  • อบเชยไทย พบได้ในป่าเขาที่ยังอุดมสมบูรณ์ หรือ ป่าดงดิบทั่วไป ทรงพุ่มกลม อบเชยไทย เป็น พันธุ์ไม้พระราชทาน เพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดระนอง
  • อบเชยชวา หริือ อบเชยเทศ เป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่ เป็นอบเชยที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป เป็นอบเชยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน
  • อบเชยญวน ลักษณะลำต้นคล้ายอบเชยจีน มีกลิ่นหอม แต่กลิ่นหอมไม่เท่ากับอบเชยเทศ มีรสหวานแต่ไม่ค่อยหอม ปลูกได้ดีในประเทศไทย
  • อบเชยจีน พบในประเทศจีนแถบมณฑลกวงสี ยูนนาน และ กวางตุ้ง
  • อบเชยศรีลังกา พบมากในประเทศอินเดียและศรีลังกา เป็นอบเชยที่มีราคาแพงที่สุด

คุณค่าทางโภชนาการของอบเชย

อบเชยนำเอาเปลือกตากแห้งมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำอาหาร โดยนำเปลือกมาตากแห้ง และให้กลิ่นหอมในอาหาร และ มีประโยชน์ต่อร่างกาย นำมาใช้อย่างยาวนานมาก ได้มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของอบเชย มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผงอบเชย พบว่า อบเชยชนิดผงขนาด 10 กรัม ให้พลังงาน 24.7 แคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย ไขมัน 0.12 กรัม คาร์โบไฮเดรท 8.06 กรัม และ โปรตีน 0.4 กรัม

น้ำมันสกัดจากเปลือกของอบเชย มีสรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญของ Streptococcus iniae น้ำมันระเหยจากอบเชย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย Cinnamic aldehyde , Cinnamyl acetate , Phenyl-propyl acetate , Tannin, Latax และ ยาง เป็นต้น

สรรพคุณของอบเชย

สำหรับการนำเอาอบเชยมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ซึ่งโดยส่วนมากคนจะรู้จักอบเชย จากเปลือกอบเชย นำมาบดผสมในเครื่องเทศ และ นำมาต้มพะโล้ หรือ แกงกะทิต่างๆ แต่ สรรพคุณของอบเชย สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือก ใบ ดอก ผล โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากอบเชย สรรพคุณแก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด แก้อาการปวดฟัน รากนำมาต้มสำหรับสตรีกินหลังการคลอดบุตร ช่วยลดไข้หลังการผ่าตัด
  • เปลือกอบเชย สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวดศีรษะ แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยชูกำลัง บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงม้าม บำรุงหัวใจ  ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน ช่วยขับน้ำคาวปลา  แก้ปวดประจำเดือน แก้ตับอักเสบ  ช่วยแก้อาการปวด แก้ปวดหลัง ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยสลายไขมัน ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ช่วยต้านมะเร็ง ไข้สันนิบาต แก้อาการหวัด แก้อาการไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย  ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นยาถ่าย
  • เมล็ดอบเชย สรรพคุณแก้ไอสำหรับเด็ก เป็นยาแก้บิดสำหรับเด็ก
  • ใบอบเชย สรรพคุณแก้ไข้สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยขับลม เป็นยาฆ่าเชื้อ ยาทาแผลถอนพิษของยางน่อง เป็นยาพอกแก้อาการปวดรูมาติสซั่ม

โทษของอบเชย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอบเชย มีข้อควรระวังในการบริโภค โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • น้ำมันอบเชบ อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นอันตรายสำหรับกลุ่มคนต่างๆ เช่น คนมีไข้ คนที่มีปัสสาวะเป็นเลือด คนมีภาวะปัสสาวะขัด คนอุจจาระแข็งแห้ง ผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร เด็กอายุไม่เกิน 2 ขวบ และ สตรีมีครรภ์ กลุ่มคนเหล่านี้ ไม่ควรกินน้ำมันอบเชย
  • การกินอบเชยในปริมาณที่มากเกินไป มีผลอันตรายต่อตับ เนื่องจากอบเชยมีสารคูมาริน ที่ทำให้เกิดผลเสียต่อตับในระยะยาว
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังการคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานอบเชยในปริมาณมากเกินไป
  • อบเชยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง สำหรับผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของอบเชยอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • ผู้ที่มีเลือดกำเดาไหล ควรหลีกเลี่ยงการกินอบเชย
  • อบเชยทีฤทธิ์ทำให้ท้องผูก สำหรับผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร หรือมีิอาการท้องผูก ไม่หลีกเลี่ยงการรับประทานอบเชย

สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร