สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ชะมวง พืชพื้นบ้าน สมุนไพร ใบชะมวงรสเปรี้ยว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นชะมวง สรรพคุณของชะมวงเช่น บำรุงเลือด เป็นยาระบาย ช่วยขับเสมหะ โทษของชะมวง มีอะไรบ้างชะมวง สมุนไพร ใบชะมวง สรรพคุณของชะมวง

ต้นชะมวง ภาษาอังกฤษ เรียก Cowa พืชตระกูลมังคุด ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะมวง คือ Garcinia cowa Roxb. ex Choisy สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของชะมวง เช่น ส้มป้อง มะป่อง หมากโมก มวงส้ม กะมวง มวง ส้มมวง กานิ ตระมูง ยอดมวง ส้มม่วง ส้มโมง ส้มป่อง เป็นต้น

ต้นชะมวง พืชท้องถิ่น ของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า มาเลเชีย ลาว เวียดนาม อินโดนีเชีย และไทย ชะมวงสามารถพบได้ทั่วไป แต่มีมากในภาคใต้ ชะมวง ชอบดินชื้น ใกล้แหล่งน้ำ แม่น้ำ ลำห้วย ลำคลอง ใบชะมวง ในสังคมไทย นิยมใช้นำมาทำอาหาร หลากหลายเมนู เช่น หมูชะมวง ต้มเนื้อชะมวง เป็นต้น

ลักษณะของต้นชะมวง

ต้นชะมวง ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ขนาดเล็กและขนาดกลาง ชอบอากาศร้อนชื้นที่มีปริมาณน้ำฝนสูงตลอดปี ชะมวงจึงเจริญเติบโตได้ดีในภาคตะวันออกและภาคใต้ ของประเทศไทย ชะมวงสามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และการตอนกิ่ง ลักษณะของต้นชะมวง มีดังนี้

  • ลำต้นชะมวง เป็นทรงพุ่มรูปกรวย ความสูงของลำต้นประมาณ 10 เมตร ลำต้นผิวเกลี้ยง แตกเป็นสะเก็ด ลำต้นแตกกิ่งก้านทางตอนบนของต้น เปลือกสีน้ำตาลดำ เปลือกด้านในสีชมพูแดง ลำต้นมีน้ำยางสีเหลืองขุ่น
  • ใบชะมวง เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ ลักษณะใบทรงรีปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีเขียวอมม่วง ใบแก่เสีเขียวเข้ม ใบเรียบเป็นมัน ท้องใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนา แค่เปราะ
  • ดอกชะมวง ดอกออกเป็นช่อลักษณะเป็นกระจุก ออกดอกตามซอกใบ และ ออกดอกตามกิ่ง กลีบดอกเป็นสีเหลืองนวล ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกหนาและแข็ง ดอกชะมวงจะออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนของทุกปี
  • ผลชะมวง ผลเจริญเติบโตจากดอก ลักษณะของผลกลม เป็นแฉกๆเหมือนรูปดาว ผิวของผลเรียบและเป็นมัน ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีเหลือง ผลชะมวงสุกรสเปรี้ยว สามารถใช้รับประทาน แต่ผลชะมวงมียางทำให้ติดฟันได้ ผลชะมวงออกผลช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี

คุณค่าทางโภชนาการของชะมวง

สำหรับชะมวงสามารถนำมารับประทานได้ทั้งใบและผล นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบชะมวงและสารต่างๆในชะมวง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบชะมวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 51 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 9.6 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม น้ำ 84.1 กรัม วิตามินเอ วิตามินบี1 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 29 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.1 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม

สารเคมีที่พบในใบชะมวง พบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ชนิดC-glycoside ได้แก่ vitexin , orientin และ สารกลุ่มสเตียรอยด์ ได้แก่ beta-sitosterol ใบชะมวงมีสารชะมวงโอน ( Chamuangone ) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี มีการนำไปทดสอบกับ เซลล์มะเร็งปอด เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคทางเดินอาหาร ช่วยยับยั้งเชื้อโพรโทซัว เป็นต้น

ประโยชน์ของชะมวง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะมวง นอกจากด้านอาหารและการรักษาโรค มีดังนี้

  • เนื้อไม้ชะมวง สามารถนำมาแปรรูปได้ ใช้ในงานก่อสร้าง สร้างบ้านเรือน เครื่องใช้ต่างๆ รวมถึงนำมาทำเป็นเชื้อเพลิง
  • ต้นชะมวง นำมาปลูก เพื่อเป็นไม้ประดับ เพื่อให้ร่มเงา สร้างความร่มรื่น
  • เปลือกของต้นชะมวง นำมาทำสีย้อมผ้า
  • ยางของชะมวงนำมาทำสีเหลือง สำหรับนำมาย้อมผ้า และ ยางนำมาผสมน้ำมันใช้ขัดเงาได้

สรรพคุณของชะมวง

สำหรับสรรพคุณของชะมวง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ใบ เปลือก เนื้อไม้ ดอก ราก และ ยาง สรรพคุณของชะมวง มีดังนี้

  • ผลชะมวง สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย
  • ใบชะมวง  สรรพคุณบำรุงเลือด ช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย ช่วยขับเลือดเสีย ช่วยขับระดู
  • ดอกชะมวง สรรพคุณช่วยรักษาธาตุพิการ ช่วยลดไข้ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร
  • รากชะมวง สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย แก้ปวดท้อง
  • เนื้อไม้ชะมวง สรรพคุณขับเสมหะ เป็นยาระบาย

โทษของชะมวง 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชะมวง ต้องใช้อย่างเหมาะสม และ ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากชะมวง มีดังนี้

  • ยางจากผลชะมวง ทำให้เกิดการฝืดในช่องปาก ทำให้ติดฟัน
  • ใบชะมวง มีสรรพคุณเป็นยาขับเลือดเสีย ช่วยขับระดูของสตรี สำหรับสตรีตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานชะมวง อาจทำให้แท้งได้

เก๊กฮวย สมุนไพรเมืองหนาว ดอกเก๊กฮวยมีประโยชน์หลากหลาย ลักษณะของต้นเก็กฮวยเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับสารพิษ เป็นยาเย็น โทษของเก็กฮวยเก๊กฮวย สมุนไพร สรรพคุณของเก็กฮวย

ต้นเก็กฮวย ภาษาอังกฤษ เรียก Chrysanthemum ชื่อวิทยาศาสตร์ของเก็กฮวยขาว คือ Chrysanthemum morifolium Ramat. ชื่อวิทยาศาสตร์ของเก๊กฮวยเหลือง คือ Chrysanthemum indicum L. ชื่อเรียกอื่นๆของเก็กฮวย เช่น เบญจมาศ เบญจมาศหนู ดอกขี้ไก่ เป็นต้น คุณสมบัติเด่นของเก๊กฮวย คือ มีกลิ่นฉุน รสขมและหวาน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ลักษณะของต้นเก็กฮวย

ต้นเก็กฮวย เป็นไม้ล้มลุก ต้นขนาดเล็ก สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นเก็กฮวย มีดังนี้

  • ลำต้นเก็กฮวย ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนอ่อนปกคลุม กิ่งก้านมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
  • ใบเก็กฮวย ใบเดี่ยว แบบเรียงสลับกัน ใบรูปไข่ บริเวณโคนใบและปลายใบแหลม ใบยาวรี ขอบใบจัก ใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อน ใบมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
  • ดอกเก็กฮวย ดอกออกเป็นช่อกระจุกตัว ดอกออกตามงามใบและปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวหรือสีเหลือง คล้ายดอกทานตะวัน

โดยทั่วไปเก็กฮวย มี 2 ชนิด คือ เก็กฮวยดอกขาว และ เก็กฮวยดอกเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เก๊กฮวยดอกขาว ดอกสีขาวขนาดใหญ่ ดอกมีสีขาว เมื่อนำมาต้มจะให้กลิ่นหอม อาจมีรสขมปนเล็กน้อย
  • เก๊กฮวยดอกเหลือง กลีบดอกมีสีเหลือง รสขมกว่าสายพันธ์ดอกขาว

คุณค่าทางโภชนาการของเก็กฮวย

สำหรับ ดอกเก๊กฮวย มีสารสำคัญ ประกอบด้วย สารพวกฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid ) สารไครแซนทีมิน ( Chrysanthemin ) สารอะดีนีน ( Adenine )  สตาไคดวีน ( Stachydrine ) โคลีน ( Choline ) กรดอะมิโน และน้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหยจากดอกเก็กฮวย บำรุงหัวใจ ช่วยรักษาและป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

สรรพคุณของเก็กฮวย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเก็กฮวยด้านสมุนไพร จะใช้ประโยชน์จากดอกเก็กฮวย สามารถนำมาต้มน้ำรับประทาน สรรพคุณของเก็กฮวย มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย แก้กระหายน้ำ ทำให้ร่างกายสดชื่น
  • ขับสารพิษตกค้างในร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ
  • ต้านเชื้อโรคและเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ ช่วยลดไข้ แก้ไอ เป็นยาเย็น
  • บำรุงหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันโรคเส้นเลือดตีบ
  • บำรุงเลือด ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี แก้ปวดหัว
  • บำรุงสายตา ช่วยแก้ตาบวม แก้ตามัว รักษาอาการตาอักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม
  • รักษาแผล รักษาฝี แผลหนอง
  • บำรุงเส้นผม ช่วยอาการผมร่วง

โทษของเก็กฮวย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเก็กฮวยด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำเก็กฮวย หากเติมน้ำตาลมากเกินไป และ ดื่มน้ำเก้กฮวยที่หวานๆนานๆและติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในเลือด และ เป็นสาเหตุของโรคเบาหวานได้
  • น้ำมันจากดอกเก๊กฮวย มีสารไพรีทรัม ( Pyrethrum ) ซึ่งเหมือนสารประกอบในยาฆ่าแมลง หากเกิดการระคายเคืองกับผิวหนัง ปาก ตา หรือ จมูก ให้หยุดการใช้ทันที

สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร