สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ผักชีฝรั่ง ผักชีใบเลื่อย นิยมนำมาทำอาหาร ต้นผักชีฝรั่งเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ดับคาวอาหาร เป็นยาระบาย ขับลม โทษของผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่ง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นผักชีฝรั่ง ( Long coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชีฝรั่ง คือ Eryngium foetidum L. พืชตระกูลเดียวกันกับผักชี ชื่อเรียกอื่นๆของผักชีฝรั่ง เช่น ผักชีดอย ผักจีดอย ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา หอมป้อมกูลวา ห้อมป้อมเป้อ มะและเด๊าะ ผักชีใบเลื่อย ผักหอมเทศ ผักหอมเป หอมป้อม หอมเป หอมน้อยฮ้อ หอมป้อมเปอะ เป็นต้น

ผักชีฝรั่ง มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ และ ประเทศเม็กซิโก ปัจจุบันต้นผักชีฝรั่งมีการปลูกกันทั่วโลก เพราะเป็นพืชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน และ แต่งกลิ่นอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการของผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่ง นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร รับประทานเป็นผักสด นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผักชีฝรั่ง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี่ และ มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.7 กรัม ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.9 มิลลิกรัม สารเบต้าแคโรทีน 876.12 RE วิตามินบี 1 0.31 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.21 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.7 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 38 มิลลิกรัม

ในผักชีฝรั่ง มีกรดออกซาลิก ( Oxalic acid ) สูงมาก ซึ่งกรดชนิดนี้ทำให้เกิดโรคนิ่วในไต และ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้เกิดอาการป่วยต่างๆ เช่น ปวดท้อง ปวดเอว ปัสสาวะไม่ออก เป็นต้น

การรับประทานผักชีฝรั่ง ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป หรือ ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน และ สตรีมีครรภ์ไม่แนะนำให้รับประทานผักชีฝรั่ง

ลักษณะของต้นผักชีฝรั่ง

ต้นผักชีฝรั่ง เป็นพืชล้มลุก ใบยาวๆ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการแตกยอด ลักษณะของต้นผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • ลำต้นผักชีฝรั่ง ลำต้นเตี้ย ติดดิน
  • ใบของผักชีฝรั่ง ออกใบจากลำต้น รอบๆโคนต้น ไม่มีก้านใบ ใบยาว ทรงหอก ขอบใบเป็นแบบฟันเลื่อย
  • ดอกผักชีฝรั่ง จะออกเป็นก้าน สูงตรงออกมาจากโคนต้น แตกกิ่งช่อดอกตรงปลาย ดอกเป็นกระจุกกลม และ เป็นส่วนที่จะขยายพันธ์ต่อไป

สรรพคุณของผักชีฝรั่ง

การนำเอาผักชีฝรั่งมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้นผักชีฝรั่ง สรรพคุณของผักชีฝรั่ง มีดังนี้

  • รากของผักชีฝรั่ง ช่วยกระตุ้นร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ
  • ใบของผักชีฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ช่วยห้ามเลือด ช่วยบำรุงเลือด สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ ช่วยดับกลิ่นปาก ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร ช่วยเจริญอาหาร
  • ลำต้นของผักชีฝรั่ง ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ทำงานปกติ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงเส้นผม บำรุงเล็บ รักษาไข้มาลาเรีย ช่วยขับลม เป็นยาระบาย ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยรักษาผดผื่นคัน ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยแก้พิษงู ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ช่วยบำรุงกำหนัด ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ

โทษของผักชีฝรั่ง

ในผักชีฝรั่ง มีกรดออกซาลิกสูงมาก เป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วในไต ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และ เกิดปัญหาต่างๆ เช่น ปวดท้อง ปวดเอว ปัสสาวะติดขัด เป็นต้น สำหรับการบริโภคผักชีฝรั่งควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ไม่กินมากเกินไป หรือ กินเยอะเกินไป และ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่แนะนำให้รับประทานผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่ง มีกลิ่นแรงมาก หากกินสดๆ ในปริมาณมาก อาจทำให้อาเจียนได้

ผักชีฝรั่ง ผักชีใบเลื่อย พืชสวนครัว กลิ่นหอมๆ นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นผักชีฝรั่ง คุณค่าทางโภชนาการของผักชีฝรั่ง สรรพคุณของผักชีฝรั่ง เช่น ช่วยเจริญอาหาร ดับกลิ่นคาวอาหาร เป็นยาระบาย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของผักชีฝรั่งมีอะไรบ้าง

หอมแดง สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ ต้นหอมหัวแดงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของหอมแดง สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของหอมแดงมีอะไรบ้าง

หอมแดง สมุนไพร

หอมแดง เป็นพืชสำคัญในอาหารไทย อาหารไทยนิยมใช้หอมแดงนำมาทำอาหาร โดยเฉพาะในเครื่องแกงต่างๆ ประเทศไทยปลูกหอมหัวแดงมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคเหนือ หอมแดงที่มีคุณภาพดี คือ หอมแดงของศรีสะเกษ

สายพันธ์หอมแดง

สำหรับการปลูกหัวหอมในประเทศไทย นิยมปลูกหอมแดงอยู่ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

  • หอมแดงพันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
  • หอมแดงพันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
  • หอมแดงพันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
  • หอมแดงพันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน

หอมแดง ( Shallot ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมแดง คือ Allium ascalonicum L. พืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง ชื่อเรียกอื่นๆของหอมหัวแดง เช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น

ลักษณะของต้นหอมแดง

หอมแดง เป็นพืชล้มลุก สามารกเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ไม่ชอบน้ำ หัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ สามารถขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นหอมแดง มีดังนี้

  • ใบหอมแดง สำหรับใบจะแทงออกจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของในกลม ยาว สีเขียวใบอ่อนของหอมแดงสามารถนำมาบริโภคได้
  • หัวหอมแดง เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน เป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ ลักษณะของหัวหอมแดงกลม เนื้อในมีสีขาว เปลือกนอกสีแดง มีกลิ่นหอม
  • ลำต้นของหัวหอม อยู่ติดกับหัวหอมลำต้นเกิดจากหัวหอม เรียงอัดกันแน่น ถัดมาจึงเป็นส่วนของใบ
  • รากของหัวหอม เป็นระบบรากฝอย มีรากฝอยเป็นจำนวนมาก ลักษณะเป็นกระจุกรวมกันที่ก้นหัว และแพร่ลงดินลึกในระดับตื้นๆ

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง

หอมหัวแดง มีกลิ่นฉุ่นเป็นลักษณะเด่นของหอมแดง หัวหอมแดงมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง ซึ่งสารสำคัญ เช่น Ethanol , Acetonc , methyl Ethyl , Methyl Disulfide , Methyl , Methyl Trisulfide , Methyl I-propyl Trisulfide , I-propyl Trisulfide , Ketone , I-propanol , 2 – propanol , Methanol , I-butanol , Hydrogen Sulfidc , I-propanethiol , I-propyl Disulfide , Thioalkanal-S-oxide , di-n- propyl Disulfide , n- propyl-allyl Disulfide , Diallyl Disulfide , Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidc

น้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง รสขม มีความเผ็ดร้อน ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และ เป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยจากหอมแดง ช่วยลดไขมัน และ น้ำตาลในเลือด และยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของหัวหอมแดง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ และมีให้สารอาหารสำหคัณ ประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไทอามีน ไรโบฟลาวิน และ ไนอาซิน

หอมหัวแดง ขนาด 100 กรัม มีวิตามินสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินเอ และ วิตามินซี

สรรพคุณของหอมแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามาถใช้ประโยชน์จาก หัวหอมแดง ใบหอมแดง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบหอมแดง สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด คัดจมูก แก้กำเดาไหล แก้ฟกช้ำ
  • เมล๊ดหอมแดง สรรพคุณกินแก้เนื้อสัตว์เป็นพิษ
  • หัวหอมแดง สรรพคุณทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง ช่วยเสริมสร้างความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยเจริญธาตุไฟ ต่อต้านอนุมูลอิสระ แก้อาการวิงเวียนศีรษะหน้ามืด  ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ลดคอเลสเตอรอล ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แก้หวัดคัดจมูก รักษาโรคตา ขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้ปวดหู แก้อาการบวมน้ำ แก้อาการท้องเสีย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ป้องกันการติดเชื้อ แก้อาการอักเสบ ช่วยรักษาแผล ช่วยแก้อาการฟกช้ำ บรรเทาอาการคัน แก้พิษแมงมุมกัด ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย แก้อาการเมาค้าง แก้อาการสะอึก รักษาสิว รักษาฝ้า รักษากระ รักษาผิวจุดด่างดำ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

โทษของหอมแดง

สำหรับหอมแดงมีกลิ่นฉุนหอมเฉพาะตัว การนำมามำอาหารนิยมทำให้ร้อนก่อน หากกินสดๆ อาจมีกลิ่นฉุนมากเกินไป โทษของหอมแดง มีดังนี้

  • การกินหอมแดงมาก อาจจะทำให้ผมหงอก มีกลิ่นตัว ตาฝ้ามัว ฟันเสียได้
  • หัวหอมแดง ทำให้แสบตา แสบจมูก และ ผิวหนังระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อนได้ จึงไม่ควรทาใกล้บริเวณผิวที่บอบบาง
  • หอมแดงสด มีกลิ่นฉุน หากกินเข้าไป อาจทำให้อาเจียนได้

หอมแดง พืชเศรษฐกิจ พืชล้มลุก นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมหัวแดง คุณค่าทางโภชนากการของหอมแดง สรรพคุณของหอมแดง เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของหอมแดง มีอะไรบ้าง


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร