กุยช่าย สมุนไพร นิยมนำใบมาบริโภคเป็นอาหาร ต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกุยช่าย เช่น ลดความดัน บำรุงกระดูก แก้ท้องเสีย โทษของกุยช่ายมีอะไรบ้างกุยช่าย สมุนไพร สมุนไพรไทย

กุยช่าย ( Chinese leek ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกุยช่าย คือ Allium tuberosum Rottler ex Spreng. พืชตระกูลพลับพลึง ชื่อเรียกอื่นๆของกุยช่าย เช่น ผักไม้กวาด ผักแป้น กูไฉ่ เป็นต้น

ชนิดของกุยช่าย

สำหรับต้นกุยช่ายในประเทศไทย ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาด มีอยู่ 3 ชนิด คือ กุยช่ายเขียว กุยช่ายขาว และ กุยช่ายดอก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • กุยช่ายเขียว คือ ใบของกุยช่าย ที่ตัดใบในระยะที่ใบเจริญเติบโตเต็มที่ ก่อนที่จะถึงระยะออกดอก นิยมนำมาใส่ผัดไท นำมาดอกผัก และ ใส่ในอาหาร เป็นต้น
  • กุยช่ายขาว คือ ใบของกุยช่าย ที่เกิดจากการนำวัสดุทิบแสงมาคลุมใบทำให้เกิดปฏิกริยา ทำให้ใบเป้นสีขาว เป็นใบในระยะเจริญเติบโตเต็มที่ ก่อนออกดอก
  • กุยช่ายดอก คือ ดอกของกุยช่ายที่เจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งมีทั้งส่วนของก้านดอกและดอก นำมาผัดทำอาหาร

ลักษณะของต้นกุยช่าย

ต้นกุยช่าย จัดเป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการใช้เมล็ดและการแตกกอ โดยลักษณะของต้นกุยช่าย มีลักษณะ ดังนี้

  • ต้นกุยช่าย ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีเหง้าเล็ก และ สามารถแตกกอได้
  • ใบกุยช่าย ลักษณะแบน ยาว ความยาวของใบกุยช่าย ประมาณ 30 เซนติเมตร มีสีเขียวเข้ม ใบออกมาจากโคนลำต้น
  • ดอกกุยช่าย เรียกอีกชื่อว่า ดอกไม้กวาด ดอกกุยช่ายออกเป็นช่อ มีสีขาว กลิ่นหอม ดอกมีลักษณะคล้ายซี่ร่ม ก้านดอกยาว ลักษณะกลม ออกมาจากลำต้น
  • ผลกุยช่าย มีลักษณะกลม ผลแก่จะแตกตามตะเข็บในผลของกุยช่ายจะมีเมล็ดช่องละ 1 – 2 เมล็ด
  • เมล็ดกุยช่าย มีสีน้ำตาล ผิวขรุขระ ลักษณะแบน

คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย

สำหรับการบริโภคกุยช่าย มีประโยชน์ต่อร่างกาย นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย มีดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของดอกกุยช่าย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม เบตาแคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 31 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของต้นกุยช่าย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม กากใยอาหาร 3.9 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม เบตาแคโรทีน 136.79 ไมโครกรีม ธาตุแคลเซียม 98 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.5 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบกุยช่าย มีสารเคมีสำคัญ คือ สารอัลลิซิน ( Alllicin ) สารชนิดนี้มีสรรพคุณ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  • สำหรับการศึกษาต้นกุยช่าย ด้านเภสัชวิทยา พบว่า น้ำที่คั้นจากต้นกุยช่าย เมื่อฉีดเข้าไปในเส้นเลือดของหนู พบว่าทำให้เกิดอาการเกร็ง และ คลุ้มคลั่ง หลังจากนั้นหนูก็สลบ และ เมื่อนำไปฉีดใส่กระต่าย พบว่าความดันโลหิตของกระต่ายลดลง ซึ่งในระยะแรกมีฤทธิ์ยับยั้งการเต้นของหัวใจ หลังจากนั้นมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือดเพียงเล็ก

สรรพคุณของกุยช่าย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกุยช่าย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบกุยช่าย รากกุยช่าย เมล็ดกุยช่าย ลำต้น โดยรายรายละเอียด ของสรรพคุณของกุยช่าย มีดังนี้

  • ใบกุยช่าย สรรพคุณช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาหลั่งเร็วในผู้ชาย ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต รักษาโรคหูน้ำหนวก ช่วยลดไข้แก้หวัด แก้อาเจียน ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้นิ่ว รักษาหนองใน บำรุงไต รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ปวด รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการฟกช้ำ รักษาแผลหนอง ช่วยประสะน้ำนม
  • รากกุยช่าย สรรพคุณช่วยแก้เลือดกำเดาไหล แก้อาเจียน การช่วยห้ามเหงื่อ ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดกุยช่าย สรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ป้องกันฟันผุ ช่วยขับพยาธิเส้นด้าย ช่วยขับพยาธิแส้ม้า ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับประจำเดือน
  • ทั้งต้นกุยช่าย สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยแก้นิ่ว แก้อาการตกขาว  รักษาหนองใน ช่วยขับน้ำนม

โทษของกุยช่าย

สำหรับการบิโภคกุยฉายในปริมาณที่มากเกินไป หรือ กินติดต่อกันนานเกินไป สามารถทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการรับประทานกุยช่าย มีดังนี้

  • การกินกุยช่ายมากเกิน ะทำให้อุณหภูมิร่างกายร้อนขึ้น ทำให้เป็นร้อนในได้
  • ไม่ควรกินกุยช่ายพร้อมกับเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจทำให้ความร้อนในร่างกายสูงเกินไป ทำให้เกิดอาการช็อคได้
  • กุยช่ายมีกากใยอาหารมาก ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วนเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เพราะจะทำให้ระบบลำไส้ทำงานหนักมากขึ้น
  • ผู้สูงอายุ ไม่ควรรับประทานประทานกุยช่าย เพราะ กุยช่ายมีปริมาณกากใยอาหารสูง ทำให้ย่อยยาก
  • กุยช่าย สรรพคุณช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ไม่ควรนำกุยช่ายถวายพระ

กุยช่าย พืชล้มลุก สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำใบมาบริโภคเป็นอาหาร ลักษณะของต้นกุยช่ายเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกุยช่าย เช่น ลดความดัน บำรุงกระดูก แก้ท้องเสีย โทษของกุยช่ายมีอะไรบ้าง

โหระพา สมุนไพร กลิ่นหอม นิยมนำใบโหระพามาทำอาหาร แต่งกลิ่น ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

โหระพา สมุนไพร

โหระพา ( Sweet basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของโหระพา คือ Ocimum basilicum L. จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นกะเพรา มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา ผักมีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารและแต่งกลิ่นอาหาร ผักพื้นบ้าน มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และ โหระพามีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โหระพาสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยได้ น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา อาจทำให้เกิดอาการแพ้กับสตรีมีตั้งครรภ์ได้

คุณค่าทางโภชนากการของโหระพา

ในโหระพามีประโยชน์ต่างๆมากมาย เป็นผักสวนครัวที่นิยมรับประทานใบสดเป็นอาหาร จึงมีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของโหระพาสดๆขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี่

  • มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก แมงกานีส โพแทสเซียม โซเดียม สังกะสี และ กากใยอาหาร
  • มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน
  • มีสารเคมีสำคัญประกอบด้วย Methyl chavicol มากถึงร้อยละ 90 และ Pinene β-Pinene β-Bourbonene β-Elemene β-Cubebene β-Caryophyllene β-Copaene β-Acoradiene Camphor Ocimene Eucalyptol Linalool Benzaldehyde Sabinene  Myrcene Cis-Hex-3-Enyl Acetate p-Cymene Limonene Eucalyptol  cis-Beta-Ocimene cis-Linalool Oxide trans-Linalool Oxide trans-Myroxide Neo-Allo-Ocimene Menth-2-en-1-ol Pinocarvone Terpinen-4-ol Endo Fenchyl Acetate Nerol Neral Geraniol Geranial Carvacrol Bicycloelemene Exo-2-Hydroxycineole Acetate Cubebene Geranyl Acetate Methyl Eugenol Trans-Alpha-ergamotene Cadina-3,5-Diene Epsilon-Muurolene Germacrene Bicylogermacrene

ลักษณะของต้นโหระพา

ต้นโหระพา สมุนไพรประเภทผักสวนครัว พืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทวีปเอเชีย และ ทวีปอาฟริกา โหระพาสามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และ การปักชำ รายละเอียดของต้นโพระพา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากและลำต้นโหระพา โหระพามีรากเป็นระบบรากแก้วและรากฝอย ลำต้นของโหระพา สีม่วงแดง ความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม อุ้มน้ำ เนื้อไม้อ่อน
  • ดอกโหระพา มีสีม่วง ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งดอกออกที่ปลายของยอดต้นโหระพา ในดอกมีเมล็ด
  • ใบโหระพา ใบสีเขียว ปลายใบแหลม ลักษณะใบเดี่ยว ออกตามข้อของกิ่ง
  • เมล็ดโหระพา มีขนาดเล็กๆ ลักษณะกลม สีน้ำตาลเข้ม เมล็ดโหระพามีเมือกหุ้มเมล็ดอยู่ หากนำมาแช่น้ำจะมีเมือกพองตัวเหมือนเมล็ดแมงลัก

ประโยชน์ของโหระพา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นโหระพา ใช้ประโยชน์โดยนำมากินเป็นอาหาร คุณสมบัติเด่นของโหระพา คือ มีกลิ่นหอม ใบโหระพาสามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยได้ นำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ความงาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ใบโหระพา สามารถสกัดทำน้ำมันหอมระเหยได้ ให้กลิ่นหอม นำมาใช้ในอุตสาหกรรมสำหรับแต่งกลิ่น น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม สบู่ เป็นต้น
  • ใบโหระพาสด นำมากินเป็นอาหาร นิยมใส่ในอาหารให้มีกลิ่นหอม

สรรพคุณต้นโหระพา

การใช้ประโยชน์ของโหระพา ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สามารถใช้ ใบโหระพา ลำต้นโหระพา เมล็ดโหระพา และ น้ำมันหอมระเหย โดยรายละเอีนด ดังนี้

  • เมล็ดของโหระพา สรรพคุณช่วยขับถ่าย ช่วยควบคุมน้ำหนัก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้
  • ใบและลำต้นของโหระพา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สรรพคุณแก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ขับลม ขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด ช่วยลดอาการอักเสบของแผล รักษาแผล ช่วยห้ามเลือด ช่วยให้ลดอาการปวด
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพา สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการเหนื่อยล้า แก้อาการกระตุก แก้จมูกอักเสบ ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย

โทษของโหระพา

ต้นโหระพา มีกลิ่นหอม สามารถนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพาได้ แต่น้ำมันหอมระเหยไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

ต้นโหระพา คือ พืชชนิดหนึ่งประเภทพืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน สมุนไพรมีกลิ่นหอม นิยมนำใบโหระพามาทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหารให้กลิ่นหอม ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา สรรพคุณของโหระพา เช่น ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย