สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง รักษาและป้องกันได้หรือไม่ เยื่อบุหัวใจอักเสบ โรคหัวใจอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด

เยื่อบุหัวใจอักเสบ ( Infective endocarditis ) คือ ภาวะเนื้อเยื่อบุหัวใจอักเสบ จากการติดเชื้อโรคที่หัวใจและลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อต่างๆ มีไข้สูง หนาวสั่น มีผื่นแดงตามแขนขา ปวดหลังและปัสสาวะเป็นเลือด

ผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหัวใจที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคนี้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจรูมาติก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม จำเป็นต้องเฝ้าระวังการเกิดโรคนี้

ประเภทของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับโรคนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ และ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสพบได้มากขึ้น กลุ่มเสี่ยงคือเพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป
  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ พบน้อยมากและการวินิจฉัยโรคจะทำได้ยากมาก ส่วนมากจะเสียชีวิตและจะทราบหลังจากการเสียชีวิต โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ทั้งชายและหญิง

สาเหตุการเกิดโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

การติดเชื้อแบคทีเรียรวมถึงเชื้อโรคอื่นๆ หากปล่อยให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เลือดเสียไหลเวียนเข้าถึงหัวใจ สามารถทำให้เกิดภาวะเยื่อบุหัวใจ หรือ ลิ้นหัวใจ อักเสบได้ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน ซึ่งกลุ่มคนที่ต้องเฝ้าระวังโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • ผู้ป่วยลิ้นหัวใจผิดปกติ
  • ผู้ป่วยที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม
  • กลุ่มคนที่มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิด
  • กลุ่มคนที่มีการใส่เครื่องมือทางการแพทย์เข้าไปที่หัวใจ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ( Pacemaker )

อาการผู้ป่วยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ 

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อในเลือด เมื่อเลือดเสียสูบฉีดไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกายทำให้เกิดอาการอักเสบทั่วร่างกาย และแสดงออกในทุกอวัยะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ รายละเอียด ดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • ลักษณะของสีผิวซีดเซียว
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร เบื่ออาหาร
  • ผอม หรือ น้ำหนักตัวลดมาก
  • มีอาการปวดทั่วร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และ ปวดตามข้อกระดูก
  • มีไข้สูง ร่วมกับอาการหนาวสั่น
  • ผิวหนังผิดปรกติ มีผื่นแดงขึ้นตามแขนขา
  • ปัสสาวะผิดปรกติ โดย ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด

แนวทางการวินิจฉัยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะสังเกตุจากอาการผิดปรกติของร่างกาย การตรวจร่างกาย ซักประวัติการรักษาโรค การเพาะเชื้อจากเลือดในรายที่ป่วยเป็นชนิดที่มาจากการติดเชื้อ การอัลตราซาวด์หัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อโรค การวินิจฉัยโรคค่อนข้างยาก อาจจะทราบสาเหตุของโรคหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต จากการชันสูตรศพ

การรักษาโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรค เนื่องจากสาเหตุของโรคมาจากการติดเชื้อโรคในกระแสเลือด การให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือด รวมกับการรักษาโดยการประคับประครองอาการอื่นของโรคตามอาการ จึงเป็นแนวทางการรักษาโรคนี้ และ ให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายหลังจากการฆ่าเชื้อโรคในกระแสเลือด จึงเป็นแนวทางการรักษาที่ดีที่สุด

การป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะการเกิดเยื้อบุหัวใจอักเสบ สามารถป้องกันได้จากการป้องกันการติดเชื้อโรค ไม่ใหเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • หมั่นดูแลสุขอนามัยพื้นฐาน ให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวสะอาด และ หลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บต่างๆ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ไม่เสพสารเสพติด ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มสุรา

เยื่อบุหัวใจอักเสบ อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง แนวทางการรักษาโรคนี้ทำอย่างไร และ สามารถป้องกันได้หรือไม่ 

โรคหัวใจรูมาติก ไข้รูมาติก การติดเชื้อคออักเสบ ทำให้อวัยวะต่างๆอักเสบรวมถึงลิ้นหัวใจ อาการมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หายใจหอบ กล้ามเนื้อกระตุก ผิวหนังมีผื่นแดงโรคหัวใจรูมาติก ไข้รูมาติก ลิ้นหัวใจอักเสบ โรคหัวใจ

โรคหัวใจรูมาติก เป็นโรคที่พบบ่อยในประชากรไทย โดยเฉพาะเกิดกับเด็ก ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่ทราบมาก่อนว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ รูมาติก โรคนี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะทราบว่าตนเองป่วย โดยมากแล้วเด็กที่ป่วยโรคนี้มักมีที่อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี การโภชนาการไม่ดี กลุ่มประเทศยากจนและประเทศกำลังพัฒนา จึงพบปัญหาโรคนี้บ่อย

โรคหัวใจรูมาติก คือ อาการผิดปรกติของหัวใจจากลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว เป็นโรคที่เกิดบ่อยในกลุ่มเด็ก แต่ไม่ใช่โรคหัวใจโดนกำเนิด  ซึ่งอาการของผู้ป่วย เริ่มจากมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หายใจหอบ กล้ามเนื้อกระตุก ผิวหนังมีผื่นแดง อัตราการเกิดโรคนี้พบว่าประชากรใน 1000 คน มีผู้ป่วย 0.35-1.4 คน

สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจรูมาติก

โรคหัวใจรูมาติก เริ่มจากการติดเชื้อคออักเสบ เบต้าสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ ( Beta- hemolytic Streptococcus Group A ) ทำให้ร่างกายมีการตอบสนองต่อการติดเชื้อผิดปกติ และสร้างภูมิต้านทานเพื่อทำลายเชื้อแต่กลับมาทำลายตัวเอง ส่งผลให้อวัยวะต่างๆอักเสบ เช่น ผิวหนังอักเสบ ระบบประสาทผิดปกติ ปวดตามข้อ และ หัวใจอักเสบ

อาการอักเสบที่หัวใจ ทำให้เกิดผังผืดเกาะยึดบริเวณลิ้นหัวใจ ( fibrosis ) เมื่อลิ้นหัวใจแข็งตัวไม่สามารถโปกสะบัดเหมือนเคย จึงทำให้ระบบต่างๆในร่างกายผิดปรกติตามมา

อาการของผู้ป่วยโรคหัวใจรูมาติก

สำหรับอาการเบื้นต้นของผู้ป่วยในระยะติดเชื้อโรค คือ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดบวมตามข้อ มีปุ่มใต้ผิวหนัง ผิวหนังเป็นผื่นแดง กล้ามเนื้อกระตุกไม่มีแรง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หอบ เป็นต้น เมื่อหัวใจอักเสบ จะกลายเป็นโรคหัวใจเรื้อรัง อาจทำให้หัวใจวายและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สามารถสรุปลักษณะอาการของโรคหัวใจรูมาติกได้ ดังนี้

  • มีอาการไข้
  • อาการอ่อนเพลีย เหนื่อล้า
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจหอบ
  • กล้มเนื้อกระตุก
  • ผิวหนังมีผื่นแดง
  • ปุ่มใต้ผิวหนัง
  • ลิ้นหัวใจอักเสบเรื้อรัง

การรักษาโรคหัวใจรูมาติก

แนวทางการรักษาโรคหัวใจรูมาติก สามารถทำได้โดยการประคับประคองอาการตามอาการที่พบ การผ่าตัดรักษาหัวใจ และ ป้องกันการกลับมาเป็นโรคอีกครั้ง เราสามารถแบ่งการรักษาโรคหัวใจรูมาติก ได้ดังนี้

  • รักษาอาการติดเชื้อเบต้าสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ โดยใช้ยาฆ่าเชื้อ
  • รักษาอาการอักเสบต่างๆ โดยให้ยาแอสไพริน ( aspirin ) ในขนาดสูง
  • รักษาอาการของโรคหัวใจโดยขยายลิ้นหัวใจที่ตีบ หรือ ผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ

แนวทางการป้องกันโรคหัวใจรูมาติก

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคหัวใจรูมาติก สามารถป้องกันจากสาเหตุหลัก คือ การป้องกันการติดเชื้อโรค จนทำให้ร่างกายเกิดอาการอักเสบ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคหัวใจรูมาติด มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อต่างๆ โดยไม่เข้าใกล้ชิดผู้ป่วยโรคคออักเสบ หรือ โรคหวัด
  • หากเกิดอาการติดเชื้อคออักเสบ หรือ ต่อมทอนซิลอักเสบ ต้องรักษาให้หายขาดอย่าให้เกิดอาการเรื้อรัง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ ถูกสุขอนามัย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ปรับสภาพแวดล้อมให้สะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรค

โรคหัวใจรูมาติก หรือ ไข้รูมาติก เกิดจากการติดเชื้อคออักเสบ จนทำให้อวัยวะต่างๆอักเสบ รวมถึงลิ้นหัวใจ อาการเริ่มจากมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หายใจหอบ กล้ามเนื้อกระตุก ผิวหนังมีผื่นแดง แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร