ฟักข้าว พืชท้องถิ่น ผลฟักข้าวนิยมรับประทาน ต้นฟักข้าวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน โทษของฟักข้าว มีอะไรบ้างฟักข้าว สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นฟักข้าว ( Baby jackfruit ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของฟักข้าว คือ Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng. สำหรับชื่อเรียกอื่น ๆของฟักข้าว คือ มะข้าว ขี้กาเครือ พุกู้ต๊ะ ผักข้าว เป็นต้น จัดเป็นพืชตระกูลแตง นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน

ฟักข้าวในประเทศไทย

ประเทศไทยนิยมใช้ผลอ่อนฟักข้าว สีเขียว นำมาทำอาหารรับประทาน เนื้อผลอ่อนฟักข้าวคล้ายมะละกอ โดยนำมาลวก ต้ม จิ้มกับน้ำพริก หรือ ใส่แกง ยอดอ่อนฟักข้าว นำมารับประทานเป็นผักสด มีการศึกษาฟักข้าวในการวิจัยหลากหลาย พบว่า เยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุกฟักข้าว มีประโยชน์ทางโภชนาการสูง เนื่องจากเป็นส่วนที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมภูมิต้านทานดรค ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และ โรคมะเร็ง ต่างๆ เช่น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นต้น

ลักษณะของต้นฟักข้าว

ต้นฟักข้าว คือ พืชท้องถิ่นของ ประเทศจีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ บังกลาเทศ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะ เมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นฟักข้าว มีดังนี้

  • ลำต้นของฟักข้าว เป็นลักษณะเถา ไม้เลื้อย เป็นพืชล้มลุกอายุยืนยาว คล้ายต้นตำลึง เถาฟักข้าวจะเลื้อยได้ทั้งบนพื้นและตามพื้นที่ต่างๆ เนื้อลำต้นอ่อน ชุ่มน้ำ
  • ใบฟักข้าว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบคล้างใบโพธิ์ ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ใบสีเขียว
  • ดอกฟักข้าว ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ คล้ายกับดอกตำลึง กลีบดอกสีขาวอมเหลือง
  • ผลฟักข้าว ลักษณะกลมรี เปลือกผลเป็นหนามเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกจะมีสีส้มอม ภายในผลมีเนื้อผลคล้ายผลมะละกอ ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดฟักข้าว ลักษณะรีปลายเมล็ดแหลมทั้งสองด้าน เมล็ดสีน้ำตาล คล้ายเมล็ดแตง

คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว

สำหรับฟักข้าว นิยมรับประทานผลดิบและผลสุก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลดิบฟักข้าว มีรายละเอียดดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลดิบฟักข้าว ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1 กรัม น้ำตาล 1.8 กรัม โปรตีน 0.98 กรัม มีวิตามินซี 0.04 มิลลิกรัม บีต้าแคโรทีน 91 มิลลิกรัม แคลเซียม 0.34 มิลลิกรัม บีตาแคโรทีน และ ไลโคพีน เป็นต้น

สรรพคุณของฟักข้าว

สำหรับต้นฟักข้าว สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผลฟักข้าว เมล็ดฟักข้าว ยอดอ่อนฟักข้าว รากฟักข้าว และ ใบฟักข้าว รายละเอียดของ สรรพคุณฟักข้าว มีดังนี้

  • รากฟักข้าว สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดตามข้อกระดูก
  • ใบฟักข้าว สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้ริดสีดวง แก้ปวดหลัง แก้กระดูกเดาะ ถอนพิษอักเสบ ช่วยแก้พิษฝี แก้ฝีมะม่วง ช่วยแก้หูด
  • ผลอ่อนฟักข้าว สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน
  • ยอดอ่อนฟักข้าว สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน
  • เมล็ดฟักข้าว สรรพคุณบำรุงปอด แก้ฝีในปอด แก้ท่อน้ำดีอุดตัน ช่วยขับปัสสาวะ แก้อักเสบบวม รักษากลากเกลื้อน รักษาโรคผิวหนัง รักษาฟกช้ำ

โทษของฟักข้าว

เมล็ดดิบของฟักข้าวมีความเป็นพิษ รสขม หากรับประทานเข้าไป ทำให้อาเจียน และ เวียนหัว หากรับประทานมากเกินไป เป็นอันตรายถึงชีวิต

ตำลึง นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพรพื้นบ้าน ต้นตำลึงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง สรรพคุณของตำลึง เช่น บำรุงสายตา บำรุงเลือด โทษของตำลึง มีอะไรบ้าง

ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นตำลึง ( Ivy gourd ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตำลึง คือ Coccinia grandis (L.) Voigt ชื่อเรียกอื่นๆของตำลึง เช่น สี่บาท , ผักแคบ , ผักตำนิน , แคเด๊าะ เป็นต้น ต้นตำลึง เป็นพืชตระกูลแตง สำหรับอาหารไทย นิยมนำตำลึงมาทำอาหาร หลายเมนู เช่น แกงจืดผักตำลึง แกงเผ็ด แกงคั่ว แกงเขียวหวาน เป็นต้น

ลักษณะของต้นตำลึง

ต้นตำลึง จัดเป็นพืชล้มลุก ไม้เลื้อย ต้นตำลึงจะทอดยาวเกาะตามเสา รั้วบ้าน เกาะตามหลัก ต้นไม้ เป็นต้น สามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดพันธ์ หรือ การปักชำ ลัก ษณะของต้นตำลึง มีดังนี้

  • ลำต้นของตำลึง เป็นลักษณะเถาไม้เลื้อย ทอดยาวเกาะตามหลักต่างๆ เปลือกของลำต้นอ่อน มีสีเขียว เปลือกแก่จะมีสีน้ำตาลอ่อน
  • ใบของตำลึง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบคลายรูปหัวใจ ใบออกมาตามข้อของลำต้น ใบมีสีเขียวใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่ขนาดใหญ่สีเขียวเข้ม
  • ดอกของตำลึง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ คล้ายรูประฆัง ดอกมีสีขาว
  • ผลของตำลึง คลายแตงกวา มีขนาดเล็ก ผลเป็นทรงรียาว สีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีแดง ข้างผลมีเมล็ด สามารถนำไปขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

สำหรับการรับประทานตำลึง นิยมนำใบอ่อนและยอดอ่อนของตำลึง นำมาทำอาหารรับประทาน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตำลึง มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง ขนาด 100 กรัม  ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ 18,608 IU วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 34 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 126 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 30 กรัม และ ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม สารเคมีสำคัญในตำลึงมีสารเอนไซม์อะไมเลสและเบต้าแคโรทีน ช่วยในการย่อยแป้ง

สรรพคุณของตำลึง

สำหรับประโยชน์ของตำลึงด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ใบตำลึง ลำต้นตำลึง และ รากตำลึง รายละเอียด ดังนี้

  • ใบตำลึง สรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมความเซลล์ในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงหัวใจ บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงน้ำนมแม่ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยดับพิษร้อน ลดความร้อนในร่างกาย  แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับพิษในลำไส้ แก้ท้องผูก ช่วยแก้ผดผื่นคัน รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาฝี รักษาแผลอักเสบ ป้องกันตะคริว
  • รากตำลึง สรรพคุณช่วยลดไข้  แก้อาเจียน บำรุงสายตา เป็นยาระบาย แก้อักเสบ รักษาแผลอักเสบ
  • ลำต้นตำลึง สรรพคุณแก้อาการวิงเวียนศีรษะ แก้อาการตาแดง ลดอาการตาช้ำ
  • ดอกตำลึง สรรพคุณแก้ผดผื่นคัน
  • เมล็ดตำลึง สรรพคุณแก้หิด

โทษของตำลึง

  • ตำลึงมีสรรพคุณเป็นยาเย็น หากนำน้ำตำลึงมาทาที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็น แปลว่า ไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที เพราะ จะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น
  • ตำลึง มีทั้ง ตำลึงตัวผู้ และ ตำลึงตัวเมีย ตำลึงตัวเมีย กินได้ไม่มีปัญหา ตำลึงตัวผู้ สำหรับคนที่ธาตุอ่อน อาจทำให้ท้องเสียได้

 

ตำลึง ผักพืนบ้าน นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพรพื้นบ้าน ลักษณะของต้นตำลึงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง สรรพคุณของตำลึง เช่น บำรุงสายตา บำรุงเลือด โทษของตำลึง มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย