ตะไคร้ นิยมนำมาประกอบอาหาร ต้นตะไคร้เป็นอย่างไร สรรพคุณของตะไคร้ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดความดัน แก้ปวดท้อง ลดไข้ โทษของตะไคร้เป็นอย่างไรตะไคร้ สมุนไพร สรรพคุณของตะไคร้

ตะไคร้ สมุนไพร เป็นไม้ล้มลุกวงศ์เดียวกันกับหญ้า มีอายุมากกว่า 1 ปี มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว มาเลเชีย อินโดนีเชีย เป็นต้น เป็นพืชที่มีสารอาหารและวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

ตะไคร้ ภาษาอังกฤษ เรียก Lemon grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะไคร้ เช่น คาหอม ไคร จะไคร เชิดเกรย หัวสิงไค เหลอะเกรย ห่อวอตะโป เฮียงเม้า เป็นต้น ตะไคร้สามารถพบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งตะไคร้ที่นิยมปลูก มี 6 ชนิด คือ ตะไคร้หอม ตะไคร้ต้น ตะไคร้กอ ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และ ตะไคร้หางสิงห์

ประโยชน์ของตะไคร้ นอกจากนำมาเป็นอาหารและทำยา ยังสามารถนำตะไคร้มาใช้ประโยชน์ได้จากกลิ่นเฉพาะตัวได้ เช่น ทำเครื่องดื่ม นำน้ำมันหอมระเหยมาเป็นส่วยประกอบของยานวด ทำน้ำยาหมักผมบำรุงเส้นผม นำมาทำเป็นยากันยุง เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะไคร้ 

ต้นตะไคร้ เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อายุเกิน 1 ปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ และ แยกหน่อ ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้น ลักษณะลำต้นตั้งตรง รูปทรงกระบอก ความสูงประมาณ 30-60 เซ็นติเมตร โคนลำต้นมีกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม
  • ใบ ลักษณะของใบตะไค มี 3 ส่วน คือ ก้านใบ หูใบ และใบ ซึ่งใบตะไคร้เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว เรียวยาว ขอบใบคม ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม
  • ดอกตะไคร้ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

สำหรับการบริโภคตะไคร้เป็นอาหาร นิยมใช้ส่วยของลำต้น ซึ่งจะมีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง  143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม กากใยอาหาร 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบและลำต้นของตะไคร้ มีสารซิทราล ( Citral ) มากที่สุดประมาณร้อยละ 75 นอกจากนั้นยังประกอบด้วย ทรานซ์ไอโซซิทราล ( Trans-isocitral ) ไลโมเนน ( Limonene ) ยูจีนอล ( Eugenol ) ลินาลูล ( Linalool ) เจอรานิออล ( Geraniol ) คาริโอฟิวลีนออกไซด์ ( Caryophyllene oxide ) เจอรานิล อะซิเตท ( Geranyl acetate ) 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน ( 6-Methyl 5-hepten-2-one ) 4-โนนาโนน ( 4-Nonanone ) เมทิลเฮพทีโนน ( Methyl heptennone ) ซิโทรเนลลอล ( Citronellol ) ไมร์ซีน ( Myrcene ) และ การบูร ( Camphor )

สรรพคุณของตะไคร้ 

สำหรับการใช้ประโชยน์จากตะไคร้ ในด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ทั้งต้น เหง้า ราก ลำต้น และ ใบ สรรพคุณของตะไคร้ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของตะไคร้ สรรพคุณแก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ไล่แมลง
  • เหง้านตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ ลดความดันสูง
  • ใบตะไคร้ สรรพคุณแก้กษัยเส้น ช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดไข้
  • รากตะไคร้ สรรพคุณลดไข้ ปวดท้อง แก้ท้องเสีย
  • ลำต้นตะไคร้ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเส้นผม
  • น้ำมันตะไคร้ สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ไล่แมลง

น้ำตะไคร้

สำหรับการทำน้ำตะไคร้ สามารถทำได้ โดย เตรียมตะไคร้สด 1 ต้น ต่อ 1 แก้ว นำมาล้างน้ำให้สะอาด ทุบให้แตก เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา นำมาหั่นเป็นท่อน เพื่อง่ายต่อการต้ม หากต้องการเพิ่มกลิ่นหอมมากขึ้น สามารถเพิ่มใบเตย ประมาณ 3 ใบ มัดรวมกัน แล้วใส่เพิ่มขณะต้มได้ ตั้งน้ำเดือน ใส่ตะไคร้หั่นที่เตรียมไว้ เคี่ยวจนได้น้ำสีเขียวออกมา ตั้งทิ้งไว้พออุ่น แนะนำดื่มเลย จะดีต่อสุขภาพมากที่สุด แต่หากไม่ชินกับรส สามารถเติมน้ำตาลได้ตามชอบ

โทษของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ ต้องเลือกใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ไม่ควรนำมารับประทาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน และ หากกินมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานตะไคร้สดๆไม่มีรายงานว่ามีอันตราย แต่การรับประทานในประมาณที่มากเกินไปก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

ตะไคร้ เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป

แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้
  • “Cymbopogon citratus information from NPGS/GRIN”. www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
  • https://puechkaset.com/ตะไคร้

ตำลึง พืชสวนครัว นิยมนำมาประกอบอาหารหลากหลายเมนู รับประทานเป็นผักสด สมุนไพรรักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยระบบไหลเวียนโลหิต ทำความรู้จักกับต้นตำลึงผักตำลึง สมุนไพร พืชสวนครัว ตำลึง

ต้นตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Ivy gourd  และชื่อวิทยาศาสตร์ของตำลึง คือ Coccinia grandis (L.) Voigt ชื่อเรียกอื่นๆของตำลึง เช่น สี่บาท ผักแคบ ผักตำนิน แคเด๊าะ เป็นต้น พืชท้องถิ่นของไทยนิยมปลูกริมรั้วบ้าน นำมาทำอาหารรับประทานได้หลากหลายเมนูอาหาร ทั้ง ต้ม ผัด แกง ทอด

ประโยชน์ของตำลึง 

สำหรับตำลึงนั้นนอกจากจะใช้รับประทานเป็นอาหารแล้วยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆอีกมากมาย ประกอบด้วย

  • ใช้เป็นยาดับกลิ่นกาย ช่วยทำให้ไม่มีกลิ่นกายเหม็น  นำมาตำผสมกับปูนแดงให้เข้ากัน แล้วทาบริเวณรักแร้ หรือจุดซ่อนเร้น ที่ทำให้เกิดกลิ่นอับ
  • ใช้เป็นครีมทรีตเม้นต์ทำให้ผิวหน้าสดใส ดูเต่งตึง โดยใช้ยอดตำลึงครึ่งกำมือ และ ผสมกับน้ำผึ้งแท้ครึ่งถ้วย แล้วปั่นให้ละเอียดในโถ แล้วนำมาพอกที่หน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก
  • ใช้ยอดและใบกินเป็นผักสด อาจจะลวกหรือต้มจิ้มกินกับน้ำพริก นอกจากนั้นใช้ในการประกอบอาหารได้หลายอย่าง เมนูตำลึง เช่น แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว และเมนูอื่นๆอีกมากมาย
  • ผลอ่อนของตำลึงนำมากินกับน้ำพริก หรือจะนำมาดองกิน ส่วนผลสุกมีรสอมหวาน กินได้เช่นกัน
  • ใช้เป็นยารักษาตาไก่ ที่เป็นพยาธิ มีหนองขาวและแข็งภายในของเปลือกตา อย่างแรกให้พลิกเอาหนองขาวแข็งออกจากตาไก่ก่อน แล้วใช้เถาตำลึงแก่ ๆ มาตัดเป็นท่อน ๆ แล้วใช้ปากเป่าด้านหนึ่งจนเกิดฟอง หลังจากนั้นให้เอามือเปิดเปลือกตาไก่ออกแล้วเอาฟองที่ได้หยอดตาไก่วันละครั้งจนหายดี

ลักษณะของต้นตำลึง

ต้นตำลึง จัดเป็นพืชล้มลุก ไม้เลื้อย ต้นตำลึงจะทอดยาวเกาะตามเสา รั้วบ้าน เกาะตามหลัก ต้นไม้ เป็นต้น สามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ดพันธ์ หรือ การปักชำ ลัก ษณะของต้นตำลึง มีดังนี้

  • ลำต้นของตำลึง เป็นลักษณะเถาไม้เลื้อย ทอดยาวเกาะตามหลักต่างๆ เปลือกของลำต้นอ่อน มีสีเขียว เปลือกแก่จะมีสีน้ำตาลอ่อน
  • ใบของตำลึง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบคลายรูปหัวใจ ใบออกมาตามข้อของลำต้น ใบมีสีเขียวใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ใบแก่ขนาดใหญ่สีเขียวเข้ม
  • ดอกของตำลึง ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ คล้ายรูประฆัง ดอกมีสีขาว
  • ผลของตำลึง คลายแตงกวา มีขนาดเล็ก ผลเป็นทรงรียาว สีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีแดง ข้างผลมีเมล็ด สามารถนำไปขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางอาหารของตำลึง 

เนื่องจากตำลึง นิยมใช้ส่วนใบมาบริโภคและใช้ประโยชน์ คุณค่าทางอาหารส่วนใบ 100 กรัม ทั้งในใบและยอดอ่อน ประกอบด้วย พลังงาน 35 Kcal โปรตีน กากใย วิตามินA วิตามินB1 วิตามินB2 วิตามินB3 วิตามินC ธาตุCa ธาตุP และธาตุFe สารเบตาแคโรทีน  ช่วยชะลอวัย และต้านอนุมูลอิสระ

สรรพคุณของตำลึง

นอกจาก ตำลึง จะเป็นผักที่ใช้บริโภคเป็นอาหาร โดยสามารถทำเมนูอาหารต่างๆได้มากมาย เช่น แกง ผัด ต้มต่างๆ ยังมีสรรพคุณที่เป็นสมุนไพรไทย ได้แก่

  • มีสารชะลอความแก่ โดยมีสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เซลล์เกิดการเสื่อมช้าลง ทำให้ดูอ่อนกว่าวัย
  • มีสรรพคุณช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ช่วยเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อให้หายจากการอักเสบ ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
  • มีสารต้านการเกิดมะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ดี
  • มีสรรพคุณเป็นรักษาโรคเบาหวานได้ดี โดยใช้ต้มให้ได้น้ำตำลึง หรือ บีบคั้นสดทำให้น้ำตำลึงออกมา ใช้ดื่มเช้าเย็นวันละสองรอบ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมาก ป้องกันการเกิดเบาหวานได้ดี
  • เนื่องจากตำลึงมีธาตุเหล็กสูงจึงสามารถช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โดยการบริโภคใบ หรือ ดื่มน้ำใบตำลึกก็ได้ผลเช่นเดียวกัน
  • ช่วยบำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ให้หัวใจทำงานได้เป็นปกติ ลดการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด หรือ เส้นเลือดในสมองแตกได้ดี
  • ในใบตำลึงมีธาตุแคลเซียมสูงทำให้ผู้บริโภคมีความแข็งแรงของกระดูกและฟัยมากขึ้น
  • พบว่ามีวิตามินเอมาก ทำให้ดีต่อระบบสายตา การมองเห็น บำรุงประสาทจอรับภาพ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม แก้อาการตาฝ้า เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ และสายตาอ่อนล้าจากการใช้งานสายตาในที่กลางแจ้งนาน
  • บำรุงระบบเลือดและการไหลเวียนโลหิต สร้างความแข็งแรงกับหลอดเลือดเพิ่มความยืดหยุ่น ทำให้เส้นเลือดไปเปราะแตกได้ง่าย ลดการตีบตันได้ดี
  • ลดการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟันเพราะมีวิตามินซีสูง
  • แก้อาการร้อนใน ดับร้อนภายในร่างกายได้ดี ลดอาการไข้  เป็นสมุนไพรธาตุเย็น ใช้ปรับสมดุลธาตุในร่างกาย
  • แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน วินเวียนศีรษะ
  • บรรเทาอาการตาแดง แสบตา เจ็บตา ปวดรอบๆดวงตา
  • แก้อาการแพ้อาหารเพราะรับประทานของผิดสำแดง โดยใช้เถาต้มเป็นยาดื่มลดอาการได้ดี
  • ลดอาการผิดปกติกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง แก้โดยการรับประทานใบสด ช่วยลดอาการได้ดี
  • ใช้ส่วนเปลือกรากและ หัว เพื่อเป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยระบายท้องได้ดี
  • ขับสารผิดในระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในลำไส้
  • ใช้ส่วนใบสามารถป้องกันอาการท้องผูกได้ดี ทำให้ขับถ่ายเป็นปกติ
  • ช่วยลดอาการแพ้ ลดอาการผื่นบริเวณผิวหนัง โดยใช้ใยสดตำมาทาบริเวณที่เกิดอาการ
  • บรรเทาอาการคันหรืออักเสบ จากแมลงสัตว์กัดต่อย หรือจากพืชที่ทำให้เกิดอาการคัน อาการแพ้ระอองเกสรพืชต่างๆ เกิดผื่นที่ผิวหนัง ใช้ใบสดหนึ่งกำมือตำและใช้ทาบริเวณที่เกิดอาการ
  • แก้ฝีพิษและฝีแดง แก้อักเสบ ดับพิษต่าง ๆ
  • ใช้รักษาแผลสด แผลผุพอง ใช้ใบสดและรากตำและประคบบริเวณที่มีแผล บรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน และช่วยทำให้แผลหายเร็ว
  • ใช้แก้โรคหิด โดยใช้เมล็ดตำลึง ตำผสมน้ำมันมะพร้าว นำมาทาบริเวณที่เป็น ลดอาการได้ดี
  • สามารถใช้รักษาโรคงูสวัด และโรคเริม โดยใช้ใบสด 2 กำมือ (ล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำมาใช้) ผสมให้เข้ากันกับพิมเสน หรืออาจจะใช้ดินสอพองแทนก็ได้ 1 ต่อ 4 ส่วน นำมาพอกบริเวณที่เกิดอาการ ช่วยบรรเทาและทำให้หายเร็วขึ่น
  • รับประทานตำลึงเป็นประจำช่วยป้องกันการเป็นตะคริวได้ดี

โทษของตำลึง

การรับประทานตำลึงเป็นอาหาร เนื่องจากสรรพคุณของตำลึงเป็นยาเย็น การรับประทานมากเกินไปอาจไม่ดีต่อร่างกาย โทษของตำลึง มีดังนี้

  • ตำลึงมีสรรพคุณเป็นยาเย็น หากนำน้ำตำลึงมาทาที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็น แปลว่า ไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที เพราะ จะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น
  • ตำลึง มีทั้ง ตำลึงตัวผู้ และ ตำลึงตัวเมีย ตำลึงตัวเมีย กินได้ไม่มีปัญหา ตำลึงตัวผู้ สำหรับคนที่ธาตุอ่อน อาจทำให้ท้องเสียได้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย