สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ ทำให้มีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สาเหตุของโรคเกิด แนวทางการรักษาและการป้องกันทำอย่างไรหัวใจเต้นผิดปรกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ภาวะการเต้นของหัวใจผิดปรกติ ซึ่งปกติหัวใจจะมีอัตราการเต้นอยู่ที่ 60 ถึง 100 ครั้งต่อนาที หากหัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าอัตรานี้ จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย และ เกิดอาการผิดปรกติต่างๆ เกิดขึ้นโดยที่การเต้นของหัวใจห้องบนและห้องล่างไม่สัมพันธ์กัน การหยุดเต้นในบางเวลา สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีหลายสาเหตุซึ่งมีปัจัยการเกิดโรคอยู่ 2 สาเหตุ คือ ความผิดปรกติของร่างกายจากสาเหตุต่างๆ และ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลเสียต่อหัวใจ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีรายละเอียด ตามนี้

  • ความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคจากการเกิดโรคอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์เป็นพิษ  เป็นต้น
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มแอมเฟตามีน
  • การชอบดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และ น้ำอัดลม เป็นต้น
  • ภาวะความเครียดสะสม

อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ลักษณะของผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะแสดงอาการ คือ มีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สามารถเกิดภาวะหัวใจวายได้ ซึ่งโรคนี้จำเป็นต้องดูแลร่างกายอย่างใกล้ชิด ซึ่งสำหรับอาการของโรคสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • อาการหน้ามืด
  • อาการใจสั่น
  • อาการหายใจขัด
  • เป็นลมหมดสติ
  • อาการแน่นหน้าอก

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค แพทยจะทำการสอบถามอาการ ประวัติผู้ป่วย และ ประวัติการรักษาโรค และ ตรวจหัวใจ โดย การตรวจการเต้นของหัวใจ ฟังเสียงการเต้นของหัวใจ ตรวจขนาดหัวใจ ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานต่อมไทรอยด์ และ ตรวจคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อดูโครงสร้างหัวใจ

การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

แนวทางการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถใช้การรักษาด้วยการให้ยารักษาโรค รวมถึงการใช้เครื่องมือรักษาต่างๆ เช่น การกระตุ้นไฟ้า การฝังเครื่องกระตุกหัวใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ วิธีการรักษาโรคต่างๆ มีดังนี้

  • การรักษาด้วยยาจะเป็นยาคลายเครียด เพื่อ ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือ เป็นยาช่วยกระตุ้นหัวใจ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของดรค
  • รักษาด้วยการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ( pacemaker ) เป็นเครื่องมือขนาดเล็กโดยจะฝังไว้ใต้ผิวหนังบริเวณกระดูกไหปลาร้า  และ สอดสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจ เพื่อช่วยในการควบคุมและกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • การรักษาด้วยการใช้ไฟฟ้าเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ ( cardioversion ) ลักษณะเป็นแผ่นแปะที่หน้าอก เพื่อปรับจังหวะการเต้นของหัวใจใหม่ ซึ่งในกรณีนี้แพทย์จะพิจารณาใช้รักษาสำหรับภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ
  • การรักษาด้วยการใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจ ( ablation therapy ) เป็นการสอดสายสวนไปยังตำแหน่งที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นสาเหตุของความผิดปกติของหัวใจ และ ปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูง เพื่อทำลายเนื้อเยื่อหัวใจที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การรักษาด้วยการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ ( implantable cardioverter defibrillator ) เป็นเครื่องมือกระตุ้นหัวใจ เมื่อหัวใจเต้นเร็วเครื่องมือจะปล่อยพลังงานไฟฟ้า เพื่อกระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นปกติทันที กรณีนี้ใช้สำหรับผู้ป่วยมีความเสี่ยงหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ ( ventricular fibrillation )

การป้องกันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถป้องกันได้ในส่วนของปัจจัยที่สามารถความคุมได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงภาวะความเครียด และ วิตกกังวล
  • หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ และ หากพบว่ามีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอด หม้ามืด เป็นลม ควรรีบพบแพทย์

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร แนวทางการรักษาและการป้องกันทำอย่างไร

ลิ้นหัวใจรั่ว การทำงานของลิ้นหัวใจผิดปรกติ มักเกิดกับเด็ก อาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เสี่ยงหัวใจล้มเหลว อันตรายถึงเสียชีวิตได้ สาเหตุ การรักษาและป้องกันอย่างไรลิ้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจ โรคไม่ติดต่อ

โรคลิ้นหัวใจรั่ว คือ ภาวะความผิดปรกติในของการทำงานของลิ้นหัวใจ การเกิดจากกล้ามเนื้อที่ลิ้นหัวใจเสื่อมเร็วกว่าปกติ ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ อาจทำให้หัวใจล้มเหลว เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีการใช้ชีวิตที่ไม่ปรกติ ต้องระมัดระวังการใช้ชีวิตอย่างสูง

สาเหตุของการเกิดโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับโรคนี้สาเหตุของการเกิดโรคมาจากความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด เช่น ความผิดปรกติของลิ้นหัวใจเอง หรือ เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจตัน เป็นต้น ซึงสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • ภาวะความผิดปกติของตัวอ่อนตั้งแต่ในครรภ์มารดา
  • ลิ้นหัวใจมีคราบหินปูนเกาะ ทำให้ลิ้นหัวใจเสื่อม
  • ภาวะแทรกซ็อนจากโรคหัวใจรูมาติด
  • การติดเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่กระแสเลือดจนเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ

อาการผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับการแสดงอาการของโรค อาการจะค่อยๆแสดงอาการ ซึ่งในระยะแรกไม่แสดงอาการให้รู้ แต่เมื่ออายุมากจะพบว่ามีอาการเหนื่อยง่าย หายใจลำบาก อ่อนเพลีย และ ไม่มีแรง ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของอาการโรคลิ้นหัวใจรั่ว ได้ดังนี้

  • เจ็บหน้าอก
  • วิงเวียนศีรษะ เป็นลม
  • เหนื่อยง่าย หายใจลำบากเมื่อออกแรง
  • เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้
  • ไอ มีเสมหะปนเลือด
  • เท้าบวม ขาบวมกดบุ๋ม ท้องมาน

การตรวจวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคแพทย์จะซักประวัติ สอบถามลักษณะอาการที่แสดงออก และ ทำการการตรวจคลื่นเสียงสะท้อน ตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อวินิจฉัยโรค

การรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับแนวทางการรักษาหากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง สามารถใช้การรักษาด้วยการให้ยาขับปัสสาวะ เพื่อช่วยให้หัวใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่หากมีอาการรุนแรง ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดมีดังนี้

  • การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ( Vale Repair ) ทำเพื่อซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติให้กลับมาทำงานได้  ซึ่งสามารถทำได้บางรายเท่านั้น
  • การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ( Valve Replacement ) หากลิ้นหัวใจไม่สามารถกลับมา ทำงานตามเดิมได้อีก ก็จะต้องผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งลิ้นหัวใจเทียมมี 2 ชนิด คือ ลิ้นหัวใจโลหะ และ ลิ้นหัวใจเนื้อเยื่อ ซึ่งลิ้นหัวใจโลหะมีความคงทน แต่ต้องกินยาป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวง่าย ผู้ป้วยใช้ลิ้นหัวใจโลหะต้องกินยาตลอดชีวิต แต่สำหรับลิ้นหัวใจเนื้อเยื่อ สามารถใช้ได้ไม่เกิน 15 ปี เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 70 ปี

แนวทางการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว

เนื่องจากสาเหตุของโรคลิ้นหัวใจร่วม มีทั้งสาเหตุจากอาการโดยกำเนิด และ ภาวะความผิดปรกติของลิ้นหัวใจจากภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อในกระแสเลือด แนวทางการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว จึงมีแนวทางดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรถ์ ควรดูแลทารกในครรภ์ให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์
  • หลีกเลี่ยง ภาวะความเสี่ยงการติดเชื้อโรคต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารมัน เพื่อป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และ สม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ดื่มสุรา และ ไม่สูบบุหรี่
  • รับประทานอาการที่มีประโยชน์

แนวทางการดูแลตนแองสำหรับผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว

ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วต้องรู้ตนเอง และ ขีดความสามารถของตนเองในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงจำเป็นต้องให้คนรอบข้างรับรู้ถึงเรามีปัญหาโรคลิ้นหัวใจรั่ว แนวทางการปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว มีดังนี้

  • ไม่ควรออกกำลังกายหนัก หรือ หักโหม เกินไป
  • เลิกดื่มสุรา
  • เลิกสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ ไม่รับประทานอาหารรสจัด เช่น หวาน มัน เค็ม เกินไป
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากจำเป็นต้องทำฟัน ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค

โรคลิ้นหัวใจรั่ว การทำงานของลิ้นหัวใจผิดปรกติ เกิดมากในเด็ก ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง มีความเสี่ยงหัวใจล้มเหลว สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร แนวทางการรักษาโรค และ การป้องกันโรคทำอย่างไร


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร