โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ระบบฮอร์โมนผิดปรกติ อาการคอบวม ไม่มีอาการเจ็บ มีไข้บ่อยๆ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นอาการของโรค แนวทางการรักษาต้องทำอย่างไรอาการคอบวม โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคฮอร์โมน โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง Lymphoma cancer ) คือ การเกิดเซลล์มะเร็งที่ระบบต่อมน้ำเหลือง ซึ่งส่งผลต่อระบบฮอร์โมน ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานทั่วร่างกาย สามารถรักษาได้หากพบในระยะต้นๆ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค โดยอาการเบื้องตน เช่น มีไข้บ่อยๆ ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย คอบวมโตแต่ไม่เจ็บ แขนขาอ่อนแรง ท้องอืดท้องเฟ้อเรื้อรัง

ประเภทของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เราสามารถแบ่งประเภทของโรคนี้ 2 ประเภท คือ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอน-ฮอดจ์กิน และ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอน-ฮอดจ์กินNon-Hodgkin’s lymphoma ) เกิดจากเม็ดเลือดขาวชื่อ ลิมฟ์โฟไซท์  ( lymphocyte ) ชนิด B หรือชนิด T เกิดความผิดปกติ ทำให้เกิดความผิดปกติของต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบมากที่สุดในประเทศไทย
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินHodgkin’s lymphoma ) เกิดจากเม็ดเลือดขาวชื่อ ลิมฟ์โฟไซท์ ( lymphocyte ) ชนิด B หรือชนิด T เกิดความผิดปกติ ทำการแบ่งตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลือง ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างแน่ชัดได้ แต่ นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้ เชื่อว่าเกิดจาก DNA ของเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดลิมโฟไซต์ เกิดการกลายพันธุ์จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด แต่สิ่งที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เช่น สภาพสิ่งแวดล้อม ระบบภูมิต้านทานโรคของร่างกาย และ การติดเชื้อโรคต่างๆ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีปัจจัยต่างๆที่เป็นโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีดังนี้

  • สภาพสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย หากเป็นแหล่งที่สะสมมลพิษต่างๆ มีโอกาสเกิดโรคมากกว่าคนทั่วไป
  • ระบบภูมิต้านทานโรคของบุคคล
  • การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม ในกลุ่มคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยป่วยโรคนี้ มีโอกาสเสี่ยงเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าคนอื่น
  • ภาวะการติดเชื้อโรคอย่างเรื้อรัง เช่น โรคเอดส์ ผู้ป่วยโรคเอดส์มีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป

อาการโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 

สำหรับอาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จะแสดงให้เห็นความผิดปรกติที่ลำคอ เนื่องจากลำคอเป็นแหล่งของต่อมน้ำเหลืองในร่างกาย จะแสดงอาการที่ คอ รักแร้ ขาหนีบ แต่ไม่มีอาการเจ็บ ลักษณะของโรคต่อมน้ำเหลือง สามารถสังเกตุได้จากอาการ ดังนี้

  • มีไข้บ่อยๆ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ติดเชื้อง่ายและมีความรุนแรงของอาการ
  • เลือดออกง่ายและเป็นแผลง่าย

ระยะของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับอาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามามารถแบ่งได้ 4 ระยะ คือ ระยะทีหนึ่งถึงระยะที่สี่ ซึ่งอาการของโรคจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนเสียชีวิตในที่สุด รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะแรก อาการยังไม่ลุกลาม เป็นเฉพาะบริเวณต่อนน้ำเหลืองนั้น เช่น คอ รักแร้ อัตรารอด 80-90 เปอร์เซนต์
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่สอง อาการเริ่มลุกลามไปบริเวณใกล้เคียง อัตรารอด 70-80 เปอร์เซนต์
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่สาม ต่อมน้ำเหลืองใหญ่ที่ส่วนบน ใต้กระบังลม ลำคอ ขาหนีบ ติดเชื้อมะเร็ง อัตรารอด 50-70 เปอร์เซนต์
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะสุดท้าย อวัยวะอื่นได้รับเชื้อมะเร็ง เช่น ตับ สมอง และเสียชีวิตในที่สุด อัตรารอด 0-50 เปอร์เซนต์

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีแนวทาง คือ สอบถามประวัติการรักษาโรค รวมถึงประวัติการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองของญาติพ่อแม่พี่น้อง ตรวจร่างกายทั่วไปและตัดชิ้นเนื้อของต่อมน้ำเหลืองเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งแนวทางการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เช่น การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy) การใช้รังสีรักษา (Radiation Therapy) และ การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplant) โดยวิธีการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การเฝ้าระวังเชิงรุก ( Active Surveillance ) ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แพทย์จะใช้วิธีการติดตามอาการเป็นระยะๆ
  • การใช้เคมีบำบัด ( Chemotherapy ) ใช้ยาทางเคมีรับประทานหรือยาฉีดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกาย
  • การใช้รังสีรักษา ( Radiation Therapy ) เป็นการใช้รังสีพลังงานสูง เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกาย
  • การปลูกถ่ายไขกระดูก ( Bone Marrow Transplant ) การถ่ายไขกระดูกนำสเต็มเซลล์ที่ดีเซลล์ใหม่ ที่ได้มาจากการบริจาคฉีดเข้าไปในเลือดเพื่อสร้างไขกระดูกใหม่

อาการแทรกซ้อนของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับอาการต่างๆของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย และ แสดงอาการแทรกซ้อน ดังนี้

  • ระบบหายใจผิดปรกติ เช่น อาการไอ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก เกิดจากการกระทบต่อต่อมไทมัส เป็นระบบน้ำเหลืองตรงหน้าอก
  • ระบบสมองและสาตตาผิดปรกติ มีอาการปวดหัว มีอาการชัก เห็นภาพซ้อน ชาตามใบหน้า มีปัญหาการพูด
  • ผิวหนังผิดปรกติ เช่น มีอาการคัน มีก้อนนูนแดงใต้ผิวหนัง เป็นต้น

การป้องกันมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน การป้องกันการเกิดโรคจึงต้องป้องกันปัจจัยยเสี่ยงของการเกิดโรคที่สามารถควบคุมได้ แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์
  • เลิดดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  • เลิกสูบบุหรี่
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้
คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
เห็ดเข็มทอง สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของเห็ดเข็มทอง
เห็ดเข็มทอง
ฟักแม้ว มะระหวาน สมุนไพร พืชสวนครัว
ฟักแม้ว
กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา สมุนไพรไทย
กระเพรา
ผักตำลึง สมุนไพร พืชสวนครัว ตำลึง
ผักตำลึง
สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร