สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี
Line Id : nongnlove
โรคต่างๆ
ภาวะความผิดปรกติของร่างกาย เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ และ แนวทางการรักษาโรค สำหรับโรคน่ารู้ มีดังนี้
สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก
เด็กไฮเปอร์
หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง
อัลไซเมอร์
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก

มะเขือพวง ผลมะเขือพวงนำมารับประทานเป็นผักสด ต้นมะเขือพวงเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับถ่าย ช่วยขับปัสสาวะ โทษของมะเขือพวงมีอะไรบ้างมะเขือพวง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะเขือพวง ภาษาอังกฤษ Pea aubergine พืชตระกูลมะเขือ ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะเขือพวง คือ Solanum torvum Sw. มะเขือเรียกอื่นๆ เช่น มะแว้งช้าง (สงขลา) มะเขือละคร (นครราชสีมา)  หมากง (ภาคอีสาน) เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง (ภาคใต้) มะแคว้งกุลา (ภาคเหนือ)  เป็นต้น

มะเขือพวง เป็นพืชเขตร้อน ถิ่นกำเนิดของมะเขือพวง คือ ทวีปอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ สำหรับในประเทศไทย มะเขือพวงนิยมรับประทานผลสด โดยนำมาทำอาหารหลากหลายเมนู เช่น แกงป่า แกงคั่ว แกงอ่อม แกงเขียวหวาน แกงเนื้อ น้ำพริก ผัดเผ็ด เป็นต้น

ผลมะเขือพวง มีสารสำคัญอยู่ 2 กลุ่ม คือ สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ และ สารกลุ่มอัลคาลอยด์ เป็นสารที่มีประโยชนืต่อสุขภาพ รายละเอียดของสารดังกล่าว มีดังนี้

  • สารกลุ่มอัลคาลอยด์ ( Alkaloids ) ลักษณะเด่น คือ รสขม ไม่มีสี มีฤทธิ์เป็นด่าง ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและอวัยวะต่างๆ ซึ่งสารชนิดนี้จะสลายตัวเมื่อโดนความร้อน สรรพคุณช่วยต้านโรคมะเร็ง ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง
  • สารกลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ ( Phytonutrient ) สรรพคุณช่วยฟื้นฟูร่างกาย ช่วยคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้ ช่วยขับเสมหะ

ลักษณะของต้นมะเขือพวง

ต้นมะเขือพวง เป็นพืชล้มลุก ทนต่อสภาพอากาศร้อน และ ไม่มีแมลงศัตรูพืช สามารถขยายพันธ์โดยการ ปักชำ และ การเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของมะเขือพวง มีดังนี้

  • ลำต้นมะเขือพวง ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นและกิ่งแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ปกคลุมด้วยหนามและในบางสายพันธ์ไม่มีหนาม
  • ใบมะเขือพวง ลักษณะใบเป็นรูปไข่ สีเขียว ใบกว้าง เรียบ ขอบใบเว้า
  • ดอกมะเขือพวง ลักษณะดอกเป็นช่อ รูปทรงกรวยแตร กลีบดอกสีเขียว ขาว และ ม่วง เกสรตัวผู้มีสีเหลือง
  • ผลมะเขือพวง ลักษณะกลม สีเขียว ผิวของผลเรียบ ผลอ่อนรสขม ผลสุกสีเหลือง รสฝื่นและเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง

สำหรับการศึกษาสารเคมีและสารอาหารต่างๆในมะเขือพวง นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือพวง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม น้ำตาล 2.35 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.01 กรัม ธาตุแคลเซียม 9 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.24 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 14 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 230 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.16 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.25 มิลลิกรัม วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบี 1 0.039 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.037 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.649 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.281 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.84 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 22 ไมโครกรัม และ วิตามินซี 2.2 มิลลิกรัม

สารเคมีสำคัญในมะเขือพวก มีหลายชนิด ประกอบด้วย  ทอร์โวไซด์ เอ (torvoside A ) ทอร์โวไซด์ เอช (torvoside H)  ทอร์โวนิน บี (torvonin B) โซลานีน (solanine) โซลาโซนีนและโซลามาจีน (solasonine and solamagine)  โซลาโซดีน (solasodine) และ เพกติน รายละเอียด ดังนี้

  • ทอร์โวไซด์ เอ (torvoside A) ทอร์โวไซด์ เอช (torvoside H)  คือ สารสตีรอยด์ไกลไซด์ มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเริม
  • เพกติน คือ สารที่ละลายน้ำได้ ช่วยเคลือบที่ผิวของลำไส้ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ทอร์โวนิน บี ( torvonin B ) คือ สารซาโพนิน มีฤทธิ์ขับเสมหะ
  • โซลาโซนีนและโซลามาจีน (solasonine and solamagine) คือ ไกลโคซิเลตอัลคาลอยด์
  • โซลานีน ( solanine ) คือ สารทำให้แคลเซียมในร่างกายไม่สมดุลย์ ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับไขข้อกระดูก ควรหลีกเลี่ยง
  • โซลาโซดีน ( solasodine ) คือ สารที่สรรพคุณต้านโรคมะเร็ง

สรรพคุณของมะเขือพวง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะเขือพวง สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน เช่น ใบ ลำต้น ผล และ ราก สรรพคุณของมะเขือพวง มีดังนี้

  • ผลมะเขือพวง สรรพคุณช่วยต้านมะเร็ง รักษาโรคเริม ช่วยขับเสมหะ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบ ช่วยชะลอวัย ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดความเครียด ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย บำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงเลือด ช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด บำรุงสายตา แก้ไอ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงตับ ช่วยบำรุงไต แก้อาการฟกช้ำ รักษาแผลฝีมีหนอง
  • ใบมะเขือพวง สรรพคุณช่วยรักษาโรคซิฟิลิส เป็นยาระงับประสาท ช่วยขับเหงื่อ แก้อาการชัก ช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดข้อ รักษาฝี รักษาแผลติดเชื้อ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยห้ามเลือด
  • ทั้งต้นมะเขือพวง สรรพคุณแก้อาการหืด
  • รากมะเขือพวง สรรพคุณช่วยขับพิษในร่างกาย ช่วยรักษารอยเท้าแตก ช่วยแก้โรคตาปลา
  • เมล็ดมะเขือพวง สรรพคถณแก้ปวดฟัน
  • ลำต้นมะเขือพวง สรรพคุณช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคกลากเกลื้อน

โทษของมะเขือพวง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมะเขือพวงมีข้อควรระวังดังนี้

  • ผลมะเขือพวงมีฤทธิ์ช่วยต้านอาการแข็งตัวของเลือด สำหรับผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัด ควรงดกินมะเขือพวง อาจส่งผลต่อการเลือดไม่หยุดไหลได้
  • มะเขือพวงมีสารโซลานีน ( Solanine ) ทำให้เกิดความไม่สมดุลของแคลเซียมในร่างกาย ผู้ที่เป็นโรคไขข้อควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

มะเขือพวง พืชพื้นบ้าน ผลมะเขือพวงนำมารับประทานเป็นผักสด ลักษณะของต้นมะเขือพวงเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเขือพวง เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ โทษของมะเขือพวง มีอะไรบ้าง

กระเจี๊ยบเขียว Lady’s finger รับประทานได้ ต้นกระเจี๊ยบเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงสมอง ลดความดัน ลดคอเรสเตอรัล โทษของกระเจี๊ยบเขียวมีอะไรบ้างกระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย

กระเจี๊ยบเขียว ( Lady’s finger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบเขียว คือ Abelmoschus esculentus (L.) Moench สำหรับชื่อเรียกอ่อนๆของกระเจี๊ยบเขียว เช่น ถั่วเละ (ภาคอีสาน)  กระต้าด (สมุทรปราการ) มะเขือมอญ กระเจี๊ยบมอญ ทวาย มะเขือทะวาย  (ภาคกลาง) มะเขือพม่า มะเขือมอญ มะเขือขื่น มะเขือละโว้ มะเขือมื่น (ภาคเหนือ) เป็นต้น

กระเจี๊ยบเขียวในประเทศไทย

สำหรับกระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ โดยแหล่งปลูกกระเจี๊ยบเขียวในประเทศไทย คือ เขตหนองแขม กทม นครปฐม ปทุมธานี สุพรรณบุรีราชบุรี จันทบุรี ตราด สระแก้ว และ สมุทรสาคร มีพื้นที่ปลูกรวมกัน 2000 ไร่ โดยส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น มากถึง ร้อยละ 95 ปริมาณการส่งออกในปี 2535 ส่งออกกระเจี๊ยบเขียวสด 2436 ตัน มูลค่ารวม 113 ล้านบาท สำหรับตลาดส่งออกรองจากญี่ปุ่น คือ ยุโรป ส่งออกไปยัง เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และ มีการส่งออกเป็นกระเจี๊ยบเขียวกระป๋อง ด้วย

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น นิยมรับประทานฝักอ่อน โดยนำมาลวก และ รับประทานเป็นผัก ต้นกระเจี๊ยบเขียว มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาตะวันตก ประเทศซูดาน และ สันนิษฐานว่านำเข้ามาในประเทศไทยหลังปี พ.ศ.2416 สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • รากกระเจี๊ยบเขียวมีระบบรากแก้ว และ รากฝอย ลึกลงใต้ดิน 30 เซ็นติเมตร
  • ลำต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นไม้เนื้ออ่อน ตังตรง สูงประมาณ 1 เมตร เปลือกลำต้นบาง แตกกิ่งน้อย และมีกิ่งสั้นๆ
  • ใบกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นชนิดใบเดี่ยว สีเขียว ใบทรงกลม เป็นแฉกๆ ปลายใบแหลม ใบหยักคล้ายฟันเลื่อย โคนใบเป็นรูเว้าเหมือนหัวใจ ผิวใบหยาบ และ สากมือ
  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นช่อ ดอกเดี่ยว ออกดอกบริเวณซอกใบ ดอกมีสีม่วง และดอกจะพัฒนาเป็นฝักอ่อนในเวลาต่อมา
  • ฝักและเมล็ดของกระเจี๊ยบเขียว เจริญเติบโตมาจากดอก ลักษณะของฝักยาวเรียว ปลายฝักแหลม มีสีเขียว ภายในฝักมีเมล็ด สีขาว

สายพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว

ต้นกระเจี๊ยบเขียว มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธ์มีความแตกต่างกัน สายพันธ์กระเจี๊ยบที่นิยมปลูกในปัจจุบัน มี 3 สายพันธ์ ประกอบด้วย

  • กระเจี๊ยบเขียวสายพันธ์ของไทย เป็นสายพันธ์ที่ปรับปรุงโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะเด่น คือ ต้นแข็งแรง ผลผลิตสูง
  • กระเจี๊ยบเขียวสายพันธ์ลูกผสมจากประเทศญี่ปุ่น เป็นสายพันธ์ที่ตลาดญี่ปุ่นต้องการ ลักษณะเด่น ฝักสีเขียวเข้ม ปลายฝักไม่มีงอยยาว สายพันธ์นี้ราคาเมล็ดพันธุ์แพงมาก
  • กระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ผสมจากต่างประเทศ เช่น สายพันธ์เคลมสัน สายพันธ์สปายน์เลส ลักษณะเด่น คือ ฝักกลมป้อม ใช้ในการแปรรูปบรรจุกระป๋อง

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว มีการนำฝักอ่อน และ เมล็ดของกระเจี๊ยบเขียวมาศึกษา โดยผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของฝักอ่อนกระเจี๊ยบเขียว ขนาด 100 กรัม พลังงานมากถึง 33 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย  คาร์โบไฮเดรต 7.45 กรัม น้ำตาล 1.48 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.93 กรัม น้ำ 89.58 กรัม วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ 36 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.215 มิลลิกรัม
วิตามินซี 23 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม และ วิตามินเค 31.3 ไมโครกรัม แร่ธาตุต่างๆ เช่น ธาตุแคลเซียม 82 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 57 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 299 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.58 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดแห้งกระเจี๊ยบเขียว ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 21.18% ไขมัน 33.53% โปรตีน 25.28% โพแทสเซียม 328.01 มิลลิกรัม แคลเซียม 152.42 มิลลิกรัม และ ฟอสฟอรัส 323.67 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเจีี๊ยบเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ เมล็ด และ ผล สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • ใบกระเจี๊ยบเขียว สรรคุณช่วยขับเหงื่อ รักษาโรคปากนกกระจอก
  • รากกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณรักษาแผล รักษาแผลพุพอง รักษาโรคซิฟิริส ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณใช้พอกแผลรักษาฝี ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดกระเจี๊ยเขียว นำมาตากแห้งบดผสมนม ใช้รักษาอาการคัน
  • ผลกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน บำรุงสมอง ลดความดัน รักษาไข้หวัด ป้องกันหลอดเลือดตีบ ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยล้างสารพิษตกค้างในลำไส้ เป็นยาระบาย รักษาโรคกระเพาะอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยแก้อาการกรดไหลย้อน ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด รักษาโรคหนองใน ช่วยบำรุงตับ รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ลดอาการอักเสบปวดบวม ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์

โทษของกระเจี๊ยบเขียว

ในเมล็ดแก่ของกระเจี๊ยบเขียว มีสารพิษที่มีผลต่อระบบประสาท คือ gossypol จึงไม่ควรรับประทานเมล็ดจากฝักกระเจี๊ยบเขียวแก่

 

กระเจี๊ยบเขียว ( Lady’s finger ) พืชมหัศจรรย์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว เช่น บำรุงสมอง ลดความดัน ลดคอเรสเตอรัล โทษของกระเจี๊ยบเขียว มีอะไรบ้าง


สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร