หอมแดง สมุนไพร พืชเศรษฐกิจ ต้นหอมหัวแดงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของหอมแดง สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของหอมแดงมีอะไรบ้าง

หอมแดง สมุนไพร

หอมแดง เป็นพืชสำคัญในอาหารไทย อาหารไทยนิยมใช้หอมแดงนำมาทำอาหาร โดยเฉพาะในเครื่องแกงต่างๆ ประเทศไทยปลูกหอมหัวแดงมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคเหนือ หอมแดงที่มีคุณภาพดี คือ หอมแดงของศรีสะเกษ

สายพันธ์หอมแดง

สำหรับการปลูกหัวหอมในประเทศไทย นิยมปลูกหอมแดงอยู่ 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

  • หอมแดงพันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
  • หอมแดงพันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
  • หอมแดงพันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
  • หอมแดงพันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน

หอมแดง ( Shallot ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมแดง คือ Allium ascalonicum L. พืชตระกูลเดียวกันกับพลับพลึง ชื่อเรียกอื่นๆของหอมหัวแดง เช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น

ลักษณะของต้นหอมแดง

หอมแดง เป็นพืชล้มลุก สามารกเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ไม่ชอบน้ำ หัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ สามารถขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นหอมแดง มีดังนี้

  • ใบหอมแดง สำหรับใบจะแทงออกจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของในกลม ยาว สีเขียวใบอ่อนของหอมแดงสามารถนำมาบริโภคได้
  • หัวหอมแดง เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน เป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ ลักษณะของหัวหอมแดงกลม เนื้อในมีสีขาว เปลือกนอกสีแดง มีกลิ่นหอม
  • ลำต้นของหัวหอม อยู่ติดกับหัวหอมลำต้นเกิดจากหัวหอม เรียงอัดกันแน่น ถัดมาจึงเป็นส่วนของใบ
  • รากของหัวหอม เป็นระบบรากฝอย มีรากฝอยเป็นจำนวนมาก ลักษณะเป็นกระจุกรวมกันที่ก้นหัว และแพร่ลงดินลึกในระดับตื้นๆ

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง

หอมหัวแดง มีกลิ่นฉุ่นเป็นลักษณะเด่นของหอมแดง หัวหอมแดงมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง ซึ่งสารสำคัญ เช่น Ethanol , Acetonc , methyl Ethyl , Methyl Disulfide , Methyl , Methyl Trisulfide , Methyl I-propyl Trisulfide , I-propyl Trisulfide , Ketone , I-propanol , 2 – propanol , Methanol , I-butanol , Hydrogen Sulfidc , I-propanethiol , I-propyl Disulfide , Thioalkanal-S-oxide , di-n- propyl Disulfide , n- propyl-allyl Disulfide , Diallyl Disulfide , Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidc

น้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง รสขม มีความเผ็ดร้อน ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และ เป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยจากหอมแดง ช่วยลดไขมัน และ น้ำตาลในเลือด และยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของหัวหอมแดง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ และมีให้สารอาหารสำหคัณ ประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไทอามีน ไรโบฟลาวิน และ ไนอาซิน

หอมหัวแดง ขนาด 100 กรัม มีวิตามินสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินเอ และ วิตามินซี

สรรพคุณของหอมแดง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามาถใช้ประโยชน์จาก หัวหอมแดง ใบหอมแดง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ใบหอมแดง สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด คัดจมูก แก้กำเดาไหล แก้ฟกช้ำ
  • เมล๊ดหอมแดง สรรพคุณกินแก้เนื้อสัตว์เป็นพิษ
  • หัวหอมแดง สรรพคุณทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง ช่วยเสริมสร้างความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยเจริญธาตุไฟ ต่อต้านอนุมูลอิสระ แก้อาการวิงเวียนศีรษะหน้ามืด  ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ลดคอเลสเตอรอล ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แก้หวัดคัดจมูก รักษาโรคตา ขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้ปวดหู แก้อาการบวมน้ำ แก้อาการท้องเสีย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ป้องกันการติดเชื้อ แก้อาการอักเสบ ช่วยรักษาแผล ช่วยแก้อาการฟกช้ำ บรรเทาอาการคัน แก้พิษแมงมุมกัด ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย แก้อาการเมาค้าง แก้อาการสะอึก รักษาสิว รักษาฝ้า รักษากระ รักษาผิวจุดด่างดำ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

โทษของหอมแดง

สำหรับหอมแดงมีกลิ่นฉุนหอมเฉพาะตัว การนำมามำอาหารนิยมทำให้ร้อนก่อน หากกินสดๆ อาจมีกลิ่นฉุนมากเกินไป โทษของหอมแดง มีดังนี้

  • การกินหอมแดงมาก อาจจะทำให้ผมหงอก มีกลิ่นตัว ตาฝ้ามัว ฟันเสียได้
  • หัวหอมแดง ทำให้แสบตา แสบจมูก และ ผิวหนังระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อนได้ จึงไม่ควรทาใกล้บริเวณผิวที่บอบบาง
  • หอมแดงสด มีกลิ่นฉุน หากกินเข้าไป อาจทำให้อาเจียนได้

หอมแดง พืชเศรษฐกิจ พืชล้มลุก นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมหัวแดง คุณค่าทางโภชนากการของหอมแดง สรรพคุณของหอมแดง เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงสมอง บำรุงหัวใจ บำรุงเลือด โทษของหอมแดง มีอะไรบ้าง

กระชาย ขิงจีน สมุนไพรไทย ฉายา โสมไทย นิยมปลูกเพื่อนำมาทำอาหารรับประทาน คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย โทษของกระชายมีอะไรบ้างกระชาย สมุนไพร สรรพคุณของกระชาย

กระชาย พืชตระกูลขิง นิยมปลูกกันในประเทศจีนและประเทษเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระชาย ( Chinese ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น  ว่านพระอาทิตย์  กระชายดำ  กะแอน ขิงทราย ละแอน ขิงจีน เป็นต้น

ชนิดของกระชาย

สำหรับกระชาย ทีนิยมปลูกกัน มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษะณะของเนื้อหัวกระชายจะมีสีดำ รสเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม
  • กระชายเหลือง ลักษณะของกระชายเหลือง เนื้อด้านในของหัวกระชาย มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาทำอาหาร

ต้นกระชาย โดยทั่วไป มี3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู หัวของกระชาย สะสมสารอาหารมากมาย ส่วนนี้เรียกว่า นมกระชาย นำมาใช้เป็นเครื่องแกง คุณสมบัติช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี

กระชายที่นิยมนำมาใช้ทำอาหารรับประทาน คือ กระชายเหลือง และ กระชายดำ ปัจจุบันกระชายดำ กำลังเป็นที่นิยม ด้านสมุนไพรสรรพคุณด้านการบำรุงร่างกาย

ลักษณะของต้นกระชาย

ต้นกระชาย พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวทั้งต้น นิยมนำมาใช้เหง้า หรือ หัวกระชายมารับประทาน การขยายพันธุ์กระชาย ใช้การแตกหน่อ กระชายชอบดินที่ร่วนซุย และ ระบายน้ำได้ดี รายละเอียดของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย อยู่ใต้ดิน ลักษณะอวบ ทรงกระบอก ทรงไข่ค่อนข้างยาว ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เหง้ากระชายเป็นกระจุก ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อมีสีเหลือง กลิ่นหอม
  • ใบกระชาย เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะใบเป็นทรงรียาว ใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม
  • ดอกกระชาย กระชายออกดอกเป็นช่อ มีสีขาว หรือ สีขาวอมชมพูอ่อน ๆ ลักษณะเป็นรูปหอก
  • ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย

การใช้ประโยชน์จากกระชาย นิยมใช้เหง้ากระชายมาทำอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของเหง้ากระชายขนาด 100 กรัม พบว่ามี สารอาหารสำคัณ ประกอบด้วย ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว โซเดียม โพแทสเซียม คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร น้ำตาล โปรตีน วิตามินบี6 วิตามินซี แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม เป็นต้น

สรรพคุณของกระชาย

ประโยชน์ของกระชาย สามารถใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สำหรับสรรพคุณของกระชายส่วนต่างๆทั้ง ใบกระชาย หัวกระชาย รายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าของกระชาย มีรสเผ็ด ร้อน ขม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร

โทษของกระชาย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระชาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก และ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้ เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน
  • การกินกระชายในปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่น และ ภาวะใจสั่นได้
  • กระชาย มีผลต่อการทำงานของตับ ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก

กระชาย หรือ ขิงจีน พืชพื้นบ้าน สมุนไพรไทย ฉายา โสมไทย คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย สรรพคุณของกระชาย ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย โทษของกระชายมีอะไรบ้าง พืชสวนครัว พืชเศรษฐกิจ นิยมปลูกเพื่อนำมาทำอาหารรับประทาน

แหล่งอ้างอิง

  • “The Plant List: A Working List of All Plant Species”. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.
  • ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
  • “สำเนาที่เก็บถาวร”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-08-08.
  • กระชาย ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ลีนา ผู้พัฒนพงศ์ ,2530
  • คณะทำงานรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผักในโครงการหนูรักผักสีเขียว
  • ภานุทรรศน์,2543
  • กรรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข,2542
  • แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ,2541
  • พรพรรณ ,2543
  • อบเชย วงศ์ทอง ,2544
  • อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กทม. แม่บ้าน. มปป.หน้า 94
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย