โรคซีพี โรคสมองพิการ ( Cerebral palsy ) ภาวะสมองพิการโดยกำเนิด ส่งผลต่อการควบคุมร่างกาย การทรงตัว และ ใบหน้าผิดรูป สาเหตุ อาการของโรค การดูแลผู้ป่วยทำอย่างไร

โรคซีพี โรคสมองพิการโดยกำเนิด การรักษาโรค

โรคซีพี หรือ โรคสมองพิการCerebral palsy ) ย่อว่า CP คือ ภาวะสมองพิการในเด็ก เป็นโรคที่เกิดตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้มีีความผิดปรกติอย่างชัดเจน ด้านการควบคุมร่างกาย การทรงตัว ใบหน้าผิดรูป เด็กที่เป็นโรคซีพีจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายผิดแปลก ผิดปกติจากเด็กทั่วไปสังเกตุได้ชัดเจน การขยับแขนขา การทรงตัว ใบหน้า ผิดปกติ ซึ่งส่วนมากแล้วเด็กที่เป็นโรคนี้ยังมีสติปัญญาดีปกติและมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีปัญหาสติปัญญาด้อยกว่าคนปกติ

เด็กที่เป็นโรคซีพีมักจะมีปัญหาพัฒนาการล่าช้าเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป โดยเฉพาะการเดิน การยืน การทรงตัว การควบคุมตนเองได้ยากเช่น น้ำลายยืด การพูดทำได้ช้า แล้วเราจะสังเกตุได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคซีพีหรือไม่

การสังเกตุอาการเด็กโรคซีพี

สำหรับในวัยเด็กแรกเกิด โรคซีพีสังเกตุอาการได้ยาก ต้องอาศัยเวลาและการสังเกตุพัฒนาการของเด็ก เด็กซีพีมักมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวช้ากว่าเด็กปกติ เช่น เด็กอายุ 3 ถึง 4 เดือน แล้วคอยังไม่แข็ง มีอาการคอพับคออ่อน พัฒนาการด้านการเดินช้ากว่าเด็กปรกติ เด็ก

สาเหตุการเกิดโรคซีพี

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคซีพี มีหลายสาเหตุซึ่งเป็นการเกิดตั้งแต่ในครรภ์มารดา สามารถสรุปสาเหตุได้ดังนี้

  • การขาดออกซิเจนขณะคลอดนานเกินไป ทำให้สมองเซลล์สมองเสียหายตั้งแต่แรกคลอดส่งผลต่อการพัฒนาเมื่อโตขึ้น จนแสดงอาการผิดปกติดังที่กล่าวมา
  • การติดเชื้อสมองหลังจากคลอด เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้สมองบางส่วนถูกทำลาย และไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่มาทดแทนได้
  • การเสียหายของสมองในช่วง 2 ปีแรกหลังการเกิด เพราะการพัฒนาของสมองจะเร็วที่สุดในช่วง 2 ปีแรก หากเสียหายแต่ต้นจะทำให้การพัฒนาสมองผิดปกติไปหมด ส่งผลต่อการพัฒนาของร่างกาย
  • เมื่อสมองเสียหายแล้วไม่สามารถทำให้กลับคืนมาได้ จึงไม่สามารถสั่งการให้กล้ามเนื้อตอบสนองได้ดี เมื่อแขนขาขยับได้ไม่ดีส่งผลต่อกระดูกไม่สามารถยืดขยายได้ตามอายุ จึงทำให้ร่างกายผิดปกติ

ปัญหาของเด็กที่มีปัญหาโรคซีพี

สำหรับเด็กที่มีโรคซีพีจะมีปัญหาต่างๆมากมายที่งร่างกาย สังคม และ พัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปปัญหาของเด็กที่มีอาการโรคซีพี มีดังนี้

  • ภาวะระดับสติปัญหาต่ำกว่าปรกติ ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีปัญหา เช่น การมองเห็น การได้ยิน การพูดและการรับรู้ภาษา รวมทั้งอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ดังนั้นเมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา เด็กกลุ่มนี้มักจะได้ผลที่ต่ำกว่าปกติเสมอ
  • ปัญหาด้านการรับรู้ เรียนรู้และความคิด ผู้ป่วยโรคซีพีมีความสามารถในการเคลื่อนไหวที่จำกัด ทำให้การเรียนรู้สิ่งต่างๆได้น้อย ทำให้ไม่สามารถเข้าใจเรื่องต่างๆได้
  • ปัญหาด้านอารมณ์และสังคม ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีอาการเศร้าซึม เนื่องจากการเคลื่อนไหวไม่ได้ตามที่ต้องการ ไม่สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ ทำให้มีปัญหาทางอารมณ์และสังคมได้
  • อาการโรคลมชัก เราพบว่าร้อยละ 20 ถึง 50 ของผู้ป่วยโรคซีพี มักมีอาการชักร่วมด้วย
  • ปัญหาด้านการมองเห็น ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีความบกพร่องทางด้านการมองเห็น เช่น ตาเหล่ ไม่สามารถกลอกตาขึ้นบนพร้อมกันได้ หรือ มีตาดำกระตุก ( nystagmus ) ร่วมด้วย
  • ปัญหาด้านการได้ยิน ผู้ป่วยโรคซีพีอาจจะมีความผิดปกติของการได้ยิน เนื่องมาจากความบกพร่องของหูส่วนกลาง ทำให้เด็กได้ยินเสียงน้อยลง
  • ปัญหาด้ารการสื่อความหมาย ผู้ป่วยโรคซีพีจะมีความบกพร่องทางด้านภาษา ไม่สามารถเลียนแบบเสียง ทำให้มีความผิดปกติของการพูด ได้แก่ ไม่พูดเลย พูดช้ากว่าปกติ
  • ปัญหาด้านกระดูก ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะพบปัญหาด้านการเคลื่อนไหว อาจพบภาวะกระดูกสันหลังคด ( scoliosis )
  • ปัญหาด้านฟันและร่องปาก ผู้ป่วยโรคซีพีมักพบปัญหาฟันผุได้บ่อย เนื่องจากการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปากทำได้ยากลำบาก ถ้าขาดการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปาก อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายตามมาได้

อาการของโรคซีพี

อาการผิดปรกติจะเป็นตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่มักพบความผิดปกติของเด็กตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี โดยสังเกตได้จากเด็กมีท่านอนที่ผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง ซึ่งจำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ โดยอาการผิดปรกติสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแข็งเกร็ง กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวเอง และ กลุ่มอาการผสมกัน ลักษณะอาการดังนี้

  • อาการโรคซีพี กลุ่มแข็งเกร็ง ( spastic ) เป็นอาการที่พบมากที่สุด คือ กล้ามเนื้อมีการตึงตัวมากกว่าปกติ อาการเกร็งทำให้ร่างกายผิดปกติ มีหลายรูปแบบ คือ
    • อาการเกร็งแบบครึ่งซีก คือ มีอาการเกร็งของแขนและขาข้างเดียวกัน ( spastic hemiplegia ) ลักษณะผิดปกติชัดเจนคล้ายผู้ใหญ่ที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก
    • อาการเกร็งครึ่งท่อน คือ มีอาการเกร็งของขาและแขนทั้งสองข้าง( spastic diplegia ) เกร็งแค่ครึ่งตัวส่วนมากพบขาเกร็งมากกว่าแขน
    • อาการเกร็งทั้งตัว คือ มีอาการเกร็งมากทั้งแขนและขาทั้งสองข้าง
  • อาการโรคซีพี กลุ่มเคลื่อนไหวเอง เป็นอาการเคลื่อนไหวเองของผู้ป่วย แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ อาการกล้ายเนื้อตึงตัวมากกว่าปรกติ และ อาการกล้ามเนื้อตึงตัวน้อยกง่าปรกติ ดังนี้
    • อาการกล้ามเนื้อตึงตัวมากกว่าปรกติ เรียก อะธีตอยด์ ( athetoid ) ทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ บางรายคอเอียง ปากเบี้ยว
    • อาการกล้ามเนื้อตึงตัวน้อยกว่าปรกติ เรียก อะแทกเซีย ( ataxia ) ทำให้มีปัญหาการทรงตัว กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน เกิดอาการสั่นขณะเคลื่อนไหวร่างกาย
  • อาการโรคซีพี กลุ่มอาการผสมกัน ( mixed type ) คือ มีอาการทั้งเกร็ง และ กล้ามเนื้อผิดปรกติ พบมากโดยเฉพาะกลุ่มแข็งเกร็งร่วมกับกล่มที่มีการเคลื่อนไหวเกิดได้เอง

การรักษาโรคซีพี

เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ เพราะ เนื้อสมองเมื่อเสียไปแล้วไม่สามารถทำให้กลับมาได้ สิ่งที่ทำได้คือการฟื้นฟู การบรรเทาอาการ เช่น การที่เส้นยึด เส้นตรึง กล้ามเนื้อลีบ ควรทำหารขยับ การยืด การบริหารทุกวัน ให้กล้มเนื้อมีความยืดหยุ่น ให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด รวมทั้งการฟื้นฟูจิตใจ การปรับตัวเข้ากับสังคม ยอมรับตนเอง และเห็นคุณค่าในตนเอง แรวทางการรักษา สามารถแบ่งตามปัญหาที่พบ ดังนี้

  • การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด จะเร่ิ่มรักษาตั้งแต่แรกเกิด ไม่มีวิธีการที่แน่นอนตายตัว ขึ้นกับลักษณะของความผิดปกติของแต่ละคน โดยโปรแกรมการรักษาจะกำหนดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละรายเฉพาะตัว เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ เพื่อ ปรับและควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวที่ปกติและสามารถรักษาสมดุลเพื่อทรงท่าอยู่ได้ และ การใช้เครื่องช่วยเพื่อจัดท่าทาง
  • การรักษาโดยใช้กิจกรรมบำบัด เช่น การฝึกการดูดกลืน การฝึกทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน การแต่งกาย การรับประทานอาหารด้วยตนเอง การฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือ
  • การรักษาเพื่อแก้ไขการพูด ฝึกให้สามารถออกแรงกล้ามเนื้อในการพูดให้สามารถพูดได้เป็นปรกติมากที่สุด
  • การรักษาด้วยยา ซึ่งมีทั้งยากินและยาฉีด โดยยาใช้รักษาเพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด เพ่ือลดความตึงของกล้ามเนื้อ เพื่อสร้างความสมดุลของข้อ ผ่าตัดกระดูก เป็นต้น ซึ่งการรักษาต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่ามีความเหมาะสม
  • การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เสริมช่วยในการเคลื่อนไหว เช่น เฝือกอ่อนพยุงข้อเท้า ( ankle foot orthoses-AFO ) อุปกรณ์ช่วยเดิน ( walker ) รองเท้าตัด เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคซีพี

  • เด็กควรได้รับการฟื้นฟู ทั้งทางกายภาพคือ การขยับแขนขาร่างกาย การฝึกเดิน ฝึกทำกิจวัตรประจำวันเอง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ การฟื้นฟูทางด้านจิตใจ การฝึกการเข้าสังคม การเตรียมความพร้อมในการเรียน การฝึกอาชีพ
  • การฟื้นฟูและฝึกต่างๆควรเริ่มตั้งแต่เด็ก ไม่ควรเกินอายุ 7 ปี เนื่องจากหลังจาก 7 ปีแล้วสมองจะเจริญได้ช้ามาก ทำให้การฝึก การฟื้นฟูที่ทำหลังจากอายุ 7 ปีจะทำได้ล่าช้ามาก
  • การดุแลเด็กที่เป็นโรคซีพีจะต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จะต้องหยิบจับได้ง่าย ไม่มีคม ทางเดินควรมีทางลาด ไม่ควรมีสิ่งกีดขวาง เพื่อให้การเดินการขยับต่างๆทำได้อย่างปลอดภัย และให้เด็กค่อยๆปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมปกติ
  • การกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเข้าสังคม การมีเพื่อนในวัยเดียวกัน การทำควมเข้าใจสังคมภายนอกบ้าน ควรพาเด็กออกไปพบปะผู้คน สังคมภายนอกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้การปรับตัว
  • การฝึกพื้นฐานต่างๆ เช่น การเคี้ยวอาหาร การหยิบจับอุปกรณ์ต่างๆ การใส่เสื้อผ้าเอง การขับถ่ายเอง ควรฝึกให้เป็นตั้งแต่เด็ก ทั้งยังได้ประโยชน์จากการฝึกกล้ามเนื้ออีกด้วย

เนื้องอกในสมอง การเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลต่อประสาทและสมอง อาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง สูญเสียการควบคุม การรักษาเนื้องอกในสมองทำอย่างไร
เนื้องอกในสมอง โรคสมอง โรคเนื้องอก โรคไม่ติดต่อ

โรคเนื้องอกในสมอง คือ ภาวะการเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลประทบต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง โรคนี้สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย มีความแตกต่างจากโรคมะเร็งในสมอง เป็นโรคร้ายแรงในอดีต ซึ่งปัจจุบันสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยมาก ผลแทรกซ้อนจากการรักษาน้อย อาการบาดเจ็บของสมองลดลง พักฟื้นได้ในระยะสั้น

ชนิดของเนื้องอกในสมอง

สำหรับเนื้องอกในสมอง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกของสมอง และเนื้องอกในสมองที่มาจากอวัยะอื่นๆ รายละเอียด ดังนี้

  • เนื้องอกของสมองเอง แบ่งได้อีก 2 ชนิด คือ เนื้องอกชนิดดี และ เนื้องอกชนิดไม่ดี ซึ่งคือ เนื้องอกมะเร็งสมองนั่นเอง
  • เนื้องอกของสมองที่กระจายมาจากอวัยวะอื่น เป็นลักษณะของการแพร่กระจายของมะเร็งจากอวัยวะอื่นๆ

สาเหตุการเกิดจากโรคเนื้องอกในสมอง

สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมองยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทีให้เกิดเนื้องอกในสมอง โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

  • พันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีญาติพ่อแม่พี่น้องป่วยโรคนี้มักจะมีความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกในสมองมากกว่าผู้ที่ไม่มีญาติเคยป่วยโรคนี้ ทั้งนี้ถึงแม้จะมีญาติคนใกล้ชิดเคยป่วยโรคนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะป่วยโรคนี้เสมอไป เพียงแต่มีความเสี่ยงมากขึ้น
  • เซลล์ในสมองเอง ที่มีการแบ่งตัวมากผิดปกติจนมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • การรับการแพร่ของมะเร็งมากจากอวัยวะอื่น จนลามไปถึงสมองจนเกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งการรักษาเมื่อผ่าตัดแล้วจะต้องทำการรักษาการลุกลามของมะเร็งโดย การทำเคมีบำบัด และการฉายรังสีเพิ่มเติม

อาการผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง

อาการของเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิดของเนื้องอก และ ขนาดของเนื้องงอก ซึ่งบางคนอาจไม่แสดงอาการใดๆ และ อาจพบเนื้องอกหลังเข้ารับการตรวจร่างกาย แต่อาการของเนื้องอกในสมองจะแสดงอาการเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง โดยรวม ซึ่งสังเกตุอาการ ได้ดังนี้

  • อาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยปวดเป็นระยะ ต่อเนื่องกัน อาการปวดโดยไม่เคยเป็นมาก่อน ปวดติดต่อกันหลายสัปดาห์ ปวดขณะนอนหลับกลางดึก
  • อาการแขนขาอ่อนแรง อาการชา อาการจะหนักขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งไม่สามารถขยับแขนขาได้
  • อาการหน้าเบี้ยว หนังตาตก ปากเบี้ยว ไม่สามารถบังคับได้
  • อาการกระตุกชัก โดยที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ไม่สามารถควบคุมได้ อยู่นอกเหนือการควบคุม

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง มี 4 ระยะ เหมือนกับการเกิดมะเร็ง ซึ่งในการดูแลผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง จะไม่แบ่งระยะของมะเร็ง แต่จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถผ่าตัดรักษาได้ และ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่รักษาแล้วลับมาเป็นซ้ำ

การตรวจวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง แพทย์จะการตรวจร่างกาย ตรวจประวัติการรักษา สอบถามอาการป่วย การตรวจโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจโดยทำเอนอาร์ไอ เพื่อระบุตำแหน่งขนาดของเนื้องอกเพื่อวางแผนการรักษา

การรักษาโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง ใช้การผ่าตัด รังสีรักษา และ เคมีบำบัด ซึ่งแพทย์เลือกแนวทางการรักษาตามความเหมาะสมของปัจจัยต่างๆ โดยแนวทางการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด โดยอยู่ตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้องอก หากขนาดไม่ใหญ่มาก และไม่มีการขยายรวมทั้งไม่มีผลต่อการทำงานของสมอง อาจจะรักษาโดยการประคับประคองอาการ แต่หากมีการขยายขนาดและกดทับสมองจนทำให้สมองทำงานผิดปกติหรือทำงานบกพร่อง จะต้องผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้ออก
  • การฉายรังสีและเคมีบำบัด หากก้อนเนื้องอกนั้นเป็นชนิดที่เกิดจากเซลล์มะเร็ง เมื่อทำการผ่าตัดออกแล้วจะต้องทำการรักษายับยั้งการลุกลาม โดยการใช้เคมีรักษาและรังสีรักษา ซึ่งจะมีอาการข้างเคียงจากการรักษา เช่น คลื่นไส้ อาเจียนผมร่วง ผิวหนังอักเสบ ประสิทธิภาพการรักษาจะขึ้นกับระยะของโรคมะเร็งขณะรักษา

การป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง เนื่องจากโรคนี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ ซึ่งการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง จึงควรดูแลร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ แนวทางการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง มีดังนี้

  • การสังเกตุอาการของตนเอง และคนรอบข้างที่ป่วย หากอาการผิดปกติตามที่กล่าวข้างต้นจะต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย หากพบเนื้องอกได้เร็วเท่าไหร่ก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น
  • รับประทาอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดืมน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ผ่อนคลาย ลดความเครียดจากกิจกรรมต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงการรับสารพิษต่างจากสิ่งแวดล้อม

โรคเนื้องอกในสมอง คือ การเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ลักษณะอาการ ปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง สูญเสียการควบคุมระบบประสาท แนวทางการรักษาเนื้องอกในสมองทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้
คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
เห็ดเข็มทอง สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของเห็ดเข็มทอง
เห็ดเข็มทอง
ฟักแม้ว มะระหวาน สมุนไพร พืชสวนครัว
ฟักแม้ว
กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา สมุนไพรไทย
กระเพรา
ผักตำลึง สมุนไพร พืชสวนครัว ตำลึง
ผักตำลึง
สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร