หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การกดทับเส้นประสาทของหมอนรองกระดูก ทำให้มีอาการปวด ตามแนวกระดูกสันหลัง พบบ่อย ในกลุ่มคนำงานออฟฟิต ปวดหลังแปร็บๆ รักษาอย่างไร

หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ทำให้ทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ เกิดอาหารปวดคอ ปวดหลัง และปวดตามร่างกายหลายๆจุดตามเส้นประสาทที่ถูกกระดูกกดทับ ซึ่งการเคลื่อนไหวร่างกายผิดท่าผิดทาง เช่น ก้มหน้าเล่นสมาร์ตโฟน นั่งทำงานนานๆ หรือยกของหนัก เป็นความเสี่ยงในการเกิดภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

อาการปวดของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทต่างๆจากอาการปวดแบบทั่วไป ซึ่งสัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท คือ อาการปวดที่ตำแหน่งของข้อกระดูกสันหลัง

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เป็นภาวะเสี่ยงที่เกิดบ่อยในคน 2 กลุ่ม คือ คนที่อายุมากกว่า 40 ปี และกลุ่มหนุ่มสาวที่มีกิจกรรมมาก โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. กลุ่มคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป กระดูกสันหลังหรือหมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มเสื่อม หากออกแรงหรือใช้แรงมากๆ อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทได้ในทันที
  2. กลุ่มหนุ่มสาวที่มีกิจกรรมมาก คนกลุ่มนี้ใช้ร่างกายหนัก โลดโผน ทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกสันหลังได้ง่าย รวมถึงกลุ่มคนเหล่านี้เป็นคนวัยทำงาน การนั่งทำงานนานๆเป้นสาเหตุของการเคลื่อนของกระดูกสันหลังทับส้นประสาทได้

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ ภาวะการกดทับเส้นประสาทของหมอนรองกระดูก ทำให้มีอาการปวด ตามแนวกระดูกสันหลัง เป็นโรคที่พบค่อนข้างบ่อยมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ปวดคอ เมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ หลายๆชั่วโมงในแต่ละวัน มักพบว่าจะป่วยเป็นโรคนี้ ส่วนมากพบในวัยทำงาน 30 ปีขึ้นไป

สาเหตุการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือ หมอนรองกระดูกทับเส้น สาเหตุเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังแตกและปลิ้นจนไปไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการอักเสบของเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดอาการปวดตรงเส้นประสาท ซึ่งหมอนรองกระดูกสันหลัง ( Intervertebral Disc ) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่บริเวณศูนย์กลางจะมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายเจลลี่ ส่วนที่อยู่โดยรอบ มีลักษณะเหนียวและหนาคล้ายเอ็น และ ส่วนที่ยึดติดกับข้อกระดูกสันหลัง มีลักษณะคล้ายกระดูกอ่อน ซึ่งทั้ง 3 ส่วน มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก ทำหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวและรับแรงกระแทกของกระดูกสันหลัง

หากกระดูกสันหลังถูกใช้งานหนัก ใช้งานผิดท่า รับน้ำหนักมากเกินไป หรือเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังแตกและปลิ้นออกมาจนไปกดทับเส้นประสาทได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการปวดหลัง ปวดสะโพก ร้าวลงขาหรือเท้า อาการชาและอ่อนแรง บางรายรุนแรงถึงขั้นควบคุมการขับถ่ายลำบาก ซึ่งพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีดังนี้

  • การได้รับการกระทบกระเมือนจากแรงกระแทก แรงอัด เช่น จากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬาที่มีการปะทะ
  • การนั่งนานๆ ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ
  • การทำงานที่ต้องก้มบ่อยๆ
  • การทำงานที่ต้องยกของหนักบ่อยๆ
  • น้ำหนักตัวมาก ทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักมาก
  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการเลื่อนของกระดูกสันหลัง

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

สำหรับอาการของผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะมีอาการปวดหลัง ปวดสะโพก ร้าวลงขาหรือเท้า อาการชาและอ่อนแรง บางรายรุนแรงถึงขั้นควบคุมการขับถ่ายลำบาก แบ่งอาการต่างๆได้ดังนี้

  • อาการปวดช่องเอว อาการปวดเอวเป็นๆหายๆ
  • ก้ม เงย นั่งนานๆ มักจะมีอาการปวดมาก
  • ปวดร้าวลงมาที่ขา น่อง เท้า
  • อาการปวดช่องคอจนลามไปถึงแขน
  • อาการชาที่มือและปลายนิ้ว
  • อาการปวดร้าวที่แขน
  • ปวดคอ สะบักเรื้อรัง
  • เคลื่อนไหวผิดปกติ

การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

สำหรับแนวทางการรักษาสามารถทำได้ด้วยการรักษาตั้งแต่การลดน้ำหนัก การทำกายภาพบำบัด การใช้ยารักษาโรค และ ผ่าตัด ซึ่งการเลือกวิธีการรักษาขึ้นกับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาของแพทย์

  • ลดน้ำหนักและหลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง ปัจจัยเรื่องน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ เป็นสาเหตุของการเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่เร็วกว่าปรกติ เพื่อไม่ให้ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทเป็นมากกว่าเดิม และควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ
  • การทำกายภาพบำบัด สำหรับอาการหมอนรองกระดูกสันทับเส้นประสาทที่ไม่รุนแรงมากนัก คือ การทำกายภาพบำบัด ช่วยลดอาการปวดของร่างกาย
  • การใช้ยารักษา เป็นการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  • การผ่าตัด หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนส่งผลต่อการดำรงชีวิตจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อรักษาอาการกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท  ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถช่วยให้การผ่าตัดกระดูกสันหลังมีความปลอดภัยและแม่นยำมากขึ้น  แผลจากการผ่าตัดมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว

แนวทางการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  • อย่าปิดตัวแรงๆเพราะจะทำให้หมอนรองกระดูกหลุดเพิ่มขึ้นได้
  • เมื่อจำเป็นต้องยกของหนักควรย่อเข่าแล้วยก ไม่ควรยกโดยการก้ม หรือ ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรยกของหนักเลย
  • เมื่อต้องนั่งทำงานนานๆ ควรลุกเดินบ้าง สลับกันไป
  • ควรมีหมอนหนุนหลังในเก้าอี้ที่ทำงาน
  • เวลาลุกจากจากการนอนให้ค่อยๆลุก หรือ นอนคว่ำแล้วใช้แขนดันให้ลุกขึ้น
  • ลดหมอนให้เตี้ยลง
  • นอนตะแคงมากขึ้น
  • พบแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำ
  • เมื่อมีอาการชา ตามมือ ตามเท้า ให้ปรึกษาแพทย์เพราะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

การป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การป้องกันภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อความเสี่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง แนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  • ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อหลังและท้อง ค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหม
  • งดยกของหนักหากไม่จำเป็น
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากน้ำหนักเกินให้ลดน้ำหนัก
  • อย่านั่งนานๆ ให้ยืน เดิน สลับกันไป
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้
คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
เห็ดเข็มทอง สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของเห็ดเข็มทอง
เห็ดเข็มทอง
ฟักแม้ว มะระหวาน สมุนไพร พืชสวนครัว
ฟักแม้ว
กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา สมุนไพรไทย
กระเพรา
ผักตำลึง สมุนไพร พืชสวนครัว ตำลึง
ผักตำลึง
สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร