สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

เงาะ ผลไม้เมืองร้อน นิยมรัประทานผลเป็นอาหาร ต้นเงาะเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของเงาะ สรรพคุณของเงาะ เช่น แก้ท้องร่วง รักษาอาการอักเสบ โทษของเงาะ มีอะไรบ้างเงาะ ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของเงาะ

ต้นเงาะ มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ต่อมามีการนำมาปลูกตามประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เงาะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน ซึ่งสายพันธุ์เงาะที่นิยมเพาะปลูกมากที่สุด มี 3 สายพันธ์ คือ เงาะโรงเรียน เงาะสีทอง และ เงาะสีชมพู

ต้นเงาะ ภาษาอังกฤษ เรียก Rambutan ชื่อวิทยาศาสตร์ของเงาะ คือ Nephelium lappaceum L. ชื่อเรียกอื่นๆของเงาะ เช่น เงาะป่า พรวน กะเมาะแต มอแต อาเมาะแต เป็นต้น เงาะ เป็นพืชเศรษฐกิจ ผลไม้ที่นิยมบริโภคในประเทศ และส่งออก รวมถึงนิยมนำมาแปรรูปในอุตสาหกรรมต่าง เช่น ผลไม้กระป๋อง นำมาทานกับขนมหวานต่างๆ เป็นต้น

สายพันธุ์เงาะ

สำหรับสายพันธ์เงาะที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 3 สายพันธุ์ คือ เงาะโรงเรียน เงาะสีชมพู และ เงาะสีทอง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เงาะสีทอง ลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ ขนสีแดงยาวปลายขนเป็นสีเขียว เนื้อเงาะเป็นสีเหลือง เมล็ดแบนสีขาวปนน้ำตาล มีรสหวานและกลิ่นหอม นิยมปลูกในจังหวัดจันทบุรีและตราด
  • เงาะโรงเรียน ลักษณะเด่น คือ ผลกลมรี ขนยาว เปลือกหนา เปลือกสีแดงเข้ม เนื้อเงาะหนา สีขาวนวล รสหวานจัด ปลูกมากในจังหวัดทางภาคใต้
  • เงาะสีชมพู ลักษณะเด่น คือ ผลสุกเปลือกค่อนข้างหนา ขนเป็นสีชมพู สายพันธ์นี้ปลูกมากในเขตภาคตะวันออก

ลักษณะของต้นเงาะ

ต้นเงาะ เป็นไม้ยืนต้น นิยมรัปบระทานผลเงาะ เป็นอาหาร สามารถขยายพัยธ์โดยการทาบกิ่ง ตอนกิ่ง เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นเงาะ มีดังนี้

  • ลำต้นเงาะ ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 10 เมตร เปลือกลำต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มหนาทึบ กิ่งเปราะและหักง่าย เนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง ไม้ของต้นเงาะสามารถนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ได้
  • ใบของเงาะ เป็นใบประกอบ ลักษณะรีรูปไข่ ใบสีเขียว ขึ้นตามกิ่งก้านและปลายกิ่ง ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม
  • ดอกของเงาะ ลักษณะเป็นช่อ ดอกออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีเขียวอ่อน และ สีน้ำตาลอมเขียว มีขนสั้นๆปกคลุม
  • ผลเงาะ ลักษณะผลกลมรี เปลือกผลหนา มีขนหนา ภายในผลมีเนื้อผล และ เมล็ดภายในผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่จะมีสีแดง เนื้อผลมีรสหวาน เมล็ดเงาะลักษณะแบนรี

คุณค่าทางโภชนาการของเงาะ

สำหรับการกินเงาะเป็นอาหาร นิยมรับประทานเนื้อของผลเงาะเป็นอาหาร ให้รสหวาน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลเงาะขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 82 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 20.87 กรัมกากใยอาหาร 0.21 กรัม ไขมัน 0.65 กรัม โปรตีน 2.5 กรัม วิตามินบี1 0.013 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.022 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.352 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.9 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 22 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.35 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 7 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.343 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 9 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 42 มิลลิกรัม และ
ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม

เปลือกเงาะ มีสารสำคัญ เป็นสารในกลุ่ม polyphenolic ซึ่งสามารถพบสารชนิดนี้ได้ในเปลือกมังคุดและทับทิม

สรรพคุณของเงาะ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเงาะ จะใช้ประโชยน์จากผลเงาะ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณของเงาะ มีดังนี้

  • เนื้อผลเงาะ สรรพคุณช่วยรักษาอาการท้องร่วง บำรุงกำลัง ช่วยต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  • เปลือกผลเงาะ นำเปลืองมาต้มน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยรักษาท้องร่วง แก้อาการบวม รักษาอาการอักเสบของแผล ช่วยลดอาการอักเสบของแผลในช่องปาก ป้องกันไข้หวัด และ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน

โทษของเงาะ

สำหรับโทษของเงาะนั้น มีข้อควรระวังในการรับประทานเงาะ และ การใช้เงาะในการรักษาโรค ดังนี้

  • สารแทนนิน ( Tannin ) ในเนื้อเงาะ ทำให้ท้องผูก สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกอยู่แล้วไม่ควรรับประทานเงาะ
  • เมล็ดเงาะมีความเป็นพิษ หากกินเมล็ดเงาะอาจทำให้ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และมีไข้สูง

ถั่วเขียว สมุนไพร นิยมรับประทานเมล็ดถั่วเขียวเป็นอาหาร ลักษณะของต้นถั่วเขียว คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว สรรพคุณช่วยขับร้อน บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต โทษของถั่วเขียวถั่วเขียว สมุนไพร ธัญพืช สรรพุคณถุ่วเขียว

ต้นถั่วเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Green bean ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเขียว คือ Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม ถั่วมุม ถั่วทอง เป็นต้น ถั่วเขียว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน เมนูอาหารที่มีถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าส่วน ถั่วทอง ขนมข้าวเกรียบอ่อน เป็นต้น

ลักษณะของต้นถั่วเขียว
ต้นถั่วเขียว พืชล้มลุก เป็นพืชอายุสั้น เพียงหนึ่งปี  ต้องการน้ำน้อย และ ทนแล้งได้ดี ระยะเวลาปลุกเพื่อได้ผลผลิต ประมาณ 60 วัน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล้ดพันธ์ และ สามารถปลูกได้ตลอดปี ลักษณะของต้นถั่วเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นของถั่วเขียว ลักษณะลำต้นตั้งตรง เป็นเหลี่ยม เป็นพุ่ม ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร กิ่งก้านแตแขนง มีขนปกคลุม
  • ใบถั่วเขียว ลักษณะเป็นใบประกอบ ขึ้นสลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใยแหลม ใบมมีขนปกคลุม
  • ดอกถั่วเขียว ลักษณะดอกเป็นช่อ ขึ้นตามมุมใบ และ ปลายยอด กลีบดอกเป็นสีเหลือง หรือ สีขาว
  • ฝักถั่วเขียว ลักษณะเป็นฝัก ยาวกลม ภายในฝักมีเมล็ด ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ฝักแก่เป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดถั่วเขียว ลักษณะกลมรี แข็ง เปลือกผิวเมล็ดเรียบ เมล็ดสีเขียว เนื้อในเป็นสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภคถั่วเขียวเป็นอาหาร มีการใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว ทั้งเมล็ดดิบ และ เมล็ดต้มสุก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของเมล็ดถั่วเขียว ได้ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 347 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 105 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว โดย สรรพคุณของถั่วเขียว มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงกล้ามเนื้อ เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยในการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ช่วยผลิตโปรตีน และการหดตัวของกล้ามเนื้อ[5]
  • ช่วยบำรุงเลือดและหลอดเลือด และ บำรุงหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก
  • บำรุงข้อและกระดูก บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยทำให้ร่างกายเย็น แก้ร้อนใน แก้อาการกระหายน้ำ
  • บำรุงสมอง ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยทำให้สมองทำงานได้ฉับไวมากขึ้น
  • ช่วยบำรุงสายตา รักษาตาอักเสบ
  • ช่วยรักษาโรคคางทูม
  • ช่วยลดอาการอาเจียน ช่วยขับของเหลวออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันโรคท้องผูก แก้ลำไส้อักเสบ
  • บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาไตอักเสบ
  • บำรุงผิวพรรณและรักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ผดผื่นคัน
  • รักษาแผล ลดอาการอักเสบและบวม รักษาฝี
  • ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย

โทษของถัวเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว หรือ การรับประทานถั่วเขียว มีข้อควรระวังในการรับประทานถั่วเขียว ดังนี้

  • การรับประทานถั่วเขียวทำให้ท้องอืด ไม่ควรกินถั่วเขียวมากเกินไป
  • การรับประทานถั่วเขียวมากเกินไป อาจทำให้แป้งในร่างกายสูง และ เปลี่ยนเป็นไขมัน ทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกายเกินขนาด
  • สำหรับผุ้ป่วยดรคเก๊าท์ ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว เนื่องจากมีสารพิวรีน ( Purine ) อาจทำให้เกิดอาการของข้ออักเสบได้

สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร