สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ต้นบัวหลวง พืชน้ำ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับใช้บูชาพระ ลักษณะของต้นบัวหลวง สรรพคุณเช่น บำรุงกำลัง ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเลือด โทษของบัวหลวง มีอะไรบ้างบัวหลวง สมุนไพร สรรพคุณของบัวหลวง

ต้นบัวหลวง ภาษาอังกฤษ เรียก Lotus ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวหลวง คือ Nelumbo nucifera Gaertn. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบัวหลวง เช่น โกกระณต บัวอุบล บัวฉัตรขาว บัวฉัตรชมพู บัวฉัตรสีชมพู บุณฑริก ปุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช สัตตบุษย์ โช้ค เป็นต้น ต้นบัวหลวง มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ปัจจุบันมีการปลูกบัวหลวงเพื่อการพาณิชย์ในประเทศและส่งออก และ ยังได้รับการเลือกให้เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี พิจิตร สุโขทัย และ หนองบัวลำภู

สายพันธุ์บัวหลวง

สำหรับการแบ่งสายพันธ์ของบัวหลวง สามารถแบ่งได้ 4 สายพันธ์ตามลักษณะของดอกที่แตกต่างกัน โดย ประกอบด้วย บัวหลวงดอกสีชมพู บัวหลวงดกอสีขาว บัวหลวงดอกสีชมพูซ้อน และ บัวหลวงดอกสีขาวซ้อน รายละเอียด ดังนี้

  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีชมพู ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมคล้ายรูปไข่ ปลายดอกเรียว กลีบดอกสีชมพู โคนกลีบดอกสีขาวนวล กลีบดอกเรียงตัวเป็นชั้น ประมาณ 3 ชั้น
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีขาว ลักษณะดอกใหญ่ ดอกทรงรี ปลายดอกเรียว กลีบดอกชั้นนอกสีขาวอมเขียว และกลีบในสีขาวปลายกลีบดอกสีชมพู กลีบดอกเรียงตัวเป็นชั้นๆ
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีชมพูซ้อน ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมเป็นทรงรี ปลายดอกแหลม สีชมพู กลีบดอกเล็กเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ กลีบดอกสีเขียวอมชมพู กลีบดอกด้านในสีชมพู
  • สายพันธ์บัวหลวงดอกสีขาวซ้อน ลักษณะดอกใหญ่ ดอกตูมทรงรี ปลายแหลม ดอกสีขาวและกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น กลีบดอกชั้นในสีขาว

ลักษณะของต้นบัวหลวง

ต้นบัวหลวง เป็นพืชล้มลุก มีอายุยาวนาน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ที่อยู่ในแหล่งน้ำที่มีควาทลึกประมาณ 50 เซนติเมตร สามารถขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อและการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นบัวหลวง มีดังนี้

  • ลำต้นบัวหลวง เหง้าอยู่ใต้ดินและลำต้นเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำ ลำต้นเป็นปล้องๆสีเหลืองอ่อนกลมๆ ลำต้นอวบน้ำ
  • ใบบัวหลวง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบกลม ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น และใบมีขนาดใหญ่ ผิวใบด้านบนเป็นนวล
  • ดอกบัวหลวง ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว สีต่างๆตามสายพันธ์ กลีบดอกจะมีจำนวนมากและเรียงซ้อนกันอยู่หลายชั้น ล้อมรอบฐานรองดอก ดอกบัวหลวงจะบานในตอนเช้า โดยจะออกดอกและผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม
  • ฝักบัวหลวง คือ ส่วนฐานรองดอก ฝักอ่อนสีเขียวนวล รูปกรวย ฝักเมื่อแก่จะขยายใหญ่ขึ้น และจะมีผลสีเขียวอ่อนอยู่ในฝัก
  • ผลบัวหลวง หรือ เมล็ดบัวหลวง ลักษณะรี เป็นเม็ดๆอยู่ในฝักบัว ผลอ่อนมีสีเขียวนวลและมีจำนวนมาก
  • ดีบัวหลวง คือ ส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ในเม็ดบัวหลวง ดีบัวจะมีรสขมจัด แต่ไม่มีกลิ่น

คุณค่าทางโภชนาการของบัวหลวง

สำหรับการบริโภคบัวหลวง นิยมรับประทานเมล็ดบัวหลวง และ และ รากบัวหลวง ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเมล้ดบัวและรากบัว รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเม็ดบัวหลวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 332 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 64.47 กรัม น้ำ 14.16 กรัม ไขมัน 1.97 กรัม โปรตีน 15.41 กรัม วิตามินเอ 50 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.640 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.150 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.600 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.629 มิลลิกรัม วิตามินบี9 104 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 163 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.53 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 210 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 626 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,368 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 5 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 1.05 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของรากบัวหลวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 66 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 16.02 กรัม น้ำ 81.42 กรัม น้ำตาล 0.5 กรัม กากใยอาหาร 3.1 กรัม ไขมัน 0.07 กรัม โปรตีน 1.58 กรัม วิตามินบี1 0.127 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.302 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.218 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม โคลีน 25.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 27.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.22 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 363 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 45 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.33 มิลลิกรัม

ดีบัวมีสารในกลุ่มอัลคาลอยด์มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดและช่วยต้านอาการอักเสบ ทำให้นอนหลับ เช่น Demethylcoclaurine , Isoliensinine , Liensinine , Lotusine , Methyl corypalline , Neferine , Nuciferine , Pro Nuciferine และ สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น Galuteolin , Hyperin , Rutin

ดอกมีสารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดและช่วยต้านอาการอักเสบ ทำให้นอนหลับ คือ nelumbine ส่วนเกสรมีสารฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เช่น quercetin , isoquercitrin , luteolin , luteolin glucoside

รากบัวสามารถช่วยลดการดูดซึมกลูโคส ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

สรรพคุณของบัวหลวง

สำหรับการใช้ประโยชน๋จากบัวหลวง เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทุดส่วนของบัวตั้งแต่รากบัว ใบบัว ดอกบัว สรรพคุณของบัวหลวง มีดังนี้

  • กลีบดอกบัว สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง
  • เมล็ดบัว สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง บำรุงเลือด บำรุงประสาทและสมอง ป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงหัวใจ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ รักษาอาการท้องร่วง ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • ใบบัวอ่อน สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง ช่วยขับเสมหะ รักษาอาการปวดบวมและอาการอักเสบ
  • ใบบัวแก่ สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยลดไข้
  • รากบัว สรรพคุณแก้อาการอ่อนเพลีย ทำให้หลับสบาย ช่วยลดไข้ แก้ไอ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกบัว สรรพคุณแก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ ช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยห้ามเลือด ช่วยสมานแผล แก้อาการผดผื่นคัน ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • ดีบัว สรรพคุณลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยผ่อนคลาย ช่วยลดไข้ แก้อาการติดเชื้อในช่องปาก ช่วยบำรุงถุงน้ำดี ช่วยบำรุงครรภ์ของสตรี
  • เกสรบัว สรรพคุณบำรุงประสาทและสมอง บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ช่วยขับเสมหะ บำรุงหัวใจ ช่วยลดไข้ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล บำรุงปอด แก้อาการท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี ช่วยแก้อาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยสมานแผล

โทษของบัวหลวง

สำหรับการนำบัวหลวงมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรค มีข้อควรระวังและคำแนะนำในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • สำหรับบางคนที่มีอาการแพ้เกสรดอกไม้ เกสรบัวหลวงอาจทำให้เกิดอาการแพ้
  • สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูก ท้องเฟ้อ อาหารไม่ค่อย ไม่ควรรับประทานเม็ดบัว เนื่องจากเม็ดบัวอาจทำให้ท้องผูกมากขึ้น

กระจับ พืชน้ำ หัวกระจับเหมือนเขาควาย สามารถรับประทานแทนแป้งได้ ลักษณะของต้นกระจับเป็นอย่างไร สรรพคุณของกระจับ เช่น บำรุงกำลัง แก้ปวดท้อง บำรุงผิว บำรุงกระดูกกระจับ สมุนไพร สรรพคุณของกระจับ

ต้นกระจับ ภาษาอังกฤษ เรียก Water Chestnut ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระจับ คือ Trapa bicornis Osbeck สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระจับ เช่น กะจับ มาแง่ง พายับ เขาควาย เป็นต้น ประเทศที่มีการปลูกต้นกระจับจำนวนมาก เช่น จีน ไต้หวัน และ อินเดีย เป็นต้น ต้นกระจับแบ่งได้ 2 ประเภท คือ กระจับสองเขา และกระจับสี่เขา

ชนิดของต้นกระจับ

ต้นกระจับ จัดว่าเป็นพืชหรือวัชพืชทางน้ำ พบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำทั่วไป สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ กระจับสองเขา และ กระจับสี่เขา มีรายละเอียด ดังนี้

  • กระจับสองเขา หรือ กระจับเขาควาย มีสองสายพันธ์ คือ กระจับเขาแหลม (Horn Nut) และ กระจับเขาทู่ (Water caltrops) สำหรับกระจับเขาแหลม และกระจับเขาทู่ มีการปลูกเพื่อรับประทานผล และ เพื่อจำหน่ายผล พบปลูกมากในชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี อุทัยธานี และ นครศรีธรรมราช
  • กระจับสี่เขา มีสองสายพันธ์ คือ กระจ่อม (Jesuit Nut) และ กระจับ (Tinghara Nut) ในประเทศไม่นิยมปลูกเพื่อนำฝักมารับประทาน แต่ปลูกเพื่อใช้เป็นไม้ประดับ พบในจังหวัดนครสวรรค์

ต้นกระจับในประเทศไทย

กระจับ ในประเทศไทย มี 2 ชนิด คือ กระจับสองเขา เป็นสายพันธ์ที่นิยมรับประทานหัว รสชาติของกระจับจะมีรสหวานมัน เนื้อแน่น สามารถนำมาต้มกับน้ำตาลแล้วทำเป็นน้ำแข็งใสเป็นของหวาน และ  กระจับสี่เขา เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ต้นกระจับพบมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช  ฤดูกาลที่เหมาะสมในการปลูกกระจับ คือ เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ ของทุกปี

ลักษณะของต้นกระจับ

ต้นกระจับเป็นพืชล้มรุก พืชน้ำ ซึ่งการขยายพันธุ์กระจับสามารถใช้การปักชำ ลักษณะของต้นกระจับ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นกระจับ ลำต้นของกระจับจะหยั่งลึกลงดินใต้ และ ลำต้นอีกส่วนหนึ่งโผล่บนผิวน้ำ ลักษณะคล้ายต้นบัว ภายในลำต้นจะเป้นช่องอากาศ ลำต้นจะแตกไหลเลื้อยยาวเป็นข้อปล้อง
  • ใบกระจับ ลักษณะของใบมี 2 ชนิด คือ ใบใต้น้ำ และ ใบเหนือผิวน้ำ ใบเหนือผิวน้ำฐานใบกว้าง ใบเป็นรูปข้าวหลามตัด ท้องใบ ก้านใบ และเส้นใบ เป็นสีน้ำตาลปนแดง ขอบใบด้านบนเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย ผิวใบเรียบ สีเขียว เป็นมัน และ ใบมีขนยาวปกคลุมหนาแน่น
  • ดอกกระจับ ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกแทงออกจากซอกใบเหนือน้ำ
  • ผลของกระจับ หรือ ฝักกระจับ ฝักกระจับลักษณะเหมือนเขาควาย สองเขาหรือสี่เขา แล้วแต่สายพันธ์  ฝักเจริญเติบโตมาจากกลีบเลี้ยงของดอก เปลือกฝักแข็ง สีม่วงแดงจนถึงดำ เนื้อด้านฝักมีเนื้อสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของกระจับ

สำหรับการรับประทานกระจับเป็นอาหาร นิยมรับประทานฝักของกระจับ ชนิดสองเขา ซึ่งนักโภชนาการได้สึกษาคุณค่าทางโภชนาการของฝักกระจับขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 117 แคลอรี่ และ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 4.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 23.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 150 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 0.6 มิลลิกรัม

สรรพคุณกระจับ

สำหรับสรรพคุณของกระจับ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ลำต้น ใบ เนื้อฝัก และ เปลือกฝัก สรรพคุณของกระจับ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นกระจับ สรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงครรภ์
  • ใบกระจับ สรรพคุณใช้ถอนพิษต่างๆ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยล้างลำไส้
  • เนื้อฝักกระจับ สรรพคุณเป็นยาชูกำลัง บำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยเสริมสร้างกระดูก บำรุงครรภ์
  • เปลือกฝัก สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย

โทษของกระจับ

กระจับเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งนำมารับประทาน หรือ นำมาเป็นไม้ประดับ โทษและข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระจับ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลแก่ของกระจับ จะแหลมคม ฝังอยู่ใต้โคลนตม หากเหยียบเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้
  • ฝักกระจับไม่สามารถรับประทานทั้งเปลือกได้ การนำกระจับมารับประทานให้รับประทานส่วนเนื้อในของฝักกระจับ

สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร