หนองใน Gonorrhea ติดเชื้อเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae มีหนองในอวัยวะสืบพันธ์ คันช่องคลอด ช่องคลอดเหม็น ฉี่แล้วแสบ ปัสสาวะขัด รักษาโรคนี้อย่างไร

หนองใน โกโนเรีย โรคติดต่อ

หนองใน หรือ โกโนเรีย ภาษาอังกฤษ เรียก Gonorrhea เป็นภาวะการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae มักเป็นภาวะการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย โรคนี้จะแสดงอาการผิดปรกติที่จุดซ่อนเร้น เช่น ปากมดลูก มดลูก ปีกมดลูก ช่องคลอด ท้อปัสสาวะ ทวารหนัก อวัยะเพศรวมถึงเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย เช่น เยื่อบุตา เยื่อลำคอ เยื่อบุช่องปาก พบมากในกลุ่มรักร่วมเพศ กลุ่มคนที่ชอบเปลี่ยนคู่นอน กลุ่มคนที่ชอบซื้อบริการทางเพศ หากผู้ป่วยมีภาวะตั้งครรภ์สามารถถ่ายทอดเชื้อโรคสู่ลูกได้

โรคหนองในกับประเทศไทย

รายงานจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2551 พบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคหนองในจำนวน 6,168 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.43 ของผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 9.76 ต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งปัจจุบันโรคนี้ลดลงมากเนื่องจากมีการรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัยกันมากขึ้น

ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหนองใน

กิจกรรมที่ทำให้ติดเชื้อหนองใน คือ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อหนองในโดยไม่ใช้ถุงยางป้องกัน หรือ สัมผัสเนื้อเยื่อของผู้ติดเชื้อเช่น ทางช่องปาก ทางทวารหนัก มารดาสามารถถ่ายทอดสู่ทารกได้

กิจกรรมที่ไม่ทำให้ติดเชื้อหนองใน เช่น การสัมผัสมือ การกอด การใช้แก้วร่วมกัน การใช้จานชามร่วมกัน การใช้ห้องน้ำร่วมกัน การใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน การนั่งฝาโถส้วมเดียวกัน การใช้สระว่ายน้ำร่วมกัน

สาเหตุการเกิดโรคหนองใน

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหนองใน คือ การสัมผัสเชื้อโรคของผู้ทีีมีเชื้อโรค ซึ่งผู้ป่วยหลายคนมักไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคการป้องกันโรคหากไม่ป้องกันจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย สามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคได้ดังนี้

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า โดยไม่ป้องกันโรค ไม่ใช้ถุงยางอนามัย
  • ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศแบบหมู่ สวิงกิ้ง เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา เรื่องเพศศึกษา สุขศึกษา

อาการของโรคหนองใน

สำหรับโรคหนองในมีระยะฟักตัวของโรคหลังจากได้รับเชื้อมักจะแสดงอาการภายใน 2-10 วัน โดยทั่วไปแล้วมักจะแสดงอาการภายใน 5 วัน ซึ่งอาการของโรคจะแตกต่างกัน ทั้ง ชาย หญิง และ ลักษณะอาการที่แสดงทั้งสองเพศ ซึ่งลักษณะอาการของโรค มีดังนี้

  • อาการหนองในสำหรับเพศชาย จะมีอาการแสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะขัด มีหนองไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ ระยะแรกๆอาจมีมูกใสๆ เล็กน้อย ต่อมามูกใสๆจะกลายเป็นหนองสีเหลืองข้น บางรายมีอาการปวดและบวมที่อัณฑะ การอักเสบบริเวณหนังหุ้มปลายองคชาต
  • อาการหนองในสำหรับเพศหญิง จะมีอาการตกขาวผิดปกติ ลักษณะเป็นหนองสีเหลืองหรือสีเขียว มีกลิ่นเหม็น มีอาการแสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่น ปวดท้องน้อย เลือดออกกะปริดกะปรอยในระหว่างมีรอบเดือน มีการอักเสบของมดลูก มีไข้สูง หนาวสั่น ปวด เจ็บตรงท้องน้อย
  • อาการทั่วไปของโรคหนองใน เป็นอาการที่แสดงในทุกเพศที่มีภาวะติดเชื้อหนองใน คือ มีอาการเจ็บคอ มีไข้ ปวดหน่วง น้ำหนองออกมาเวลาปัสสาวะ อาจติดเชื้อที่เยื่อบุตา ระคายเคืองตา มีหนองไหลออกจากตา อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบบวม และเจ็บ

โรคหนองในจำเป็นต้องได้รับการรักษา หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เสียชีวิตได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองใน

โรคหนองในนอกจากการรักษาภาวะการเกิดโรคแล้ว หากปล่อยไว้ไม่รักษาหรือรักษาช้าเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนแบ่งได้ตามการแสดงอาการของเพศต่างๆ ดังนี้

  • ภาวะแทรกซ้อนในเพศชาย เชื้อหนองในอาจลุกลามเข้าไปยังบริเวณใกล้เคียง ทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ ท่อปัสสาวะตีบตัน อาจทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นฝีที่ผนังของท่อปัสสาวะ ทำให้มีบุตรได้ยากหรือกลายเป็นหมันได้
  • ภาวะแทรกซ็อนในเพศหญิง เชื้อหนองในอาจลุกลามทำให้ต่อมบาร์โทลิน ( Bartholine’s gland ) ทำให้เยื่อบุมดลูกอักเสบ  ปีกมดลูกอักเสบ ท่อรังไข่ตีบตันกลายเป็นหมัน ทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
  • สำหรับอาการแทรกซ้อนที่สามารถเกิดได้ทั้งสองเพศ คือ เชื้อโรคอาจเข้าสู่กระแสเลือดที่ข้อกระดูก ทำให้เป็นโรคข้ออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ ทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว และ หัวใจวาย

การรักษาโรคหนองใน

แนวทางการรักษาโรคหนองในในปัจจุบัน สามารถรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งผลการรักษาค่อนข้างได้ผลดี พบว่ามากกว่าร้อยละ 95 สามารถรักษาให้หายได้ แต่ควรรับการรักษาเร็วที่สุด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่จะตามมา ภายหลังการรักษาหากพบว่ามีอาหารอยู่ควรรีบพบแพทย์อีกครั้ง

นอกจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและ ต้องปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิต ปรับพฤติกรรมทางเพศ การรักษาความสะอาด การไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง และ หยุดกิจกรรมทางเพศทุกชนิดจนกว่าจะหายดี

การป้องกันโรคหนองใน

สำหรับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อโรคหนองในมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  • ผู้ที่ป่วยโรคนี้ ไม่แพร่เชื้อ หยุดกิจกรรมทางเพศทั้งหมด จนแน่ใจว่าหายดี
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอน ควรมีแค่คู่เดียว
  • หากเกิดอาการ แสบ ปัสสาวะขัด มีผื่นแดงที่อวัยวะเพศ ให้หยุดกิจกรรมทางเพศก่อน รีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา จนกว่าจะหายขาด
  • หากิจกรรมยามว่าง เพื่อไม่ให้หมกมุ่นเรื่องเพศมากจนเกินไป

มะเร็งต่อมลูกหมาก ชายที่อายุ 50 ปีขึ้นไปเสี่ยงสูง อาการปัสสาวะขัด แสบเวลาฉี่ ฉี่บ่อย สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากอะไร แนวทางการรักษา และ การป้องกันโรค มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคผู้ชาย โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate gland cancer ) คือ ภาวะการเกิดเซลล์มะเร็งที่ต่อมลูกหมาก เกิดกับอวัยวะของผู้ชาย อาการที่พบสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น ปัสสาวะขัด แสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ ตื่นกลางดึกเพื่อปัสสาวะอย่างเป็นประจำ ปัสสาวะไม่พุ่งอย่างปรกติ โรคมะเร็งชนิดนี้พบว่าเป็นอันดับสองรองจากโรคมะเร็งปอดในเพศชาย โดยเฉพาะในชายอายุมากตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปจะเป็นกลุ่มที่พบโรคนี้มาก

สำหรับต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย มีลักษณะคล้ายลูกเกาลัดเล็ก ๆ ทำหน้าที่ผลิตน้ำสำหรับหล่อเลี้ยงและลำเลียงอสุจิ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่เกิดจากความผิดปรกติของเซลล์ในต่อมลูกหมากขยายตับรวดกว่าปกติ จนเกิดเนื้องอกลุกลามไปยังเนื้อเยื่ออวัยวะรอบข้างของต่อมลูกหมาก ซึ่งมีปัจจัยของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้

  • กรรมพันธุ์ บุคคลที่มีญาติป่วยโรคนี้จะมีโอกาศป่วยมากกว่าบุคคลทั่วไปถึงสามเท่า
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะที่มีไขมันสูง มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น
  • อายุ จากสถิติพบว่าเมื่อเพศชายอายุ 50 ปีขึ้นไปมีโอกาสเกิดโรคสูง

ระยะของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มี 4 ระยะของโรคเหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ โดยระยะของมะเร็งต่อมลูกหมากจะกำหนดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง และการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะร่างกาย โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แบ่งออกเป็น 4 ระยะ มีดังนี้

  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มแรก พบว่าเกิดเซลล์มะเร็งเฉพาะต่อมลูกหมากเพียงกลีบเดียว ก้อนมะเร็งขนาดเล็ก คลำผ่านทางทวารหนักไม่พบ อัตราการรอดชีวิต 80-90% และไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 2 ระยะนี้เซลล์มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย ก้อนมะเร็งใหญ่ขึ้น คลำผ่านทางทวารหนักพบ ยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถพบได้ทั้งสองกลีบของต่อมลูกหมาก อัตราการรอดชีวิต 60-70%
  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ระยะที่ 3 ระยะนี้เซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายสู่นอกต่อมลูกหมาก ซึ่งอาจลุกลามเข้าท่อน้ำเชื้อ อัตราการรอดชีวิต 50%
  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 4 ระยะนี้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลืองและกระดูก ระบบเลือด อัตราการรอดชีวิต  20-50%

อาการโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับอาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะแสดงอาการผิดปรกติที่ระบบการสืบพันธ์และท่อปัสสาสะ เช่น ปัสสาวะขัด มีอาการแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย ตื่นกลางดึกเพื่อปัสสาวะเป็นประจำ และ ปัสสาวะไม่เป็นลำผิดปกติ ไม่พุ่งออกมา ซึ่งนอกจากนั้นจะเป็นอาการผิดปรกติของร่างกาย ซึ่งอาการจะมากขึ้นตามระยะของการเกิดโรค อาการอื่นๆของมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถสังเกตุได้ดังนี้

  • น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ร่างกายบวม โดยเฉพาะส่วนล่างลงไป
  • ขาอ่อนล้า
  • มีอาการท้องผูก
  • อ่อนแรง
  • เจ็บบริเวณเชิงกราน ปวดหลังส่วนล่าง

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

แนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองโรคที่แม่นยำมากพอ ส่วนมากจะเป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยาในรายที่ต้องสงสัย ร่วมกับการตรวจเลือดเพื่อดูค่ามะเร็ง อยู่ที่การพิจารณาขอแพทย์และความสบายใจของผู้ป่วยและญาติ สามารถวินิจฉัยจากอาการผิดปรกติของร่างกาย การตรวจเลือด การตรวจ X-ray ต่อมลูกหมาก การทำ MRI และ การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถทำได้ด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด และ การรักษาด้วยฮอร์โทร ซึ่งปัจจัยแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับ ตำแหน่ง ขนาด ระยะของเซลล์มะเร็ง สภาพร่างกายและจิตใจ ของผํู้ป่วย การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้

  • การผ่าตัด สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง ( laparoscopic radical prostatectomy) และ การผ่าตัดโดยใช้แขนกลช่วยผ่าตัด (robotic–assisted da Vinci surgery หรือ da Vinci® prostatectomy)
  • รังสีรักษา โดยการฝังแร่ที่ต่อมลูกหมาก การรักษาด้วยการฉายรังสีขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากลักษณะใด
  • การให้ยาเคมีบำบัด เพื่อไม่ให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต ซึ่งปัจจุบันทางแพทย์ก็มีวิธีบรรเทาอาการไม่พึงประสงค์ซึ่งเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยาได้
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน เป็นการรักษาเพิ่มเติมหลังการผ่าตัด กำจัดการสร้างฮอร์โมนเพศชายด้วยการใช้ยาต้านฮอร์โมน

การป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การลดปัจจัยเสียที่สามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากมีความผิดรกติของร่างกายให้ปรึกษาแพทย์

 

มะเร็งต่อมลูกหมาก โรคในเพศชายที่อายุ 50 ปีขึ้นไป อาการปัสสาวะขัด แสบเวลาฉี่ ฉี่บ่อย เป็นอาการเบื้องต้นของโรคนี้ สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากอะไร แนวทางการรักษา และ การป้องกันโรค

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้
คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
เห็ดเข็มทอง สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของเห็ดเข็มทอง
เห็ดเข็มทอง
ฟักแม้ว มะระหวาน สมุนไพร พืชสวนครัว
ฟักแม้ว
กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา สมุนไพรไทย
กระเพรา
ผักตำลึง สมุนไพร พืชสวนครัว ตำลึง
ผักตำลึง
สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร