สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

โรคเบาหวาน เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง ป่วยเบาหวานต้องรักษาอย่างไร ปัจจัยของการเกิดโรค อาการของโรคเบาหวาน และ การป้องกันการเกิดโรค ต้องทำอย่างไรโรคเบาหวาน โรค อาการโรคเบาหวาน เบาหวาน

โรคเบาหวาน ( Diabetes ) คือ โรคแบบเรื้อรังโรคหนึ่ง เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลต่อความผิดปรกติต่างๆของร่างกาย เกิดจากความผิดปรกติของตับอ่อน หรือ ฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรค ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องรักษาตลอดชีวิต ส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อย

สาเหตุโรคเบาหวาน 

สำหรับสาเหตุของโรคเบาหวาน คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปรกติ โดยเกิดจากความผิดปรกติของการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ( insulin ) จากตับอ่อน ซึ่งเป็นฮอร์โมนส่วนที่จะนำน้ำตาลกลูโคส ( glucose ) ที่อยู่ในกระแสเลือดมาสู่เซลล์ที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย หรือ เกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินในปริมาณปกติแต่ เซลล์ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจากอินซูลินได้ เรียกลักษณะนี้ว่า ภาวะดื้ดต่ออินซูลิน จึงส่งผลทำให้เกิดการสะสมของปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่าปกติ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน เกิดจากกลุ่มคนที่มีลักษณะและพฤติกรรมต่างๆ ดังนี้

  1. คนอ้วน หรือ คนที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน
  2. คนพฤติกรรมขาดการออกกำลังกาย เพราะ การออกกำลังกายจะเป็นการกระตุ้นการนำกลูโคสไปใช้ของเซลล์ต่างๆ
  3. พันธุกรรม กลุ่มคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน มีโอกาสเกิดเบาหวานได้
  4. อายุ เพราะ คนที่อายุมากเซลล์จะมีการใช้กลูโคสลดลง
  5. ผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง มักพบว่าเป็นโรคที่เป็นร่วมกันกับโรคเบาหวาน
  6. ผู้ป่วยโรคความดันในเลือดสูง มันมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน

อาการโรคเบาหวาน

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่สามารถสังเกตุได้ และ บ่งบอกว่าเป็นโรคเบาหวาน สามารถสังเกตุอาการได้ ดังนี้ 

  1. กระหายน้ำบ่อย
  2. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  3. ผิวหนังแตกแห้ง เกิดอาการคันตามผิวหนัง
  4. ตาแห้ง แสบตา
  5. มีอาการชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
  6. มีอาการซูบผอมลงอย่างเห็นได้ชัด
  7. หากเกิดบาดแผลจะหายช้ากว่าปกติ
  8. มองเห็นไม่ชัดเป็นภาพพล่ามัว

การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน

แนวทางการวินิจแํยโรค ใช้าการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งต้องอดอาหารอย่างน้อยประมาณ 8 ชั่วโมง ซึ่งหากค่าน้ำตาลในเลือดมากกว่า 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่ามีภาวะโรคเบาหวาน

การรักษาโรคเบาหวาน

สำหรับการรักษาโรคเบาหวาน สามารถรักษาโรคด้วยวิธีทานการแพทย์ร่วมกันกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้ยารักษาโรค คือ ยาลดไขมันในเส้นเลือด ยาลดความดัน การฉีดอินซูลินในรายที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินน้อย และ การปรับพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน เช่น การลดน้ำหนัก ควบคุมน้ำหนัก ลดอาหารแป้งน้ำตาล และไขมัน เพิ่มอาหารผักและผลไม้ และออกกำลังกาย

ผลข้างเคียงของโรคเบาหวาน 

การอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆทุกชนิดในร่างกาย หลอดเลือดต่างๆตีบแคบลงขาดเลือดของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆ โรคหัวใจ โรคไตโรคหลอดเลือดในสมอง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และเบาหวานขึ้นตา แผลหายช้าหากดูแลรักษาไม่ดีเป็นอันตรายถึงกับต้องตัดขา ติดเชื้อต่างๆได้ง่าย

การป้องกันโรคเบาหวาน 

สำหรับแนวทางการป้องกัยการเกิดโรคเบาหวาน คือ การลดความเสี่ยงของการสะสมน้ำตาลในเส้นเลือด ที่มนุษย์สามารถควบคุมได้ และ หมั่นตรวจเลือดเพื่อดูค่าน้ำตาลในเลือด

  • หากพบว่าปริมาณไขมันในเลือดสูงกว่าค่าปกติ ควรตรวจค่าน้ำตาลในเลือดควบคู่กัน ทั้งนี้กลุ่มเสี่ยงมันพบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดอาหารหวาน อาหารมัน บริโภคผักและผลไม้
  • ควรตรวจร่างการเป็นประจำทุกปี หากพบความผิดปกติจะได้รักษาทันท่วงที

ส้มโอ ผลไม้แสนอร่อย พืชเศรษฐกิจ ต้นส้มโอ คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ สรรพคุณของส้มโอ เช่น ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงกำลัง โทษของส้มโอมีอะไรบ้างส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณส้มโอ

ต้นส้มโอ ภาษาอังกฤษ เรียก Pomelo ชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มโอ คือ Citrus maxima (Burm.) Merr. เป็นพืชตระกูลส้ม  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของส้มโอ เช่น มะขุน มะโอ (เหนือ) โกร้ยตะลอง (ภาษาเขมร)  ลีมาบาลี (ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง) เป็นต้น ส้มโอ มีต้นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย

ส้มโอในประเทศไทย

ส้มโอ เป็นพืชชนิดหนึ่ง นิยมรับประทานผลส้มโอเป็นผลไม้ จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกส้มโอเชิงพาณิชย์เพื่อบริโภคภายในประเทศ สำหรับการปลูกส้มโอในประเทศไทยในช่วงแรกๆ มีการปลูกบริเวณที่ราบลุ่มรอบๆแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมากมีการแพร่กระจายการปลูกทั่วภาคกลาง ประเทศไทยถือว่าเป็นที่มีการปลูกส้มโอที่มากที่สุดในโลก และ มีสายพันธ์ส้มโอที่มีมากที่สุดในโลกเช่นกัน แหล่งปลูกส้มโอของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ จังหวัดชุมพร นครปฐม นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ และ เชียงราย

สายพันธุ์ส้มโอ

ประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกส้มโอ และ มีสายพันธ์ส้มโอที่หลากหลาย ซึ่งแหล่งปลูกส้มโอที่สำคัญ คือ ที่ราบลุมภาคกลาง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม สำหรับสายพันธ์ส้มโอที่นิยมปลูกทางการค้า มี 7 สายพันธ์ ประกอบด้วย ส้มโอทับทิมสยาม ส้มโอทองดี ส้มโอขาวน้ำผึ้ง ส้มโอขาวใหญ่ ส้มโอขาวพวง ส้มโอขาวแตงกวา ส้มโอท่าข่อย และ ส้มโอปัตตาเวีย รายละเอียด ดังนี้

  • ส้มโอสายพันธุ์ทับทิมสยาม เป็นส้มโอที่ปลูกมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช ลักษณะพิเศษ คือ เนื้อส้มโอสีแดงเข้ม รสหวาน กลิ่นหอม เนื้อนุ่ม เปลือกบาง
  • ส้มโอสายพันธุ์ทองดี เป็นส้มโอที่ปลูกมากในจังหวัดนครปฐม ลักษณะพิเศษ คือ ผลโต กลม ไม่มีจุก รสหวาน ฉ่ำน้ำ เนื้อเป็นสีชมพู
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ลักษณะพิเศษ คือ ผลใหญ่ กลมสูง และ ก้นเรียบ
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวใหญ่ เป็นส้มโอที่นิยมปลูกในจังหวัดสมุทรสงคราม ลักษณะพิเศษ คือ เนื้อขาวอมเหลือง รสเปรี้ยวอมหวานมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีเมล็ดน้อย
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวพวง สายพันธ์นี้เป็นสายพันธ์ดังเดิม ลักษณะพิเศษ คือ ผลกลม มีจุกสูง ผิวเรียบ สีเปลือกเขียวอ่อนอมเหลือง และ มีเมล็ดน้อย
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวแตงกวา เป็นส้มโอที่นิยมปลูกในจังหวัดชัยนาท ลักษณะพิเศษ คือ ผลขนาดกลาง กลมแป้น เปลือกบาง และ เนื้อสีขาว
  • ส้มโอสายพันธุ์ท่าข่อย เป็นส้มโอสายพันธ์พื้นเมืองของจังหวัดพิจิตร
  • ส้มโอสายพันธุ์ปัตตาเวีย เป็นส้มโอของทางภาคใต้

ความเชื่อเกี่ยวกับส้มโอ
ส้มโอ เป็นผลไม้ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องถิ่น เนื่องจากส้มโอจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความอุดมณ์สมบรู์ ดินดี น้ำดี จึงมีการนำส้มโอมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชิวิต รวมถึงพิธีกรรมต่างๆในสังคม เช่น พิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน จะใช้ส้มโอเป็นเครื่องเซ่นไหว้สำคัญ นอกจากนั้น ส้มโอ เป็นสัญลักษณ์แทนศีรษะของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติ อีกด้วย

ลักษณะของต้นส้มโอ

ต้นส้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง นิยมรับประทานผลส้มโอเป็นอาหาร สำหรับการขยายพันธ์ส้มโอสามารถใช้การเพาะเมล็ดพันธ์ การติดตา การตอนกิ่ง และ การเสียบกิ่ง ลักษณะของต้นส้มโอ มีดังนี้

  • ลำต้นส้มโอ ลักษณะของลำต้นเป็นทรงไม่แน่นอน เหลี่ยมบ้าง กลมบ้าง ความสูงของลำต้นประมาณ 10 เมตร แตกกิ่งก้านมากมาย มีขนปกคลุมตามลำต้น ลำต้นเป็นทรงพุ่ม เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา เนื้อไม้ค่อนข้างเหนียว
  • ใบส้มโอ ลักษณะเป็นใบเลี้ยงคู่ เรียงสลับกันตามกิ่ง ใบส้มโอมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ใบหนา และเป็นมัน รูปร่างคล้ายรูปไข่ยาว ปลายใบมน และ ใบมีรอยเว้าตรงกลางเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเล็กน้อย มีขนนุ่มปกคลุม
  • ดอกส้มโอ ลักษณะเป็นช่อ ออกดอกเดี่ยว ดอกออกบริเวณปลายกิ่งอ่อน ดอกมีขนาดใหญ่ กลีบดอกสีขาว กลีบดอกมีรูปหอก กลีบดอกหนา ดอกส้มโอจะออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคมของทุกปี
  • ผลส้มโอ เจริญเติบโตจากดอกส้มโอ ผลส้มโอสามารถเก็บผลผลิดประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคมของทุกปี ลักษณะผลค่อนข้างกลม ผลมีขนาดใหญ่ ผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลสุกมีสีเขียวอมเหลือง เปลือกของผลหนา มีต่อมน้ำมันจำนวนมาก  ส่วนเนื้อผลแบ่งออกเป็นกลีบๆเรียงติดกันเป็นวงกลม ภายในกลีบจะฉ่ำน้ำให้รสหวานอมเปรี้ยว
  • เมล็ดส้มโอ อยู่ในผลส้มโอ เมล็ดส้มโอลักษณะแบน เปลือกเมล็ดมีสีเขียวอมเหลือง และเป็นร่องลึก

คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ

สำหรับการรับประทานส้มโอเป็นอาหาร นิยมรับประทานเนื้อของผลส้มโอ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของส้มโอขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.62 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม ไขมัน 0.04 กรัม โปรตีน 0.76 กรัม วิตามินบี1 0.034 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.22 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.036 มิลลิกรัม วิตามินซี 61 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.11 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.017 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 216 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม

สรรพคุณของส้มโอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากส้มโอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลส้มโอ เปลือกส้มโอ ใบส้มโอ รากส้มโอ เมล็ดส้มโอ และ ดอกส้มโอ สรรพคุณของส้มโอ ดังนี้

  • ผลส้มโอ สรรพคุณช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเหงือและฟัน แก้เมาสุรา แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม
  • เปลือกส้มโอ สรรพคุณแก้ไอ แก้เวียนหัว ขับเสมหะ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับลม แก้อาการคัน รักษาโรคผิวหนัง รักษาฝี ช่วยต้านเชื้อโรค
  • ใบส้มโอ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดบวม
  • รากส้มโอ สรรพคุณแก้ไข้หวัด แก้ไอ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยต้านเชื้อโรค
  • เมล็ดส้มโอ สรรพคุณแก้ไข้หวัด แก้ไอ แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้อง ช่วยต้านเชื้อโรค
  • ดอกส้มโอ สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม แก้ปวดท้อง

โทษของส้มโอ 

สำหรับส้มโอ เปลือกส้มโอมีน้ำมันมาก ไม่สามารถรับประทานได้ หากน้ำมันหอมระเหยเข้าตาทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา หากรับประทานทำให้เกิดอาการเวียดศรีษะ อาเจียนได้ รวมถึงเมล็ดส้มโอ มีความขมมาก หากรับประทานเข้าไปอาจทำให้อาเจียนได้


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร