สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

อ้อย พืชเศรษฐกิจ ให้ความหวาน สมุนไพร ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สรรพคุณของอ้อย เช่น บำรุงกำลัง รักษาแผล ช่วยเจริญอาหาร ทำให้มีบุตร โทษของอ้อย มีอะไรบ้างอ้อย สมุนไพร สรรพคุณของอ้อย

ต้นอ้อย ภาษาอังกฤษ เรียก Sugar cane พืชตระกูลหญ้า ชื่อวิทยาศาสตร์ของอ้อย คือ Saccharum officinarum L. ชื่อเรียกอื่นๆของอ้อย เช่น อ้อยขม อ้อยดำ อ้อยแดง อ้อยตาแดง กะที เก่อที อำโป โก้นจั่ว กำเซี่ย กำเจี่ย และ ชุ่งเจี่ย เป็นต้น

ต้นอ้อย พืชที่ปลูกง่าย ทนต่อความแห้งแล้ง อ้อยชอบอากาศร้อนและชุ่มชื้น ต้นอ้อยมีแหล่งปลูกมากถึง 70 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศผู้ปลูกอ้อยที่สำคัญ ได้แก่ บราซิล คิวบา อินเดีย เป็นต้น

สายพันธุ์อ้อย

สำหรับสายพันธ์อ้อยมีหลายพันธุ์ และ แตกต่างกันออกไปในแต่ละสายพันธ์ แต่สายพันธุ์อ้อยที่นิยมในประเทศไทย มี 2 ชนิด คือ  อ้อยเคี้ยว และ อ้อยทำน้ำตาล โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อ้อยเคี้ยว ลักษณะเปลือกและชานอ้อยจะนิ่ม มีรสหวานปานกลาง สามารถเคี้ยวได้ เป็นสายพันธ์ที่นำมารับประทานแบบสดๆ ซึ่ง อ้อยเคี้ยว มีหลายพันธุ์ เช่น อ้อยพันธ์สิงคโปร์ อ้อยพันธุ์มอริเชียส อ้อนพันธุ์บาดิลาสีม่วงดำ เป็นต้น
  • อ้อยทำน้ำตาล เป็นสายพันธ์ลูกผสม ปลูกเพื่อการผลิตน้ำตาล สำหรับประเทศไทย มี 20 สายพันธุ์ ที่ปลูกเพื่อการค้า เช่น อ้อยพันธ์บี 4098 อ้อยพันธ์ซีบี 38-22 อ้อยพันธ์ซีโอ 419 อ้อยพันธ์ซีโอ 421 อ้อยพันธืเอฟ108 อ้อยพันธ์เอฟ 134 อ้อยพันธ์เอฟ 137 อ้อยพันธ์เอฟ 138 เป็นต้น

อ้อยในประเทศไทย

แหล่งปลูกในประเทศไทย มีทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ เนื่องจากภาคใต้ภูมิอากาศไม่เหมาะสำหรับปลูกอ้อย ประเทศไทยส่งเสริมการปลูกอ้อยเป็นพืชทางเศรษฐกิจ มีสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปริมาณการผลิตอ้อยมากที่สุดอยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และ ภาคอีสาน

ลักษณะของต้นอ้อย

ต้นอ้อย เป็นพืชล้มลุก ความสูงไม่เกิน 3 เมตร ลำต้นมีความหวาน สามารถขยายพันธ์โดยกานแตกหน่อ และ การเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นอ้อย มีดังนี้

  • ลำต้นอ้อย ลักษณะลำต้นตั้งตรง เป็นข้อปล้องจำนวนมาก ลำต้นมีน้ำมาก รสหวาน ลำต้นผิวแข็ง เรียบ
  • ใบอ้อย ลักษณะแผ่นใบยาว เหมือนใบข้าว ปลายใบแหลม สีเขียว กาบใบ โอบรอบลำต้น แผ่นใบ มีแกนตรงกลาง ลักษณะแข็ง
  • ดอกอ้อย ดอกเป็นช่อ สีขาว ดอกเล็กๆที่ติดกันเป็นคู่ แต่ละดอกจะมีขนสีขาว
  • ผลของอ้อย คล้ายผลเมล็ดข้าว ขนาดเล็ก เมล็ดอ้อยสามารถนำมาเพาะพันธ์ได้

สรรพคุณของอ้อย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอ้อย ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ทั้งต้น ลำต้น แก่น ราก น้ำอ้อย เปลือกลำต้น สรรพคุณของอ้อย มีดังนี้

  • ทั้งต้นอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยให้มีบุตร
  • รากอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงเลือด ลดไข้ แก้ไอ แก้ท้องอืด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยให้มีบุตร
  • แก่นอ่อย สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ
  • น้ำอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ แก้กระหายน้ำ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้อาการเมาค้าง รักษากระเพาะอาหารอักเสบ แก้ท้องผูก เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน แก้ปวดประจำเดือน
  • ลำต้นอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการเพ้อ ลดไข้ ช่วยขับเสมหะ รักษาไซนัสอักเสบ แก้กระหายน้ำ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้อาการเทาค้าง รักษากระเพาะอาหารอักเสบ แก้ท้องผูก เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน รักษาแผลพุพอง
  • ตาอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ
  • เปลือกต้นอ้อย สรรพคุณรักษาตานขโมย รักษาแผลในปาก รักษาแผลเน่าเปื่อย รักษาแผลกดทับ
  • ชานอ้อย สรรพคุณรักษาแผลเรื้อรัง  รักษาแผลฝี รักษาแผลหนอง

การปลูกอ้อย

สำหรับการปลูกอ้อย นั้นอ้อยชอบ ดินร่วนปนทราย มีความชื้น สำหรับการเจริญเติบโตของอ้อย แบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะงอก ระยะแตกกอ ระยะย่างปล้อง และ ระยะแก่สุก รายละเอียด ดังนี้

  • ระยะงอก (germination phase) คือ ระยะเริ่มต้นการปลูกจนกระทั่งหน่อโผล่พ้นดิน ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
  • ระยะแตกกอ (tillering phase) คือ ระยะหลังจากการปลูกประมาณ 60 วัน โดยการแตกกออ้อย ให้มีจำนวนข้อที่เหมาะสม
  • ระยะย่างปล้อง (stalk elongation phase) คือ ระยะต่อเนื่องกับการแตกกอ เริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 3 – 4 เดือน
  • ระยะแก่และสุก (maturity and ripening phase) คือ การสะสมน้ำตาลจะเริ่มจากส่วนโคนไปหาปลาย

โทษของอ้อย

สำหรับการบริโภคอ้อย น้ำอ้อยมีความหวาน หากรับประทานน้ำอ้อย ในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในเส้นเลือด ซึ่งหากน้ำตาลในเส้นเลือดมากเกินไป จะทำให้เป็นเบาหวาน และ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ตามมาได้

ยางนา ไม้มงคลพระราชทานปลูกจังหวัดอุบลราชธานี มีมูลค่าสูง ต้นยางนาเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต รักษาตับอักเสบ แก้ปวดตามข้อ โทษของยางนา มีอะไรบ้างยางนา สมุนไพร สรรพคุณของยางนา

ต้นยางนา ภาษาอังกฤษ เรียย Yang ชื่อวิทยาศาสตร์ของยางนา คือ Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don ชื่อเรียกอื่นๆของยางนา เช่น ยางกุง ยางควาย ชันนา ยางตัง ยางขาว ยางแม่น้ำ ยางหยวก ยางใต้ ยางเนิน ยาง กาตีล ขะยาง จะเตียล เยียง จ้อง ทองหลัก ราลอย ลอยด์ ด่งจ้อ และ เห่ง เป็นต้น

ต้นยางนา เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกสภาพดิน ชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดแบบเต็มวัน ต้นยางนา มักพบตามป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ตามแหล่งน้ำ และหุบเขา ต้นยางนา พบมากในป่าเขตร้อนของเอเชีย เช่น ไย บังกลาเทศ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนามใต้ และมาเลเซีย เป็นต้น

ลักษณะของต้นยางนา

ต้นยางนา เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เนื้อไม้ยางนานำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย เป็นไม้เศรษฐกิจ มีมูลค่าสูง สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด พืชที่ดูแลง่าย ลักษณะของต้นยางนา มีดังนี้

  • ลำต้นยางนา ความสูงประมาณ 50 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นสีเทาอ่อน เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง เนื้อหยาบ ยอดอ่อนจะมีขนและมีรอยแผล
  • ใบยางนา ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียวใบเป็นรูปไข่ ปลายใบสอบทู่ โคนใบกว้าง ขอบใบเป็นคลื่น เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน ใบยางนาจะมีขน ใบอ่อนเป็นสีเทา
  • ดอกยางนา ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกตามง่ามใบช่วยปลายกิ่ง ดอกเป็นสีชมพูอ่อน หนึ่งช่อมี 4 ถึง 5 ดอก ดอกยางนาจะออกดอกประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนของทุกปี
  • ผลยางนา เป็นแผลแห้ง ลักษณะของผลยางนาเป็นรูปกระสวย มีปีกขนาดใหญ่ สีแดงอมชมพู ผลสุกยางนาจะเป็นสีน้ำตาล ภายผลยางนามีเมล็ด 1 เมล็ด ผลยางนาออกผลช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี

น้ำมันยางนา

ต้นยางนามีน้ำมัน น้ำมันจากยางนา ( Gurjun oil ) ได้จากการเจาะโพรงเข้าไปในต้นยางนา จากนั้นเอาไฟลน น้ำยางจะไหลลงมา ลักษณะเป็นของเหลวข้น มีกลิ่นเฉพาะตัว น้ำมันยางนา ร้อยละ 70 มีสารสำคัญ ประกอบด้วย alpha-gurjunene และ β-gurjunene

สรรพคุณของยางนา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากยางนาด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือก น้ำมันยางนา เมล็ด และ ใบ สรรพคุณของยางนา มีดังนี้

  • เปลือกยางนา สรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยฟอกเลือด บำรุงเลิือด รักษาตับอักเสบ แก้ปวดตามข้อ
  • เมล็ดยางนา สรรพคุณแก้ปวดฟัน
  • ใบยางนา สรรพคุรแก้ปวดฟัน เป็นยาขับเลือด
  • น้ำมันยางนา สรรพคุณช่วยอุดฟันแก้ฟันผุ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับระดูขาว ช่วยขับเสมหะ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยสมานแผล รักษาแผลหนอง รักษาแผลเน่าเปื่อย รักษาโรคเรื้อน รักษาหนองใน

ประโยชน์ของยางนา

นอกจากการใช้ประโยชน์จากยางนาด้านสมุนไพร การรักษาโรค ต้นยางนาใสามารถใช้ประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย รายละเอียด ดังนี้

  • น้ำมันยางนา นำมาทำส่วนผสมชันไม้ ใช้อุกรูรั่ว ทาไม้ ทำขี้ใต้ใช้จุดไฟ ทำเป็นเชื้อเพลิง นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น สีทาบ้าน หมึกพิมพ์[3]
  • เนื้อไม้จากต้นยางนา สามารถนำมาทำเครื่องใช้ต่างๆ สร้างอาคารบ้านเรือน ทำเสาบ้าน ไม้พื้น ไม้ระแนง ไม้คร่าว โครงหลังคา ฝ้าเพดาน เป็นต้น

โทษของยางนา

สำหรับใบและยางของต้นยางนา มีรสฝาดและขม มีฤทธิฺร้อน สรรพคุณยาขับเลือด หากสตรีมีครรภ์รับประทานเข้าไปจะทำให้แท้ง และ ทำให้หมัน สำหรับคนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร