กระเจียว หรือ ว่านมหาเมฆ สมุนไพร พืชขึ้นชื่อดอกสวยงาม ต้นกระเจียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณขับพิษ แก้ท้องอืด โทษของกระเจียวมีอะไรบ้าง
ต้นกระเจียว เป็นพืชตระกูลขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจียว คือ Curcuma sessilis Gage. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระเจียว เช่น ว่านมหาเมฆ , อาวแดง , กาเตียว , กระเจียวแดง , จวด , กระเจียวสี, กระเจียวป่า เป็นต้น
ต้นกระเจียวในประเทศไทย
ประเทศไทย สามารถพบเห็นต้นกระเจียว ได้ตามพื้นที่ภาคเหนือ และ ภาคอีสาน ซึ่ง จังหวัดชัยภูมิ มีเทศกาลดอกกระเจียวบาน เป้นพื้นที่ที่มีต้นกระเจียวขึ้นมาก เทศกาลทุ่งดอกกระเจียวบาน เป็นเทศกาลท่องเที่ยวของจังหวัดชัยภูมิ ต้นกระเจียว ในประเทศไทย พบว่ามี 2 ชนิด คือ ต้นกระเจียวแดง และ ต้นกระเจียวขาว
ลักษณะของต้นกระเจียว
ต้นกระเจียวแดง เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการแตกหน่อ โดยพบได้ทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งพบมากตามป่าดิบทั่วไป ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และ ที่โล่งทั่วไป ลักษณะของต้นกระเจียว มีดังนี้
- เหง้ากระเจียว คืิอ ส่วนของลำต้น ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลักษณะของเหง้าเป็นทรงรี ผิวของเหง้าสีน้ำตาล เนื้อในสีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว และ มีรสเผ็ดร้อน เหมือนขิง
- ใบกระเจียว ลักษณะของใบเป็นกาบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รอบๆหน่อ รูปใบคล้ายหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง
- ดอกกระเจียว ลักษณะของดอกออกดอกเป็นช่อ ดอกรูปทรงกระบอก ก้านดอกชูออกจากปลายลำต้น กลีบดอกเป็นสีเหลือง และ สีแดง มีขน รูปรี มีขนสั้นๆ ดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี
- ผลกระเจียวแดง ลักษณะของผลทรงไข่ ผิวของผลมีขน ลักษณะหนาแน่น ภายในมีเมล็ดคล้ายหยดน้ำ
คุณค่าทางโภชนาการของกระเจียว
สำหรับการบริโภคกระเจียว เราสามารถบริโภคส่วนของหน่ออ่อน และ ดอกกระเจียว โดยสามารถรับประทานเป็นผักสดได้ โดยนักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเจียว พบว่ารายละเอียด ดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการของหน่ออ่อนกระเจียว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 35 กิโลแคลอรี โดยพบสารอาหารสำคัญมากมาย ประกอบด้วย โปรตีน 1.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2 มิลลิกรัม แคลเซียม 45 มิลลิกรัม และ วิตามินต่างๆ คือ วิตามินบี1 วิตามินเอ และ วิตามินบี2
สรรพคุณของกระเจียว
สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นกระเจียว ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ เหง้า ดอก หน่ออ่อน และ ดอก โดย สรรพคุณของกระเจียว มีรายละเอียด ดังนี้
- เหง้ากระเจียว สรรพคุณช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ช่วยการขับถ่าย รักษาอาการท้องผูก ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย
- หน่ออ่อนกระเจียว สรรพคุณช่วยสมานแผล
- ดอกกระเจียว สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาอาการมดลูกอักเสบ สำหรับสตรีหลังคลอด
- เหง้าของกระเจียว สรรพคุณช่วยแก้ปวดเมื่อย
โทษของกระเจียว
การใช้ประโยชน์จากกระเจียว สามารถนำมาบริโภคใส่ของหน่ออ่อน ซึ่งรสชาติของกระเจียว มีความเผ็นร้อย การกินกระเจียวมากเกินไปทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ และ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังได้