สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ท้าวยายม่อม สมุนไพร ทำแป้งได้ สรรพคุณช่วยขับถ่าย ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการไข้ แก้พิษ ขับพิษ แก้อาการแพ้ต่างๆ ต้นเท้ายายม่อมเป็นอย่างไร ประโยชน์และโทษมีอะไรบ้างท้ายยายม่อม สมุนไพร สรรพคุณของท้าวยายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม ภาษาอักกฤษ เรียก East Indian arrow root ชื่อวิทยาศาสตร์ของท้าวยายม่อม คือ Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze เป็นพืชในวงศ์เดียวกับกลอย ( DIOSCOREACEAE ) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของท้าวยายม่อม คือ บุกรอ สิงโตดำ นางนวล ไม้เท้าฤาษี ว่านพญาหอกหลอก เม้ายายม่อม เป็นต้น ต้นท้าวยายม่อม พบได้ไปในประเทศเขตร้อน เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา ไปจนถึงทวีปออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วไปแต่พบน้อยในภาคอีสาน

ประโยชน์ของท้าวยายม่อม

สำหรับต้นท้าวยายม่อม จัดว่ามีความสำคัญทางสังคมและเศรษบกิจ สูง สามารถนำมาบริโภค และ ใช้เป็นวัตถุดิบหนึ่งของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ ประโยชน์ของท้าวยายม่อม มีดังนี้

  • ประโยชน์ด้านการอาหาร นำท้าวยายม่อม มาเป็นส่วนหัวมาผสมของอาหารเพื่อสร้างความหนืดทดแทนการใช้แป้งมัน ทำให้อิ่มท้อง รวมถึงรับประทานดอกและยอดอ่อนของท้าวยายม่อมด้วย ซึ่งนิยมนำมาพัดใส่น้ำกะทิเป็นอาหารพื้นบ้าน แสนอร่อย
  • ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอาง โดยนำมาใช้ทำครีมทาหน้า เพื่อให้หน้าขาว ผิวพรรณสดใส ลดสิวฝ้า รวมถึงเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตแป้งท้าวยายม่อม ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง

ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม จัดเป็นไม้ล้มลุก ซึ่งอายุหลายปี ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ หรือ การแยกหน่อ ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม มีดังนี้

  • ลำต้นท้าวยายม่อม อยู่เหนือดินมีความสูงได้ถึง 1.5 เมตร ถึง 2 เมตร  แต่ที่ใช้ประโยชน์ คือ ส่วนหัวที่อยู่ใต้ดิน เป็นลักษระต่างๆ ที่พบมาก ได้แก่ รูปกลม กลมแบน หรือรูปรี โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดประมาณ 0.5-4 นิ้ว
  • ใบท้าวยายม่อม มีลักษณะ เป็นใบขนาดใหญ่ และ เว้าลึก และ เป็นรูปลักษระคล้ายฝ่ามือ โดยที่ปลายแยกออกเป็นแฉก มี 3 แฉก
  • ดอกท้าวยายม่อม เป็นช่อ ก้านดอก มีสีม่วงอมเขียว มีลาย ช่อดอกจะมี 1-2 ช่อ กลีบรวมจะเป็นสีเขียวอมเหลือง มีสีเขียวอมม่วงเข้ม ปลายกลีบมีความแหลม โคนกลีบมีเชื่อมติดกันลักษณะเป็นหลอด
  • ผลท้าวยายม่อม เป็นผลสดมีเนื้อ รูปเกือบกลม หรือ รูปทรงรี ปลายมีความแหลมเรียว สีเขียว พบมากบริเวณที่ อยู่ใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้งไม่มาก ป่าผลัดใบ ดินเป็นดินทราย และตามป่าชายหาด

สรรพคุณของท้าวยายม่อม

สำหรับการนำต้นท้าวยายม่อม มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อรักษาโรคและบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จากรากของท้าวยายม่อม ลำต้นท้าวยายม่อม และ หัวท้าวยายม่อม สรรพคุณของท้าวยายม่อม มีดังนี้

  • รากท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ลดไข้ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • หัวท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย  บำรุงหัวใจ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย รักษาแผลฝี ช่วยห้ามเลือด แก้ผื่นคัน
  • ลำต้นท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ลดไข้ แก้ร้อนใน

โทษของท้าวยายม่อม

สำหรับโทษของต้นท้าวยายม่อมนั้น หัวท้าวยายม่อม ไม่สามารถนำมารับประทานแบบสดๆได้ เนื่องจากมีความเป็นพิษ มีรสขมมาก ก่อนนำมาทำอาหารต้องล้างให้สะอาด หรือ ตากแห้ง ก่อนนำมาใช้ประโยชน์

สูตรแป้งท้าวยายม่อม

สำหรับคุณสมบัติของแป้งเท้ายายม่อม คือ มีความละเอียดมาก สีขาว ใสและคงรูปไม่เหลวแตกต่างจากแป้งชนิดอื่นจนสัมผัสและสังเกตุได้ ขั้นตอนการแปรรูปหัวท้าวยายม่อม นำมาทำแป้งท้าวยายม่อม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ล้างหัวท้าวยายม่อมด้วยน้ำสะอาด และ แช่หัวท้าวยายม่อมทิ้งไว้ก่อน จากนั้นขูดเนื้อของหัวท้าวยายม่อมให้ละเอียด หรือ นำมาปั่นก็ได้ จากนั้นผสมน้ำและแยกกากและน้ำออกด้วยผ้าขาวบาง
  • นำแป้งให้ทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้แป้งตกตะกอน เทน้ำสีเหลืองที่ลอยอยู่ข้างบนทิ้ง ใส่น้ำใหม่ลงไปกวนให้เข้ากัน และทิ้งไว้อีก 1 คืน เทน้ำออก ทำแบบนี้ซ้ำไปมา 4 ครั้ง จนน้ำกว่าน้ำตกตะกอนแป้งจะใส
  • แทน้ำใสออก ให้เหลือเฉพาะเนื้อแป้ง จากนั้นนำแป้งไปตากแห้ง ก็จะได้แป้งท้าวยายม่อมที่พร้อมใช้งาน

ท้าวยายม่อม สมุนไพร ใช้เป็นแป้งได้ สรรพคุณของท้าวยายม่อม บำรุงระบบกล้ามเนื้อ ช่วยขับถ่าย ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการไข้ แก้พิษ ขับพิษ แก้อาการแพ้ต่างๆ ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม ประโยชน์ของท้าวยายม่อม โทษมีอะไรบ้าง

แคนา แคป่า พืชสารพัดประโยชน์ ดอกแคกินได้ ไม้แคนำมาสร้างบ้าน ทำยารักษาโรค สรรพคุณของแคนา เช่น แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ ห้ามเลือด โทษของแคนาแคนา ดอกแค สมุนไพร สรรพคุณของต้นแค

แคนา ภาษาอังกฤษ เรียก Cork Wood Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ของแคนา คือ Dolichandrone serrulata (Wall. ex DC.) Seem. ชื่อเรียกอื่นๆของแคนา คือ แคขาว แคเก็ตวา แคเก็ตถวา แคเค็ตถวา แคภูฮ่อ แคป่า แคทราย แคยาว แคอาว แคยอดดำ แคตุ้ย แคแน แคฝา แคฝอย แคหยุยฮ่อ แคแหนแห้ เป็นต้น ชือเรียกต่างๆของแคนาต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น ต้นแคนา สามารถพบได้ตามป่า ตามทุ่ง ตามไร่นาทั่วไป ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย ลาว พม่า และเวียดนาม

แคนากับสังคมไทย

ต้นแคนา หรือ ต้นแคป่า เป็นไม้ป่า ดอกสวยงาม ในท้องถิ่นต่างๆที่มีต้นแคนา นิยมนำดอกแคมาทำอาหารรับประทาน ทานเป็นผักสด หรือลวกทานคู่กับน้ำพริก นอกจากนั้นแคนา เป็นไม้ใหญ่ให่ร่มเงา สามารถใช้ประโยชน์มากมาย ทั้ง นำมาทำอาหาร ปลูกเป็นไม้ประดับสวยงาม เป็นอาหารสัตว์ รวมถึงนำเนื้อไม้แคนามาทำสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น เสา ไม้กระดาน ฝาเพดาน เป็นต้น

ลักษณะของต้นแคนา

ต้นแคนา หรือ ต้นแคป่า เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดกลาง สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และ การปักชำ ลักษณะของต้นแคนา มีดังนี้

  • ลำต้นแคนา ลำต้นกลมตั้งตรง ความสูงประมาณ 10 เมตร เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมสีเทา ลำต้นเป็นเกล็ดขนาดเล็ก
  • ใบแคนา เป็นใบประกอบ ใบสีเขียว ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบหยัก ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นๆ
  • ดอกแคนา ลักษณะอดกออกเป็นช่อ ดอกมีขนาดใหญ่ คล้ายรูปแตร ดอกมีสีขาว ออกดอกตามปลายกิ่ง ดอกมีกลิ่นหอม ดอกแคบานตอนกลางคืน ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี
  • ผลแคนา ลักษณะผลแคเป็นฝัก ความยาวฝักประมาณ 30 เซ็นติเมตร ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว ภายในฝักมีเมล็ด เมล็ดเป็นรูปสี่เหลี่ยม

สารสำคัญในแคนา

มีการศึกษาสารเคมีในดอกแคหัวหมู และ ดอกแคหางด่าง พบสารสำคัญ ได้แก่ Verbascoside , Leucosceptoside , Leucoside A และ B , Khaephuoside A และ B และ Phlomisethanoside

สรรพคุณแคนา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแคนา เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากดอกแคนา ฝักแคนา เมล็ดแคนา รากแคนา เปลือกลำตนแคนา และ แก่นแคนา ซึ่งสรรพคุณของแคนา มีดังนี้

  • ดอกแคนา มีรสขม สรรพคุณแก้ท้องเสีย ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ แก้เจ็บคอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยห้ามเลือด ลดอาการอักเสบของแผล เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับประจำเดือน ขับเลือด ช่วยเจริญอาหาร
  • ฟักแคนา สรรพคุณช่วยระบาย แก้ท้องเสีย แก้ริดสีดวง ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดแคนา สรรพคุณช่วยระบาย แก้ท้องเสีย แก้ริดสีดวง ช่วยขับปัสสาวะ
  • รากแคนา สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยขับเสมหะ แก้ท้องเสีย แก้ท้องอืด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล
  • ใบแคนา สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยขับเสมหะ แก้ท้องเสีย แก้ท้องอืด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล
  • แก่นแคนา สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยขับเสมหะ แก้ท้องเสีย แก้ท้องอืด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล

โทษของแคนา

สำหรับโทษของแคนา ดอกแคนา สรรพคุณเป็นยาขับเลือด ขับประจำเดือน สำหรับสตรมีครรภ์ หากใช้ดอกแคนาอาจทำให้เลือดออก ตกเลือด เป็นอันตรายต่อบุตรในครรภ์


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร