หอมหัวใหญ่ พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร มีกลิ่นฉุน ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ ประโยชน์ สรรพคุณของหอมใหญ่ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจหอมหัวใหญ่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นหอมหัวใหญ่ ( Onion )  ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมหัวใหญ่ คือ Allium cepa L. ชื่อเรียกอื่นๅของหอมหัวใหญ่ เช่น หัวหอมใหญ่ หอมฝรั่ง หอมหัว เป็นต้น หอมหัวใหญ่ จัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับพับพลึง นิยมใช้ในการนำมาทำอาหาร ปรุงรสอาหารให้รสชาติ หอมหัวใหญ่ เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน เฉพาะตัว สรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มากมาย อุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามิน และสารเคมีต่างๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่

ต้นหอมหัวใหญ่ เป็นพืชหัวอยู่ใต้ดิน นิยมนำหัวมาบริโภค ถิ่นกำเนิดของหอมหัวใหญ่ อยู่ในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ แหล่งผลิตที่สำคัญของหอมหัวใหญ่ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และ ประเทศอินเดีย หอมใหญ่ สามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด ที่มีการระบายน้ำ และ อากาศได้ดี ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ต้นหอมหัวใหญ่ มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกบางๆ สีแดง ลำต้นหอมหัวใหญ่อยู่ใต้ดิน เรียกว่า หัวหอม มีกลีบสีขาวอวบน้ำซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หัวหอมใหญ่มีกลิ่นฉุน
  • ใบหอมหัวใหญ่ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบยาว กลม ออกเป็นกระจุก แทงออกมาจากหัว มีสีเขียว ใบมีกลิ่นฉุน
  • ดอกหอมหัวใหญ่ ลักษณะดอกหอมใหญ่ ออกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการชองหอมหัวใหญ่

สำหรับการนำหอมหัวใหญ่มารับประทาน นั้นนิยมใช้หัวของหอมใหญ่มารับประทาน ซึ่งรับประทานทั้งหัวสดๆ หรือ นำมาผ่านความร้อนก่อน โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของหอมหัวใหญ่ มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 40 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม น้ำตาล 4.24 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม น้ำ 89.11 กรัม วิตามินบี1 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.116 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.123 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม

สำหรับสารเคมีต่างๆในหอมหัวใหญ่ มีสารประกอบ กำมะถันหลายชนิด เช่น สารไดอัลลิลไดซัลไฟด์  สารไซโคลอัลลิอิน และ ยังอุดมไปด้วยวิตามินอี และ สารต่างๆที่ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ สำหรับกลิ่นฉุนของหอมหัวใหญ่ นั้นเกิดจากสาร ACSOs โดยกลิ่นฉุนถูกขับออกมาเมื่อเซลล์หอมถูกทำลาย

สรรพคุณของหอมหัวใหญ่

สำหรับประโยชน์ของหอมหัวใหญ่ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ประโยชน์จากหอมหัวใหญ่ โดยสรรพคุณของหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงร่างกาย ป้องกันโรคต่างๆ และ ป้องกันมะเร็งได้ดี
  • ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้ง่วง ช่วยในการนอนหลับสบาย
  • ช่วยบำรุงเลือด บำรุงสมอง ช่วยทำให้มีความจำที่ดี ช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และ ลดความเสี่ยงอัมพาต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยสลายลิ่มเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต รักษาเบาหวาน
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน สำหรับสตรีหลังหมดประจำเดือน
  • ช่วยรักษาไข้หวัด ลดน้ำมูก ช่วยขับเสมหะ แก้ปวด แก้อักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับพยาธิ ป้องกันเชื้อแบคที่เรีย
  • บำรุงผิวพรรณ รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาแผลฟกช้ำ ช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อ

โทษของหอมหัวใหญ่

สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานหอมหัวใหญ่ นั้นต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจากหอมใหญ่มีฤทธิ์อุ่น และ รสเผ็ด ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ การนำหอมหัวใหญ่มาใช้ประโยชน์ ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย ข้อควรระวังในการใช้หอมหัวใหญ่ มีดังนี

  • หอมหัวใหญ่ มีกลิ่นฉุน และ ทำให้เกิดการระคายเคืองตาได้ หากระอองจากหัวหอมเข้าตา
  • การรับประทานหัวหอมใหญ่ ในปริมาณมากเกินไป และ รับประทานต่อเนื่องติดๆกัน อาจจะทำลายจิตประสาท ทำให้ลืมง่าย ความจำเสื่อม สายตามัว และยังไปทำลายสมรรถภาพทางเพศ
  • ไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่แบบสด ในขณะที่ท้องว่าง เพราะ อาจะทำให้ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะได้
  • หอมหัวใหญ่กลิ่นแรง ทำให้เกิดกลิ่นปาก สำหรับคนที่มีกลิ่นตัวแรง ไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่มากเกินไป

มะกอก ผลไม้ สามารถสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ ต้นมะกอกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ บำรุงผิวพรรณ ขับปัสสาวะ โทษของมะกอกป่ามีอะไรบ้างมะกอก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะกอก ( Hog plum ) พืชตระกูลเดียวกับมะม่วง ชื่อวิทยาศาสาตร์ของมะกอก คือ Spondias pinnata (L. f.) Kurz  ชื่อเรียกอื่นๆของมะกอก เช่น ไพแซ กอกหมอง กูก กอกกุก กอกเขา กราไพ้ย ไพ้ย ตะผร่าเหมาะ มะกอกไทย กอกป่า มะกอกป่า  โค่ยพล่าละ แผละค้อก สือก้วยโหยว เพี๊ยะค๊อก ตุ๊ดกุ๊ก ไฮ่บิ้ง ลำปูนล เป็นต้น

ชนิดของมะกอก

มะกอกในประเทศไทย มี 4 ชนิด คือ มะกอกฝรั่ง มะกอกป่า มะกอกน้ำ และ มะกอกโอลีฟ รายละเอียด มีดังนี้

  • มะกอกป่า นิยมใช้ผลมาปรุงรสเปรี้ยว และ ใบอ่อนนิยมนำมารับประทานเป็นผักสด
  • มะกอกโอลีฟ นิยมนำมาสกัดทำน้ำมันมะกอก
  • มะกอกฝรั่ง มีรสหวาน นิยมนำมารับประทานสดเป็นผลไม้
  • มะกอกน้ำ นิยมนำมาดองและแช่อิ่ม

ลักษณะของต้นมะกอก

ต้นมะกอก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ซึ่งเป็นพืชตระกลูเดียวกับมะม่วง สำหรับมะกอกในประเทศไทย พบมากตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และ ป่าดิบแล้ง ลักษณะของต้นมะกอก มีดังนี้

  • ลำต้นมะกอก ลักษณะของลำต้นกลม ตั้งตรง สูงประมาณ 25 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นทรงพุ่ม มีเปลือกเป็นสีเทา ลักษณะกหนา ผิวเปลือกเรียบ มีปุ่มปมเล็กน้อย และ มีรูอากาศตามลำต้น
  • ใบมะกอก ลักษณะใบแบบขนนก มีชั้นเดียว เรียงสลับตามกิ่ง เนื้อใบหนา เป็นมัน ท้องใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบไม่เท่ากัน ใบอ่อนของมะกอกเป็นสีน้ำตาลแดง เป็นใบประกอบ
  • ดอกมะกอก มะกอกออกดอกเป็นช่อ ลักษณะของดอกเหมือนรูปถ้วย ออกตามปลายกิ่ง และ ซอกใบ มีสีครีม มะกอกจะออกดอกทุกเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
  • ผลมะกอก มีรสเปรี้ยว ลักษณะเป็นรูปไข่ ด้านในผลมีเนื้อ ฉ่ำน้ำ เปลือกผลเป็นสีเขียว ผลแก่เปลือกผลเป็นสีเหลืองอมสีเขียว หรือ สีเหลืองอ่อน ภายในผลมีเมล็ด ขนาดใหญ่ และ แข็งมาก ผิวเมล็ดเป็นเสี้ยนและขรุขระ

คุณค่าทางโภชนาการของมะกอก

สำหรับประโยชน์ของมะกอก มีมากมายทั้งด้านการรักษาโรคและด้านอื่นๆ โดยการรับประทานมะกอก นิยมรับประทานมะกอกจากส่วน ผล และ ใบอ่อน โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะกอกและใอ่อนของมะกอก มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลมะกอก คุณค่าทางโภชนาการของผลมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ ( เบตาแคโรทีน ) 2,017 ไมโครกรัม กากใยอาหาร 16.7 กรัม  วิตามินซี 53 มิลลิกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม และ แคลเซียม 49 มิลลิกรัม
  • ใบอ่อนมะกอก คุณค่าทางโภชนาการของใบอ่อนมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย แคลเซียม 49 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 16.7 กรัม เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม วิตามินซี 53 มิลลิกรัม และ วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม
  • น้ำมันมะกอก ( Olive Oil ) คือ น้ำมันสามารถสกัดจากผลมะกอก นิยมใช้ผลมะกอกดอลีฟ มาสกัดทำน้ำมันมะกอก ซึ่งน้ำมันมะกอกสามารถใช้ทำอาหารได้ และ ยังนำน้ำมันมะกอกมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่ พลาสเตอร์ น้ำมันนวด วัสดุอุดฟัน เป็นต้น

น้ำมันมะกอก ชนิดบริสุทธิ์พิเศษ ( Extra Virgin Olive Oil ) เป็นน้ำมันคุณภาพดี น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์มีคุณสมบัติมากกว่าน้ำมันมะกอกทั่วไป สามารถคงคุณค่าและสารอาหารจากมะกอกได้มากกว่าน้ำมันมะกอกธรรมดา มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ ได้

ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก

สำหรับการใช้นำมันมะกอกมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยประโยชน์ของน้ำมันมะกอก มีดังนี้

  • ช่วยลดน้ำหนัก น้ำมันมะกอกมีไขมันต่ำ ผู้ที่บริโภคอาหารที่มีน้ำมันมะกอกมีน้ำหนักตัวที่ลดลงมากกว่าผู้ที่บริโภคอาหารไขมันต่ำตามมาตรฐานทั่วไป
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ มี สารไลโคปีน ( Lycopene ) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการต้านอนุมูลอิสระในระบบทางเดินปัสสาวะ ช่วยป้องกันโรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียด
  • ช่วยลดความดันโลหิต ในน้ำมันมะกอกช่วยลดความดันโลหิต และช่วยปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือดหัวใจให้ดีขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระดับที่ไม่รุนแรงมาก
  • ช่วยลดความเสี่ยงโรคไขมันในเลือดสูง และ โรคหลอดเลือดหัวใจ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ เป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาผิวแตกลาย น้ำมันมะกอกสามารถทำให้ผิวพรรณเกิดความชุ่มชื่น ทำให้การบำรุงผิวพรรณดี ให้เต่งตึงลดการเกิดผิวแตกลายในผู้หญิงตั้งครรภ์
  • รักษาอาการท้องผูก น้ำมันมะกอกใช้รักษาภาวะท้องผูก การถ่ายอุจจาระไม่สุด อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ขับถ่ายลำบาก

สรรพคุณของมะกอก

การใช้ประโยชน์จากมะกอก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือก ใบ ผล เมล็ด โดยสรรพคุณของมะกอก มีดังนี้

  • เปลือกลำต้นมะกอก สรรพคุณแก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยแก้อาการสะอึก บำรุงทางเดินอาหาร ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย แก้ปวดข้อ
  • ใบมะกอก สรรพคุณแก้หูอักเสบ แก้ปวดหู แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ช่วยทำให้ชุ่มคอ รักษาอาการท้องเสีย รักษาอาการปวดท้อง
  • ผลมะกอก สรรพคุณเสริมแคลเซียมในร่างกาย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำรักษาเลือดออกตามไรฟัน  ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้โรคน้ำกัดเท้า
  • เนื้อผลมะกอก สรรคุณช่วยแก้ธาตุพิการ รักษาอาการน้ำดีไม่ปกติ รักษากระเพาะอาหารพิการ
  • รากมะกอก สรรพคุณแก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยทำให้ชุ่มคอ
  • เมล็ดของมะกอก สรรพคุณแก้ร้อนในทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาการสะอึก แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของมะกอก

สำหรับโทษจากการใช้มะกอก จะเกิดจากการใช้มะกอก โดยเฉพาะน้ำมันมะกอก ในปริมารที่มากเกินไป โดยการบริโภคน้ำมันมะกอกในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย คือ วันละ 2 ช้อนโต้ะ และ ไม่เกิด 1 ลิตรต่อ 1 สัปดาห์ โดยข้อควรระวังในการใช้มะกอก มีดังนี้

  • การใช้น้ำมันมะกอกบำรุงผิวหนัง หากใช้มากเกิดไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน น้ำมันมะกอกสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจากระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และกำลังให้นมบุตร ควรระมัดระวังในการใช้น้ำมันมะกอก และ ไม่บริโภคน้ำมันมะกอกมากเกินไป
  • สำหรับผู้ป่วนที่เข้ารับการผ่าตัด น้ำมันมะกอกอาจส่งผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดลด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระหว่างการผ่าตัด ควรหยุดใช้น้ำมันมะกอกประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

มะกอก ผลไม้รสเปรี้ยว สามารถนำมาสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ ลักษณะของต้นมะกอกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของมะกอก เช่น ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงหัวใจ บำรุงผิวพรรณ ช่วขับปัสสาวะ โทษของมะกอกป่ามีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย