ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมใช้ใบมาทำน้ำใบย่านาง ลักษณะของต้นย่างนาง ประโยชน์และสรรพคุณ เช่น ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด โทษของย่างนาง

ย่านาง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นย่านาง ชื่อสามัญ คือ Bamboo grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra (Colebr.) Diels สำหรับต้นย่านางมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ตามพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตามป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ต้นย่านางขยายพันธ์ง่าย โดยการปักชำ แตกหน่อ หรือ การเพาะเมล็ด เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางสดๆ ขนาด 100 กรัม พบว่าใบย่ายางขนาด 100 กรัมให้พลังงานมากถึง 95 กิโลแคลอรี

ใบย่านางขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม  ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ใบย่านางขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 141 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง พืชล้มลุก เป็นเถาไม้เลื้อย ปลูกง่าย พบได้ตามพื้นที่ชุ่มชื้น ของป่าต่างๆ ทั้ง ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ การขยายพันธ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ด หรือ แตกหน่อ ลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว สีเขียว เป็นเถา ลำต้นย่านางเกี่ยวพันกับไม้อื่น และ เถาแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวเข้ม ลำต้นผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง รากของย่านางลักษณะเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว เป็นมัน ในออกจากลำต้นเรียงสลับกัน
  • ดอกของย่านาง ดอกย่านางออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ดอกออกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก สีเหลือง ดอกของย่างน่างจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
  • ผลของย่านาง ลักษณะกลมรี สีเขียว มีขนาดเล็ก ผลแก่ของย่านาง สีเหลืองอมแดง มีเมล็ดด้านใน ลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

ประโยชน์ของใบย่านาง

ต้นย่างนางเป็นพืชที่ให้ออกซิเจนสูง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีมลพิษสุง เพราะ ต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์ของย่านาง นิยมนำมาทำอาหาร ใบย่านาง เป็นส่วนประกอบของอาหาร ทำน้ำใบย่านาง

ใบย่านาง ทำให้ผมดกดำ ช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ย่านางนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

การใช้ประโยชน์จากต้นย่านาง สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก รากย่านาง และ ใบย่านาง โดยรายละเอียดของสรรพคุณของย่านาง มีดังนี้

  • รากย่านาง พืชมีรสขม สรรพคุณของรากย่านาง รักษาไข้ แก้ไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ช่วยขับพิษต่างๆ
  • ใบยางนาง พืชมีรสขม สรรพคุณช่วยรักษาอาการไข้ ช่วยชะลอวัย เป็นยาอายุวัฒนะ สร้างภูมิต้านทานโรคให้ร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง ลดความอ้วน ช่วยปรับสมดุลย์ร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการเวียนหัว ป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด แก้ปวดตามตัว แก้ปวดกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ บำรุงสายตา ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง น้ำสมุนไพร แต่ใบย่านางกลิ่นแรง กินยาก การทำน้ำใบย่างนาง หากไม่ปรุงรส อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนการกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง
  • การดื่มน้ำใบย่านาง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ควรดื่มมากเกินไป
  • น้ำใบย่านาง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง
  • การกินอาหารเสริมจากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด

ผักโขม amaranth มักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผัก ป๊อบอายใช้เพิ่มพลัง มีโปรตีนสูงและมีกรดอะมิโนครบทุกชนิด เหมาะกับกินมังสวิรัติ มีวิตามินเอ บี6 ซี ไรโบฟลาวิน โฟเลต

ผักโขม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ผักโขม ( Amaranth ) เป็นผักสวนครัว นิยมนำผักโขมมารับประทานเป็นผักสด หรือ ลวกกินกับน้ำพริก ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักโขม คือ Amaranthus blitum subsp. oleraceus (L.) Costea ชื่อเรียกอื่นๆของผักโขม เช่น ผักโหม ผักหม ผักโหมเกลี้ยง กระเหม่อลอเตอ เป็นต้น

สายพันธุ์ของผักโขม ที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารมีผักโขม 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย ผักโขมบ้าน ผักโขมสวน ผักโขมหัด ผักโขมหนาม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักโขมบ้าน ลักษณะใบกลมเล็ก มีลำต้นเล็ก ก้านของใบเป็นสีแดง ใบสีเขียวเหลือบแดง มีสรรพคุณในการแก้คันได้เป็นอย่างดี นำมาต้มเอาน้ำมาอาบ สามารถนำมาใช้ ลดไข้ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ
  • ผักโขมจีน ลักษณะต้นใหญ่ ใบสีเขียว หยัก มีกลิ่นฉุน
  • ผักโขมสวน ลักษณะใบสีเขียว แกนกลางของใบเป็นสีแดง
  • ผักโขมหนาม ลักษณะลำต้นสูง ใบใหญ่ มีหนาม ตามช่อของดอก หากจะนำผักโขมมาทำอาหารให้ใช้ยอดอ่อน ผักโขมสามารถ นำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ตกเลือด แก้หนองใน แก้แน่นท้อง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำนม ลดไข้ แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าของเด็ก

คุณค่าทางอาหารของผักโขม

สำหรับการศึกษาประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของผักโขม นั้น นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของผักโขม โดยศึกษาผักโขมขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 23 กิโลแคลลอรี่

สารอาหารสำคัญในผักโขม ขนาด 100 กรัม ประกอบด้วย ไขมัน ร้อยละ 4 โซเดียม ร้อยละ 3 โพแทสเซียม 558 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 3.6 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม น้ำตาล 0.4 กรัม โปรตีน 2.9 กรัม วิตามินเอ1 ร้อยละ 88 วิตามินซี ร้อยละ 47 แคลเซียม ร้อยละ 10 ธาตุเหล็ก ร้อยละ 15 วิตามินบี 6 ร้อยละ 10 ธาตุแมกนีเซียม ร้อยละ 20 สารไทอามิน ร้อยละ 5 สารไรโบพลาวิน ร้อยละ 11 สารไนอาซิน ร้อยละ 4 วิตามินอี ร้อยละ 7  วิตามินเค ร้อยละ 4 ซิงค์ ร้อยละ 4 และ ธาตุฟอสฟอรัส ร้อยละ 5

ลักษณะของต้นผักโขม

ผักโขม พื้ชล้มลุก ขนาดเล็ก เป็นไม้พุ่มเตี้ย อานุของผักโขมเพียงหนึ่งปี ผักโขม จัดเป็นพืชสวนครัว เป็นผักที่ขึ้นตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ริมทาง ป่าละเมาะ ป่ารกร้าง เทือกสวนไร่ชาวนา เป็นต้น เป็นพืชที่ขึ้นและเติบโตได้ง่าย

  • ลำต้นของผักโขม สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นอวบน้ำ สีเขียว ตั้งตรง โคนต้นมีสีแดงน้ำตาล
  • ใบของผักโขม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปทรงคล้ายสามเหลี่ยม ผิวใบเรียบ ใบมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ
  • ดอกของผักโขม ผักโขมออกดอกเป็นช่อ สีม่วงปนเขียว ดอกผักโขมออกตามซอกใบ และ ดอกออกปลายกิ่ง
  • เมล็ดผักโขม มีลักษณะกลม สีน้ำตาลดำ ขนาดเล็ก

สรรพคุณของผักโขม

ผักโขม มีคุณค่าทางอาหารสูง มีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สรรพคุณของผักโขม เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง บำรุงผิว ลดไขมันในเลือด ลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด เบต้าแคโรทีน สารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ลักษณะของผักโขมที่มีประโยชน์ คือ

  1. ผักโขมมีสารซาโปนิน ( Saponin ) สรรพคุณช่วยลดคอเรสเตอรอล ลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด ช่วยกำจัดสารพิษในร่างกาย ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ เป็นยาอายุวัฒนะ
  2. ผักโขมมีเบต้าแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง ป้องกันมะเร็งปอดและมะเร็งเต้านมได้
  3. ผักขมมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา
  4. ผักโขมมีวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงผิว และ บำรุงเหงือกและฟัน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  5. ผักโขมมีกากใยอาหารสูง บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยเรื่องการขับถ่ายได้ดี ลดการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร

โทษของผักโขม

การบริโภคผักโขม ข้อควรระวังในการบริโภคผักโขม อยู่บ้าง การกินผักโขมในปริมาณที่เหมาะสม จะดที่สุดจากการวิจัยผักโขม พบว่าผักโขมทำให้ร่างกายมีปริมาณของสารออกซาเลท หรือ กรดออกซาลิค อาจเป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ได้

ผักโขม ( Amaranth ) คือ พืชล้มลุก ผักพื้นบ้าน พืชพื้นบ้าน สมุนไพรไทย ลักษณะของผักโขมเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักโขม ช่วยบำรุงสายตา ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงผิว โทษของผักโขม มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-10. สืบค้นเมื่อ 2012-08-25.
  • รักษ์ พฤษชาติ,ผักพื้นบ้าน ครบเครื่องเรื่องผักพื้นบ้าน ทั้งการปลูกและการตลาด,สำนักพิมพ์ นีออน บุ๊ค มีเดีย,พิมพ์ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553
  • “ผักโขม”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-07. สืบค้นเมื่อ 2012-08-25.
  • “ป๊อปอายไม่ได้กินผักโขมนะจะบอกให้! – OpenRice TH Editor”. OpenRice ไทย.
  • แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ,ผักพื้นบ้านภาคกลาง,บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด,พิมพ์ครั้งที่ 2 สิงหาคม 2547
  • หมอชาวบ้าน ผักโขม
  • อมรทิพย์ วงศ์สารสิน และ อัญชลี จาละ. 2554. สารอัลลีโลเคมิคอลจากผักโขมที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพริก. การประชุมวิชาการทางพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 5 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2554 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย