กระชาย ขิงจีน สมุนไพรไทย ฉายา โสมไทย นิยมปลูกเพื่อนำมาทำอาหารรับประทาน คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย โทษของกระชายมีอะไรบ้างกระชาย สมุนไพร สรรพคุณของกระชาย

กระชาย พืชตระกูลขิง นิยมปลูกกันในประเทศจีนและประเทษเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระชาย ( Chinese ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น  ว่านพระอาทิตย์  กระชายดำ  กะแอน ขิงทราย ละแอน ขิงจีน เป็นต้น

ชนิดของกระชาย

สำหรับกระชาย ทีนิยมปลูกกัน มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษะณะของเนื้อหัวกระชายจะมีสีดำ รสเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม
  • กระชายเหลือง ลักษณะของกระชายเหลือง เนื้อด้านในของหัวกระชาย มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาทำอาหาร

ต้นกระชาย โดยทั่วไป มี3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู หัวของกระชาย สะสมสารอาหารมากมาย ส่วนนี้เรียกว่า นมกระชาย นำมาใช้เป็นเครื่องแกง คุณสมบัติช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี

กระชายที่นิยมนำมาใช้ทำอาหารรับประทาน คือ กระชายเหลือง และ กระชายดำ ปัจจุบันกระชายดำ กำลังเป็นที่นิยม ด้านสมุนไพรสรรพคุณด้านการบำรุงร่างกาย

ลักษณะของต้นกระชาย

ต้นกระชาย พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวทั้งต้น นิยมนำมาใช้เหง้า หรือ หัวกระชายมารับประทาน การขยายพันธุ์กระชาย ใช้การแตกหน่อ กระชายชอบดินที่ร่วนซุย และ ระบายน้ำได้ดี รายละเอียดของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย อยู่ใต้ดิน ลักษณะอวบ ทรงกระบอก ทรงไข่ค่อนข้างยาว ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เหง้ากระชายเป็นกระจุก ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อมีสีเหลือง กลิ่นหอม
  • ใบกระชาย เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะใบเป็นทรงรียาว ใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม
  • ดอกกระชาย กระชายออกดอกเป็นช่อ มีสีขาว หรือ สีขาวอมชมพูอ่อน ๆ ลักษณะเป็นรูปหอก
  • ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย

การใช้ประโยชน์จากกระชาย นิยมใช้เหง้ากระชายมาทำอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของเหง้ากระชายขนาด 100 กรัม พบว่ามี สารอาหารสำคัณ ประกอบด้วย ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว โซเดียม โพแทสเซียม คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร น้ำตาล โปรตีน วิตามินบี6 วิตามินซี แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม เป็นต้น

สรรพคุณของกระชาย

ประโยชน์ของกระชาย สามารถใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สำหรับสรรพคุณของกระชายส่วนต่างๆทั้ง ใบกระชาย หัวกระชาย รายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าของกระชาย มีรสเผ็ด ร้อน ขม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร

โทษของกระชาย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระชาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก และ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้ เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน
  • การกินกระชายในปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่น และ ภาวะใจสั่นได้
  • กระชาย มีผลต่อการทำงานของตับ ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก

กระชาย หรือ ขิงจีน พืชพื้นบ้าน สมุนไพรไทย ฉายา โสมไทย คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย สรรพคุณของกระชาย ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย โทษของกระชายมีอะไรบ้าง พืชสวนครัว พืชเศรษฐกิจ นิยมปลูกเพื่อนำมาทำอาหารรับประทาน

แหล่งอ้างอิง

  • “The Plant List: A Working List of All Plant Species”. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.
  • ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
  • “สำเนาที่เก็บถาวร”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-08-08.
  • กระชาย ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ลีนา ผู้พัฒนพงศ์ ,2530
  • คณะทำงานรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผักในโครงการหนูรักผักสีเขียว
  • ภานุทรรศน์,2543
  • กรรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข,2542
  • แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ,2541
  • พรพรรณ ,2543
  • อบเชย วงศ์ทอง ,2544
  • อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กทม. แม่บ้าน. มปป.หน้า 94

ผักชี สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมรับประทานเป็นอาหาร ต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี

ผักชี สมุนไพร

ผักชี ( Coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ต้นผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม ผักหอมน้อย เป็นต้น

ลักษณะของต้นผักชี

ผักชี จัดเป็นพืชประเภท พืชล้มลุก อายุสั้น ผักชีมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรีบย
  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เม็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักชี

การบริโภคผักชีเป็นอาหาร มีมาช้านานแล้ว และ เป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้านโภชนาการ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักชีสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 23 กิโลแคลอรี

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม น้ำ 92.21 กรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม  ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 67 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.77 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 46 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.5 มิลลิกรัม

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 วิตามินซี วิตามินอี และ วิตามินเค

ประโยชน์ของผักชี 

การใช้ประโยชนืจากผักชี นั้นหลักๆจะเป็นการนำเอามาทำอาหารรับประทานเป็นหลัก แต่นอกจากนำมาทำอาหาร ผักชี สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดของผักชี ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ต่างๆ

สรรพคุณของผักชี

ประโยชน์ของผักชีด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค สามารถใช้ได้ทุกส่วนของผักชี คือ รากผักชี ลำต้นผักชี ใบผักชี และ เมล็ดของผักชี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดผักชี สรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ปวดฟัน บำรุงกระเพาะอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร
  • ใบผักชี สรรพคุณบำรุงสายตา แก้กระหายน้ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ป้องกันมะเร็ง  ขับเสมหะ แก้สะอึก แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้เวียนหัว ขับเหงื่อ แก้หวัด แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม  รักษาอาหารเป็นพิษ ช่วยแก้พิษตานซาง รักษาตับอักเสบ รักษาโรคหัด ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ
  • รากผักชี สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ

โทษของผักชี

  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นตัวแรง
  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการตาลาย หรือ ขี้หลงขี้ลืม เนื่องจากอาการมึนหัว

ผักชี คือ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมปลูกตามครัวเรือน นำมารับประทานอาหาร ให้รสชาติและกลิ่นหอม ลักษณะของต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักชี ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับผักชีทั้งหมด

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย