ชะมดต้น พืชพื้นเมือง สมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณของชะมดต้น บำรุงทางเดินอาหาร ขับลม แก้ปวดหัว กระตุ้นประสาท เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นน้ำนม โทษของชะมะต้นมีอะไรบ้าง

ชะมดต้น สมุนไพร

ชะมดต้น มีชื่อสามัญ ว่า  Abelmosk ชื่อวิทยาศาสตร์ของชะมดต้น คือ  Abelmoschus moschatus Medik พืชตระกูลเดียวกันกับชบา ชื่อเรียกอื่นๆของชะมดต้น เช่น ฝ้ายผี , เทียนชะมด , จั๊บเจี๊ยว , หวงขุย เป็นต้น

ลักษณะของต้นชะมดต้น

ชะมดต้น เป็นพืชล้มลุก ขนาดเล็ก อายุไม่เกิน 2 ปี ชะมดต้นสามารขยายพันธ์ได้โดย การปักชำ สามารถปลูกได้ในพื้นที่ประเทศเขตร้อน เช่น อินเดีย พม่า และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้มากตามป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น และ ป่าเบญจพรรณ

  • ลำต้นชะมดต้น สูงไม่เกิน 2 เมตร ลำต้นมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม
  • ใบของชะมดต้น เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ
  • ดอกชะมดต้น ออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกชะมดต้นตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองและสีม่วง
  • ผลของชะมดต้น ทรงกลมยาว คล้ายผลมะเฟือง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีดำ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลมีกลิ่นหอม

ประโยชน์ของชะมดต้น

สำหรับการใช้ประโยชน์ของชะมดต้น สามารถใช้นำมาทำเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เชือก กระสอบ ผงกันแมลง แต่งกลิ่นอาหาร และ ทำน้ำหอม โดยรายละเอียดของประโยชน์ชะมดต้น มีดังนี้

  • ใบของชะมดต้น สามารถนำมากินเป็นผักสดได้
  • ใยจากเปลือกของต้นชะมดต้น สามารถขำมาทำเชือกและกระสอบ
  • เมล็ดของชะมดต้น นำมาบดให้เป็นผง ใช้ป้องกันแมลง
  • รากของชะมดต้น มีสารให้ความเหนียว ใช้เป็นกาวได้
  • เมล็ดของชะมดต้น สามารถนำมาคั่วให้กลิ่นหอม แต่งกลิ่นอาหาร นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย ให้มีกลิ่นหอม นำมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องหอม น้ำหอม และแต่งกลิ่นอาหาร

สรรพคุณของต้นชะมดต้น

การนำชะมดต้นมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาด เมล็ด ราก ดอก ใบ และ ผล โดยสรรพคุณของชะมดต้น มีดังนี้

  • เมล็ดของชะมดต้น สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร แก้ปวดหัว แก้กระหาย ช่วยขับลม รักษาโรคกระเพาะอาหาร เมล็ดของชะมดต้น สามารถนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้ สรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดชะมดต้น สรรพคุณช่วยระงับประสาท ช่วยคลายเครียด ช่วยขับลม บำรุงระบบย่อยอาหาร กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ  กระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไต
  • รากของชะมดต้น สรรพคุณช่วยขับพิษร้อน ลดไข้ แก้ไอเรื้อรัง แก้ปวดท้อง แก้ท้องผูก รักษาโรคหนองใน รักษาโรคกามโรค รักษาแผลไฟไฟม้ รักษาแผลพุพอง บำรุงหนังศีรษะ บำรุงเส้นผม รักษารังแค ต้านเชื้อราตามขุมขนและรากผม ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังการคลอด
  • ดอกของชะมดต้น สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องผูก ช่วยขับพยาธิ รักษานิ่ว
  • ใบของชะมดต้น มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ Staphelo coccus สรรพคุณรักษาแผล แผลไฟไหม้ แผลพุพอง รักษากลากเกลื้อน ช่วยขับพยาธิ  รักษาโรคปวดข้อ
  • ผลของชะมดต้น สรรพคุณรักษาฝี

โทษของชะมดต้น

การใช้ประโยชน์จากต้นชะมดต้น มีประโยชน์ แต่หากใช้ไม่ถูกวิธีก็เกิดโทษต่อร่างกายได้ โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากขะมดต้น มีดังนี้

  • เมล็ดของชะมดต้น มีพิษเมล็ดสดนำมาบดเป็นผงป้องกันแมลงได้ เมล็ดของชะมดต้นหากไม่นำมาคั่วให้สุกก่อนนำมารับประทานก็เป็นพิษต่อร่างกายได้
  • รากของชะมดต้น มีสารให้ความเหนียวใช้เป็นกาวได้ ไม่ควรนำมารับประทานแบบสดๆ

ต้นชะมดต้น คือ พื้ชพื้นเมือง สมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณของชะมดต้น หลายหลาย เช่น บำรุงระบบทางเดินอาหาร ขับลม แก้ปวดหัว กระตุ้นระบบประสาท เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยกระตุ้นน้ำนม โทษของชะมะต้น มีอะไรบ้าง

ต้นข่า สมุนไพรพื้นบ้าน ข่านิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ขับลม โทษของข่า

ข่า สมุนไพร สมุนไพรไทย

ข่า ( Galanga ) พืชตระกลูขิง นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ เป็นเครื่องเทศ ช่วยแต่งกลิ่นอาหาร และ ดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. ประโยชน์ของข่า ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง รักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร

ข่าในประเทศไทย

พื้นที่ปลูกข่าของประเทศไทย นั้นสามารถปลูกได้ทั่วไป นิยมปลูกต้นข่าที่สวนบ้านทุกบ้าน จัดว่า ข่าเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ใช้เป็นยารักษาโรค และ ส่วนประกอบของอุตสาหกรรมต่างๆ ในข่า สามารถสกัด เอาน้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่ง ในน้ำมันหอมระเหยของข่า มี สารสำคัญ 4 ชนิด คือ trans-p-Coumaryl diacetate , 4-Hydroxycinnamoylaldehyde , 1´-Acetoxychavicol acetate และ β–Sitosterol

ข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. พืชลักษณะเดียวกับ กระชาย กระชายดำ กระชายแดง กระวาน กระวานเทศ ขิง ขมิ้น เร่ว เปราะป่า เปราะหอม ว่านนางคำ และ ว่านรากราคะ ชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น สะเอเชย เสะเออเคย ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ชนิดของข่า

สำหรับสายพันธ์ข่าที่นิยมปลู มี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย

  • ข่าป่า พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และ ป่าดิบชื้น ลักษณะลำต้นสูง ใบคล้ายกับข่า ที่ปลูกทั่วไป หัวข่ามีกลิ่นฉุนไม่มาก
  • ข่าลิง หรือ ข่าน้อย ลักษณะลำต้นเล็ก
  • ข่าคม ลักษณะใบมน มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีขาว
  • ข่าน้ำ ข่าพื้นบ้าน นิยมปลูกเพื่อจำหน่าย พบมากที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ลักษณะของต้นข่า

ข่าเป็นพืชล้มลุก มีรสเผ็ด กลิ่นฉุน อายุหลายปี สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าข่า อยู่ใต้ดิน เหง้าสีน้ำตาลอมแสด เลื้อยขนานกับผิวดิน มีข้อปล้องสั้น
  • ลำต้นของข่า เป็นลักษณะกาบ ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้า ลักษณะอวบน้ำ กลม สีเขียว
  • ใบข่า เป็นใบเดี่ยว ใบยาว เหมือนหอก เรียงสลับ รอบลำต้น กาบใบมีขน ปลายใบแหลม ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกข่า เป็นลักษณะช่อ ออกที่ปลายยอด ช่อแยกแขนง ตั้งขึ้น มีขนาดใหญ่ สีเขียวปนเหลือง ดอกแก่เป็นสีขาวปนม่วงแดง
  • ผลแห้งแตก รูปกระสวย ทรงกลม มีเมล็ด เมล็ดข่าใช้เป็นเครื่องเทศ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อนมาก นิยมนำมาประกอบอาหาร ข่ามีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย นักโภชนากการำด้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของข่า โดยคุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่

ข่าอ่อนขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัฯ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และ วิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อน นิยมมาประกอบอาหาร มีประโยชน์ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สรรพคุณของข่า นิยมใช้ เหง้าข่า รากข่า ดอกข่า ผลข่า และ ใบข่า ประโยชน์ทั้งหมดของข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของข่า สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ช่วยขับเสมหะ
  • เหง้าของข่า สรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา รักษาแผลสด ลดอาการอักเสบ แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รักษากลากเกลื้อน แก้ฟกช้ำ แก้เหน็บชา บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ใบของข่า สรรพคุณช่วยฆ่าพยาธิ รักษากลากเกลื้อน
  • ดอกของข่า สรรพคุณแก้อาการท้องเสีย รักษาฝีดาษ
  • ผลของข่า สรรพคุณแก้ปวดฟัน รักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร

โทษของข่า

สำหรับข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชนืจากข่ามีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษปานกลาง หากได้กินน้ำมันหอมระเหยจากข่ามากเกินขนาด เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า มีความเผ้ดร้อน ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง สำหรับคนที่ผิวหนังแพ้ข่า ทำให้มีอาการแสบร้อน

ต้นข่า คือ พืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน พืชสวนครัว ข่า นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว เพิ่มรสชาติอาหาร ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณของข่า เช่น ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ช่วยขับลม โทษของข่า

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย