โหระพา สมุนไพร กลิ่นหอม นิยมนำใบโหระพามาทำอาหาร แต่งกลิ่น ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

โหระพา สมุนไพร

โหระพา ( Sweet basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของโหระพา คือ Ocimum basilicum L. จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นกะเพรา มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา ผักมีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารและแต่งกลิ่นอาหาร ผักพื้นบ้าน มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และ โหระพามีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โหระพาสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยได้ น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา อาจทำให้เกิดอาการแพ้กับสตรีมีตั้งครรภ์ได้

คุณค่าทางโภชนากการของโหระพา

ในโหระพามีประโยชน์ต่างๆมากมาย เป็นผักสวนครัวที่นิยมรับประทานใบสดเป็นอาหาร จึงมีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของโหระพาสดๆขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี่

  • มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก แมงกานีส โพแทสเซียม โซเดียม สังกะสี และ กากใยอาหาร
  • มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน
  • มีสารเคมีสำคัญประกอบด้วย Methyl chavicol มากถึงร้อยละ 90 และ Pinene β-Pinene β-Bourbonene β-Elemene β-Cubebene β-Caryophyllene β-Copaene β-Acoradiene Camphor Ocimene Eucalyptol Linalool Benzaldehyde Sabinene  Myrcene Cis-Hex-3-Enyl Acetate p-Cymene Limonene Eucalyptol  cis-Beta-Ocimene cis-Linalool Oxide trans-Linalool Oxide trans-Myroxide Neo-Allo-Ocimene Menth-2-en-1-ol Pinocarvone Terpinen-4-ol Endo Fenchyl Acetate Nerol Neral Geraniol Geranial Carvacrol Bicycloelemene Exo-2-Hydroxycineole Acetate Cubebene Geranyl Acetate Methyl Eugenol Trans-Alpha-ergamotene Cadina-3,5-Diene Epsilon-Muurolene Germacrene Bicylogermacrene

ลักษณะของต้นโหระพา

ต้นโหระพา สมุนไพรประเภทผักสวนครัว พืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทวีปเอเชีย และ ทวีปอาฟริกา โหระพาสามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และ การปักชำ รายละเอียดของต้นโพระพา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากและลำต้นโหระพา โหระพามีรากเป็นระบบรากแก้วและรากฝอย ลำต้นของโหระพา สีม่วงแดง ความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม อุ้มน้ำ เนื้อไม้อ่อน
  • ดอกโหระพา มีสีม่วง ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งดอกออกที่ปลายของยอดต้นโหระพา ในดอกมีเมล็ด
  • ใบโหระพา ใบสีเขียว ปลายใบแหลม ลักษณะใบเดี่ยว ออกตามข้อของกิ่ง
  • เมล็ดโหระพา มีขนาดเล็กๆ ลักษณะกลม สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดโหระพามีเมือกหุ้มเมล็ดอยู่ หากนำมาแช่น้ำจะมีเมือกพองตัวเหมือนเมล็ดแมงลัก

ประโยชน์ของโหระพา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นโหระพา ใช้ประโยชน์โดยนำมากินเป็นอาหาร คุณสมบัติเด่นของโหระพา คือ มีกลิ่นหอม ใบโหระพาสามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยได้ นำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ความงาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ใบโหระพา สามารถสกัดทำน้ำมันหอมระเหยได้ ให้กลิ่นหอม นำมาใช้ในอุตสาหกรรมสำหรับแต่งกลิ่น น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม สบู่ เป็นต้น
  • ใบโหระพาสด นำมากินเป็นอาหาร นิยมใส่ในอาหารให้มีกลิ่นหอม

สรรพคุณต้นโหระพา

การใช้ประโยชน์ของโหระพา ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สามารถใช้ ใบโหระพา ลำต้นโหระพา เมล็ดโหระพา และ น้ำมันหอมระเหย โดยรายละเอีนด ดังนี้

  • เมล็ดของโหระพา สรรพคุณช่วยขับถ่าย ช่วยควบคุมน้ำหนัก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้
  • ใบและลำต้นของโหระพา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สรรพคุณแก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ขับลม ขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด ช่วยลดอาการอักเสบของแผล รักษาแผล ช่วยห้ามเลือด ช่วยให้ลดอาการปวด
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพา สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการเหนื่อยล้า แก้อาการกระตุก แก้จมูกอักเสบ ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย

โทษของโหระพา

ต้นโหระพา มีกลิ่นหอม สามารถนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพาได้ แต่น้ำมันหอมระเหยไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

ต้นโหระพา คือ พืชชนิดหนึ่งประเภทพืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน สมุนไพรมีกลิ่นหอม นิยมนำใบโหระพามาทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหารให้กลิ่นหอม ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา สรรพคุณของโหระพา เช่น ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

ผักชี สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมรับประทานเป็นอาหาร ต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี

ผักชี สมุนไพร

ผักชี ( Coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ต้นผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม ผักหอมน้อย เป็นต้น

ลักษณะของต้นผักชี

ผักชี จัดเป็นพืชประเภท พืชล้มลุก อายุสั้น ผักชีมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรีบย
  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เม็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักชี

การบริโภคผักชีเป็นอาหาร มีมาช้านานแล้ว และ เป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้านโภชนาการ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักชีสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 23 กิโลแคลอรี

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม น้ำ 92.21 กรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม  ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 67 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.77 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 46 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.5 มิลลิกรัม

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 วิตามินซี วิตามินอี และ วิตามินเค

ประโยชน์ของผักชี 

การใช้ประโยชนืจากผักชี นั้นหลักๆจะเป็นการนำเอามาทำอาหารรับประทานเป็นหลัก แต่นอกจากนำมาทำอาหาร ผักชี สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดของผักชี ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ต่างๆ

สรรพคุณของผักชี

ประโยชน์ของผักชีด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค สามารถใช้ได้ทุกส่วนของผักชี คือ รากผักชี ลำต้นผักชี ใบผักชี และ เมล็ดของผักชี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดผักชี สรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ปวดฟัน บำรุงกระเพาะอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร
  • ใบผักชี สรรพคุณบำรุงสายตา แก้กระหายน้ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ป้องกันมะเร็ง  ขับเสมหะ แก้สะอึก แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้เวียนหัว ขับเหงื่อ แก้หวัด แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม  รักษาอาหารเป็นพิษ ช่วยแก้พิษตานซาง รักษาตับอักเสบ รักษาโรคหัด ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ
  • รากผักชี สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ

โทษของผักชี

  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นตัวแรง
  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการตาลาย หรือ ขี้หลงขี้ลืม เนื่องจากอาการมึนหัว

ผักชี คือ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมปลูกตามครัวเรือน นำมารับประทานอาหาร ให้รสชาติและกลิ่นหอม ลักษณะของต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักชี ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับผักชีทั้งหมด

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย