ผักชี สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมรับประทานเป็นอาหาร ต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี

ผักชี สมุนไพร

ผักชี ( Coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ต้นผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม ผักหอมน้อย เป็นต้น

ลักษณะของต้นผักชี

ผักชี จัดเป็นพืชประเภท พืชล้มลุก อายุสั้น ผักชีมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรีบย
  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เม็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักชี

การบริโภคผักชีเป็นอาหาร มีมาช้านานแล้ว และ เป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้านโภชนาการ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักชีสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 23 กิโลแคลอรี

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม น้ำ 92.21 กรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม  ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 67 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.77 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 46 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.5 มิลลิกรัม

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 วิตามินซี วิตามินอี และ วิตามินเค

ประโยชน์ของผักชี 

การใช้ประโยชนืจากผักชี นั้นหลักๆจะเป็นการนำเอามาทำอาหารรับประทานเป็นหลัก แต่นอกจากนำมาทำอาหาร ผักชี สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดของผักชี ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ต่างๆ

สรรพคุณของผักชี

ประโยชน์ของผักชีด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค สามารถใช้ได้ทุกส่วนของผักชี คือ รากผักชี ลำต้นผักชี ใบผักชี และ เมล็ดของผักชี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดผักชี สรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ปวดฟัน บำรุงกระเพาะอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร
  • ใบผักชี สรรพคุณบำรุงสายตา แก้กระหายน้ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ป้องกันมะเร็ง  ขับเสมหะ แก้สะอึก แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้เวียนหัว ขับเหงื่อ แก้หวัด แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม  รักษาอาหารเป็นพิษ ช่วยแก้พิษตานซาง รักษาตับอักเสบ รักษาโรคหัด ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ
  • รากผักชี สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ

โทษของผักชี

  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นตัวแรง
  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการตาลาย หรือ ขี้หลงขี้ลืม เนื่องจากอาการมึนหัว

ผักชี คือ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมปลูกตามครัวเรือน นำมารับประทานอาหาร ให้รสชาติและกลิ่นหอม ลักษณะของต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักชี ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับผักชีทั้งหมด

ม้ากระทืบโรง สมุนไพร นิยมนำมาทำเป็นส่วนผสมยาดอง ประโยชน์และสรรพคุณของม้ากระทืบโรง บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำหนัด

ม้ากระทืบโรง สมุนไพร สรรพคุณของม้ากระทืบโรง

ม้ากระทืบโรง ชื่อวิทยาศาสตร์ของม้ากระทืบโรง คือ Ficus sarmentosa Buch.-Ham. ex Sm. ชื่อเรียกอื่นๆของม้ากระทืบโรง เช่น ม้าคอกแตก คอกม้าแตก มันฤาษี กาโร พญานอนหลับ มาดพรายโรง เดื่อเครือ บ่าบ่วย เป็นต้น

ลักษณะของต้นม้ากระทืบโรง

ต้นม้ากระทืบโรง เป็นไม้เลื้อย ทรงไม้พุ่ม มักพบตามต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา สามารถขยายพันธุ์ด้วย วิธีการปักชำ ลักษณะของต้นม้ากระทืบโรง มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นม้ากระทืบโรง มีความสูงได้ประมาณ 25 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลักษณะสาก มีปุ่มคล้ายหนาม เนื้อไม้เป็นสีขาว  ลำต้นมีน้ำยาง สีขาว
  • ใบม้ากระทืบโรง เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามเถา ลักษณะของใบรูปไข่
  • ดอกม้ากระทืบโรง ดอกออกตามซอกใบ ออกดอกเป็นช่อ ฐานรองดอกเป็นรูปทรงกลม
  • ผลม้ากระทืบโรง ผลเป็นรูปทรงกลม เปลือกของผลม้ากระทืบโรง มีสรรพคุณทางยา

คุณค่าทางโภชนากการของม้ากระทืบโรง

การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของม้ากระทืบโรง พบว่าเถาของม้าประทืบโรง มีสารเคมีต่างๆ ประกอบด้วย

  • สารเคมีกลุ่ม eudesmane sesquiterpene  ประกอบด้วย  foveolide A , foveoeudesmenone , 4(15)-eudesmene-1β,6α-diol , 4(15)-eudesmene-1β,5α-diol
  • สารเคมีกลุ่ม sesquiterpenoid dimer คือ foveolide B
  • สารเคมีกลุ่ม phenolic ได้แก่ foveospirolide, ethyl rosmarinate
  • สารเคมีกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ ได้แก่ friedelin, taraxerol และ betulin

สรรพคุณของม้ากระทืบโรง

สำหรับต้นม้ากระทืบโรง มีประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย โดยใช้ส่วน ทั้งต้น เถา เนื้อไม้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของม้ากระทืบโรง สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง  แก้ปวดแมื่อย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเลือดเสีย รักษาริดสีดวงทวาร เพิ่มความต้องการทางเพศ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงธาตุ
  • เถาม้ากระทืบโรง มีรสเย็น สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย บำรุงธาตุ บำรุงเลือด แก้ปวดฟัน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย แก้ประดงลม รัักษาฮ้อเลือด  แก้ปวดหลังปวดเอว
  • เนื้อไม้ม้ากระทืบโรง สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ปวดหลัง แก้ปวดเอว

โทษของม้ากระทืบโรง

สารเคมี foveolide A ในลำต้นของม้ากระทืบโรง มีความเป็นพิษระดับปานกลางต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ เซลล์มะเร็งตับ เซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร และ มีฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค Mycobacterium tuberculosis โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ คือ 200 ไมโครโมลาร์

ม้ากระทืบโรง คือ พืชประเภทไม้เลื้อย สมุนไพร นิยมนำมาทำเป็นส่วนผสมยาดอง ประโยชน์ของม้ากระทืบโรง สรรพคุณของม้ากระทืบโรค ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำหนัด

แหล่งอ้างอิง

  • ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน), เว็บไซต์อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)
  • “ไม้ดีมีประโยชน์ – “ม้ากระทืบโรง” บำรุงความกำหนัด”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-10. สืบค้นเมื่อ 2007-10-06.
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย