อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง รักษาและป้องกันได้หรือไม่ เยื่อบุหัวใจอักเสบ โรคหัวใจอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด

เยื่อบุหัวใจอักเสบ ( Infective endocarditis ) คือ ภาวะเนื้อเยื่อบุหัวใจอักเสบ จากการติดเชื้อโรคที่หัวใจและลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อต่างๆ มีไข้สูง หนาวสั่น มีผื่นแดงตามแขนขา ปวดหลังและปัสสาวะเป็นเลือด

ผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหัวใจที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคนี้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจรูมาติก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม จำเป็นต้องเฝ้าระวังการเกิดโรคนี้

ประเภทของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับโรคนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ และ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสพบได้มากขึ้น กลุ่มเสี่ยงคือเพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป
  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ พบน้อยมากและการวินิจฉัยโรคจะทำได้ยากมาก ส่วนมากจะเสียชีวิตและจะทราบหลังจากการเสียชีวิต โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ทั้งชายและหญิง

สาเหตุการเกิดโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

การติดเชื้อแบคทีเรียรวมถึงเชื้อโรคอื่นๆ หากปล่อยให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เลือดเสียไหลเวียนเข้าถึงหัวใจ สามารถทำให้เกิดภาวะเยื่อบุหัวใจ หรือ ลิ้นหัวใจ อักเสบได้ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน ซึ่งกลุ่มคนที่ต้องเฝ้าระวังโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • ผู้ป่วยลิ้นหัวใจผิดปกติ
  • ผู้ป่วยที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม
  • กลุ่มคนที่มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิด
  • กลุ่มคนที่มีการใส่เครื่องมือทางการแพทย์เข้าไปที่หัวใจ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ( Pacemaker )

อาการผู้ป่วยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ 

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อในเลือด เมื่อเลือดเสียสูบฉีดไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกายทำให้เกิดอาการอักเสบทั่วร่างกาย และแสดงออกในทุกอวัยะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ รายละเอียด ดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • ลักษณะของสีผิวซีดเซียว
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร เบื่ออาหาร
  • ผอม หรือ น้ำหนักตัวลดมาก
  • มีอาการปวดทั่วร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และ ปวดตามข้อกระดูก
  • มีไข้สูง ร่วมกับอาการหนาวสั่น
  • ผิวหนังผิดปรกติ มีผื่นแดงขึ้นตามแขนขา
  • ปัสสาวะผิดปรกติ โดย ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด

แนวทางการวินิจฉัยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะสังเกตุจากอาการผิดปรกติของร่างกาย การตรวจร่างกาย ซักประวัติการรักษาโรค การเพาะเชื้อจากเลือดในรายที่ป่วยเป็นชนิดที่มาจากการติดเชื้อ การอัลตราซาวด์หัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อโรค การวินิจฉัยโรคค่อนข้างยาก อาจจะทราบสาเหตุของโรคหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต จากการชันสูตรศพ

การรักษาโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรค เนื่องจากสาเหตุของโรคมาจากการติดเชื้อโรคในกระแสเลือด การให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือด รวมกับการรักษาโดยการประคับประครองอาการอื่นของโรคตามอาการ จึงเป็นแนวทางการรักษาโรคนี้ และ ให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายหลังจากการฆ่าเชื้อโรคในกระแสเลือด จึงเป็นแนวทางการรักษาที่ดีที่สุด

การป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะการเกิดเยื้อบุหัวใจอักเสบ สามารถป้องกันได้จากการป้องกันการติดเชื้อโรค ไม่ใหเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • หมั่นดูแลสุขอนามัยพื้นฐาน ให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวสะอาด และ หลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บต่างๆ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ไม่เสพสารเสพติด ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มสุรา

เยื่อบุหัวใจอักเสบ อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง แนวทางการรักษาโรคนี้ทำอย่างไร และ สามารถป้องกันได้หรือไม่ 

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกร้ายที่กระเพาะปัสสาวะ อาการปวดหลังเหมือนปวดไต ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะมีเลือดปน มะเร็งกระเพาะปัสสาวะรักษาและป้องกันการเกิดโรคอย่างไรมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ ฉี่เป็นเลือด

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Urinary bladder cancer ) โรคมะเร็งที่เกิดกับกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากความผิดปกติของการแบ่งเซลล์ที่เนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะจนเกิดเป็นก้อนเนื้อ ขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจนเต็มกระเพาะปัสสาวะ และ ลุกลามไปอวัยวะอื่นๆ ทางต่อมน้ำเหลืองและกระแสโลหิต ซึ่งกระเพาะปัสสาวะทำหน้าที่กักเก็บน้ำสำหรับขับถ่ายออกจากร่างกาย ร่างกายมนุษย์สามารถเก็บน้ำสำหรับขับถ่ายได้ไม่เกิน 300 ซีซี โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเกิดในประชากรไทยบ่อย พบติดหนึ่งในสิบของมะเร็งในคนไทย พบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับ สาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่สารมารถทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ แต่เราสามารถระบุปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ มีดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีประวัติคนในครอบครัวมีประวัตโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคสูงกว่ากลุ่มคนทั่วไป
  • การมีพยาธิใบไม้ในเลือด ซึ่งพยาธิใบไม้จะวางไข่ในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคือง
  • การสูบบุหรี่
  • การสัมผัสสารเคมีต่างๆ เช่น สีย้อมผ้า เคมีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยาง และ อุตสาหกรรมสายไฟฟ้า
  • การรับการรักษาโรคด้วยการทำเคมีบำบัด

อาการโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะแสดงอาการผิดปรกติที่ไต ระบบการปัสสาวะ เช่น แสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะมีเลือด และ ปวดหลังบริิเวณไต ซึ่งอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆตามระยะของการเกิดดชโรค ซึ่งอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถสังเกตุอาการเบื้องต้น ได้ดังนี้

  • มีอาการปวดหลัง ลักษณะคล้ายอาการปวดของผู้ป่วยโรคไต
  • เจ็บท้อง โดย เจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • ระบบปัสสาวะผิดปรกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย แสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะมีเลืิอดปน เป็นต้น  

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับ โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งระยะของโรคมะเร็งชนิดนี้ ได้ 4 ระยะ เหมือนโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ รายละเอียดดังนี้

  1. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะแรก เกิดเซลล์ก้อนเนื้อขนาดเล็ก เฉพาะที่เยื่อบุผนังกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะแรก อยู่ที่ร้อยละ 80
  2. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่สอง เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามมายังกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะที่สองอยู่ที่ร้อยละ 70
  3. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่สาม เซลล์มะเร็งเกิดการลุกลามมายังเนื้อเยื่อรอบๆอวัยวะของกระเพาะปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมาก ช่องคลอด เป็นต้น ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะที่สามอยู่ที่ร้อยละ 20 ถึง 60
  4. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็ง ลุกลามไปทั่วช่องท้อง รวมถึง ต่อมน้ำเหลือง ปอด และ กระดูก ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายไม่ถึงร้อยละ 20

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ไม่มีการตรวจคัดกรอง เพราะ ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะเกิดระยะของโรคที่รุนแรง แนวทางการวินิจฉัยโรค สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เริ่มจา การตรวจประวัติการรักษา ประวัติพันธุกรรม การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด CT scan หรือ MRI ช่องท้อง การตรวจกระดูก เป็นต้น

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับแนวทางการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ต้องใช้หลายวิธีร่วมกันในการรักษา เช้น การผ่าตัด การฉายรังสี และ การรักษาด้วยเคมีบำบัด โดยรายละเอียดการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีดังนี้

  • การจี้กระแสไฟฟ้าที่กระเพาะปัสสาวะ วิธีรักษาแบบนี้ใช้เครื่องมือพิเศษ ซึ่งต้องรักษาร่วมกับการใช้เคมีบำบัด
  • การผ่าตัด โดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะออก
  • การฉายรังสี ใช้รังสีฉายทั้งก่อนและหลังผ่าตัด เพื่อให้เซลล์มะเร็งหยุดการเจริญเติบโต
  • การใช้เคมีบำบัด เป็นยารับประทานเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง วิธีนี้สามารถทำได้ในผู้ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรง และ การรักษาด้วยวิธีนี้มีผลข้างเคียงต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เม็ดเลือดขาวต่ำ เลือดออกง่าย เป็นต้น

การป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นเรื่องยาก เนื่องจากโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การป้องกันปัจจัยเสี่ยงของโรคที่สามารถควบคุมได้ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • งดสูบบุหรี่
  • เลิกดื่มสุรา
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีต่างๆ
  • หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำปี

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งที่เกิดกับกระเพาะปัสสาวะ อาการปวดหลังเหมือนปวดไต ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะมีเลือดปน มะเร็งกระเพาะปัสสาวะรักษาอย่างไร แนวทางการป้องกันการเกิดโรค

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้
คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
เห็ดเข็มทอง สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของเห็ดเข็มทอง
เห็ดเข็มทอง
ฟักแม้ว มะระหวาน สมุนไพร พืชสวนครัว
ฟักแม้ว
กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา สมุนไพรไทย
กระเพรา
ผักตำลึง สมุนไพร พืชสวนครัว ตำลึง
ผักตำลึง
สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร