สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ผักคะน้า พืชสวนครัวมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สารอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามิน ต้นคะน้าเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักค้าน้า เช่น บำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ โทษของผักคะน้าผักคะน้า พืชสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของคะน้า

ต้นคะน้า ภาษาอังกฤษ เรียก Kai-Lan พืชตระกูลผักกาด ชื่อวิทยาศาสตร์ของคะน้า คือ Brassica oleracea L. Cv. Alboglabra Group เป็นผักที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย เป็นที่นิยมเพาะปลูกในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย รวมถึงประเทศไทย

สายพันธ์ผักคะน้า

ผักคะน้า สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี สายพันธุ์ผัคะน้าที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 3 สายพันธุ์ คือ ผักคะน้าสายพันธุ์ใบกลม ผักคะน้าสายพันธุ์ใบแหลม และ ผักคะน้าสายพันธุ์ยอดหรือก้าน รายละเอียด ดังนี้

  • ผักคะน้าสายพันธุ์ใบกลม ลักษณะใบใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมน ผิวใบเป็นคลื่น สายพันธ์ใบกลม คือ คะน้าพันธุ์ฝาง 1
  • ผักคะน้าสายพันธุ์ใบแหลม ลักษณะใบแคบ ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ ข้อห่าง คือ คะน้าพันธุ์ P.L.20
  • ผักคะน้าสายพันธุ์ยอดหรือก้าน ลักษณะใบแคบ ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ จำนวนใบต่อต้นน้อย คือ คะน้าพันธุ์แม่โจ้ 2

ลักษณะของต้นผักคะน้า

ต้นคะน้า เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น สามารถขยายพันธ์โดยการ เพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นคะน้า มีดังนี้

  • รากผักคะน้า มีรากแก้วขนาด สีขาว ลึกลงดินประมาณ 10 เซ็นติเมตร และมีรากฝอยอ่อนตามรากแก้ว
  • ลำต้นผักคะน้า ลำต้นสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบใหญ่ สีเขียว
  • ใบผักคะน้า ใบมีขนาดใหญ่ ใบกลม ผิวใบเป็นคลืน และเป็นมัน ใบสีเขียว
  • ดอกผักคะน้า ดอกผักคะน้าจะแทงออกจากปลายยอด จะออกดอกเมื่อต้นแก่ ดอกคะน้าจะมีเมล็ด ซึ่งสามารถนำไปขยาายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า

สำหรับผักคะน้า นิยมบริโภคเป็นอาหาร โดยสามารถกินได้ทั้งต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบคะน้า ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบคะน้า ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 24 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม แคลเซียม 245 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม และ การใยอาหาร 3.2 กรัม

สารสำคัญในผักคะน้า คือ สารกอยโตรเจน ( Goitrogen ) สารนี้หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ ดูดซับไอโอดีนทำให้เป็นโรคคอพอก และ สามารถยับยั้งการสร้างฮอร์โมนต่อมไทรอยด์

สรรพคุณของผักคะน้า

สำหรับประโยชน์ของผักคะน้าด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากทั้งต้นผักคะน้า สรรพคุณของผักคะน้า มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันการติดเชื้อโรคต่าง ๆ ป้องกันมะเร็ง
  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น
  • บำรุงสายตา ช่วยลดความเสี่ยงโรคต้อกระจก ลดความเสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อ
  • บำรุงเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • บำรุงกระดูก ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • บำรุงระบประสาทและสมอง ลดอาการปวดหัว ช่วยชะลอความจำเสื่อม ช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์ ช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการโดยกำเนิด
  • ช่วยระบาย ป้องกันโรคท้องผูก
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้

โทษของผักคะน้า

สำหรับโทษของผักคะน้า นั้น เนื่องจากผักคะน้ามี สารกอยโตรเจน ( Goitrogen ) หากกินติดต่อกันเป็นเวลานาน และ กินในปริมาณที่มาก ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน และยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์

คะน้า เป็น ผักใบเขียว หาซื้อง่าย ราคาถูก แต่ต้องระวังสารพิษเจือปนจากยาฆ่าแมลงจากการปลูก ก่อนนำมารับประทานควรล้างให้สะอาดก่อนทุกครั้ง

แก้วมังกร ผลไม้ สมุนไพร ลักษณะของต้นแก้วมังกร คุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณของแก้วมังกร เช่น ลดความอ้วน ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน โทษของแก้วมังกร มีอะไรบ้างแก้วมังกร สมุนไพร สรรพคุณของแก้วมังกร

ต้นแก้วมังกร ภาษาอังกฤษ เรียก dragon fruit ชื่อวิทยาศาสตร์ของแก้วมังกร คือ  Hylocereus undatus  นิยมรับประทานผลแก้วมังกร เป็น ผลไม้ เนื่องจากรสชาติอร่อยไม่หวานมากเกินไป ชุ่มฉ่ำ แก้กระหาย รักษาโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน บำรุงผิวพรรณ บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยดูดซับสารพิษออกจากร่างกาย

แก้วมังกร มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกากลาง เป็นพืชตระกูลกระบองเพชร ปัจจุบัน แก้วมังกร สามารถปลูกได้ทั่วในประเทศไทย แหล่งปลูกแก้วมังกรของประเทศไทย คือ จันทบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี สระบุรี และ สมุทรสงคราม ผลผลิตแก้วมังกรจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี

สายพันธ์ของแก้วมังกร

สำหรับสายพันแก้วมังกรที่นิยมปลูก มี 3 สายพันธ์ คือ สายพันธ์เนื้อขาวเปลือกแดง สายันีธ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง และ สายพันธ์เนื้อแดงเปลือกแดง รายละเอียด ดังนี้

  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose. ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกของผลสีแดงอมชมพู มีกลีบผลสีเขียว เนื้อเป็นสีขาว มีรสหวาน
  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus megalanthus ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกผลสีเหลือง ขนาดผลเล็ก เนื้อสีขาว มีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวาน
  • แก้วมังกรสายพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus costaricensis เรียกอีกชื่อว่า แก้วมังกรสายพันธุ์คอสตาริกา ลักษณะสำคัญ คือ เปลือกของผลสีแดง ผลมีขนาดเล็ก เนื้อสีแดง รสหวาน

ลักษณะของต้นแก้วมังกร

ต้นแก้วมังกร พืชล้มลุก ตระกูลกระบองเพชร สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และการปักชำ ลักษณะของต้นแก้วมังกร มีดังนี้

  • รากแก้วมังกร ลักษณะเป็นรากฝอย รากขนาดเล็ก และ แทงลึกลงดิน
  • ลำต้นแก้วมังกร คล้ายลำต้นของกระบองเพชร ลำต้นเป็นปล้องๆ เป็นสามเหลี่ยม สีเขียว มีหนาม อวบน้ำ มีขอบรอยหยักเป็นระยะๆ
  • ดอกแก้วมังกร ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกที่ปลายของลำต้น ดอกแก้วมังกรเป็นตุ่มสีเขียว กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน รูปร่างทรงกรวย ดอกแก้วมังกรจะบานเวลากลางคืน และ หุบในตอนเช้า
  • ผลแก้วมังกร ผลแก้วมังกรเจริญเติบโตจากดอก ผลแก้วมังกรเป็นทรงกลมรี เปลือกของผลหนา ผิวของเปลือกจะคลุมด้วยกลีบเลี้ยง สีเขียว ภายในแก้วมังกรมีเนื้อ อวบน้ำ และ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของแก้วมังกร

สำหรับแก้วมังกรจะใช้ประโยชน์จากการบริโภคผลแก้วมังกร นักโถชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลแก้วมังกร ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลแก้วมังกร ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 67.70 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.10 กรัม ไขมัน 0.57 กรัม กลูโคส 5.70 กรัม ฟรูทโทส 3.20 กรัม ซอร์บิทอล 0.33 กรัม คาร์โบไฮเดรท 11.20 กรัม กากใยอาหาร 1.34 กรัม วิตามินซี 3.0 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 0.01 มิลลิกรัม แคลเซียม 10.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.37 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 38.9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27.5 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 272.0 มิลลิกรัม โซเดียม 8.9 มิลลิกรัม และ สังกะสี 0.35 มิลลิกรัม

สารเคมีสำคัญในผลแก้วมังกร พบมีหลายสาร ใน เปลือกของผล และ เนื้อของแก้วมังกร ดังนี้

  • เนื้อผลสุก มี mucilage และ สารกลุ่ม betalains , betanin , isobetanin , phyllocactin , isophyllocactin , hylocerenin และ isohylocerenin
  • เปลือกของผล มี betanin , isobetanin และ phyllocactin

สรรพคุณของแก้วมังกร

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแก้วมังกร ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นจะใช้ประโยชน์จากผลแก้วมังกร สรรพคุณของแก้วมังกร มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีความสดใสและชุ่มชื่น
  • ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอยต่างๆ
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • ช่วยคลายร้อน ดับกระหาย
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่าย แก้อาการท้องผูก
  • บำรุงกระดูกและฟัน
  • ลดความอ้วน ช่วยควบคุมน้ำหนัก รักษาโรคเบาหวาน
  • ช่วยกระตุ้นการขับน้ำนม
  • ช่วยดูดซับสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย และ ช่วยให้นอนหลับง่าย

โทษของแก้วมังกร

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแก้วมังกร หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมจะไม่ทำให้เกิดโทษ ซึ่งข้อควรระวังในการบริโภคแก้วมังกร  มีดังนี้

  • สรรพคุณของแก้วมังกร ทำให้ร่างกายเย็น ลดความร้อนในร่างกาย หากกินมากเกินไป อาจทำให้มือเท้าเย็นและท้องเสียง่าย
  • สตรีที่อยู่ในขณะมีประจำเดือน ควรงดการกินแก้วมังกร ความเย็นของแก้วมังกร อาจทำให้เลือดเสียจับตัวเป็นก้อน และ ทำให้ประจำเดือนขัดได้

สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร