บัวบก พืชน้ำ สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณแก้ช้ำใน บำรุงสมอง แก้สมองเสื่อมได้ ลักษณะของต้นบัวบก คุณค่าทางโภชนากการของใบบัวบก ประโยชน์และโทษของใบบัวบก

บัวบก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นบัวบก คือ สมุนไพร ชื่อคุ้นหู มาทำความรู้จักกับ ต้นบัวบก และ สรรพคุณของบัวบก บัวบก มีชื่อสามัญว่า Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาแผล แก้ร้อน ใบบัวบก เหมาะสำหรับบริโภคในฟดูร้อน สมุนไพรไทยสรรพคุณยาเย็น บัวบก พืชตระกูลเดียวกันกับผักชี ชื่อเรียกอื่นๆของบัวบก เช่น ผักหนอก , ผักแว่น ,  กะโต่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นบัวบก

ต้นบัวบก พืชคลุมดิน เป็นไม้เลื้อย ประเภทพืชล้มลุกขึ้นตามพื้นดิน ลำต้นของบัวบกลักษณะกลม เนื้ออ่อน มีน้ำมาก เลื้อยตามพื้นดิน ใบของต้นบัวบก ใบบัวบกเป็นใบเดียว ใบออกตามข้อของลำต้นบัวบก ใบออกเป็นกระจุกๆ ลักษณะของใบคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ ดอกบัวบก ลักษณะคล้ายร่ม ออกดอกเป็นช่อ สีม่วงอมแดง ส่วนผลของบัวบก เป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

การนำต้นบัวบกมาใช้ประโยชน์ เป็นอาหารจะใช้ประโยชน์ทั้งลำต้นและใบของบัวบก นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก สารเบตาแคโรทีน วิตามินบี1 และ วิตามินซี สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค และ กรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

สำหรับต้นบัวบก นิยมใช้ประโยชน์ทั้งลำต้นและใบ ซึ่งมีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณของบัวบก มีดังนี้

  • ช่วยชะลอวัย เป็นยาอายุวัฒนะ ลดลอยเหี่ยวย่นของผิวพรรณ
  • กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับคนป่วย
  • ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากมีสารช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงสายตา และ ฟื้นฟูสภาพรอบของดวงตา ช่วยรักษาอาการอักเสบของตา รักษาอาการบวมแดงของตา
  • ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ทำให้ความจำดี เพิ่มความจำสำหรับผู้สูงวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และป้องกันสมองเสื่อม รักษาอาการปวดหัว รักษาอาการไมเกรน
  • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย แก้อาการอ่อนเพลียเมื่อยล้า
  • ช่วยบำรุงเลือด และ ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้เลือดระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้น กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย ปรับสมดุลย์ความดันเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคโลหิตจาง
  • ช่วยให้ความชุ่มชื่นของลำคอ บำรุงเสียง ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ รักษาอาการผมร่วง
  • ช่วยรักษาแผล รักษาเต้านมอักเสบที่เป็นหนองในระยะแรก ใช้เป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ฟกช้ำ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนัง ช่วยลดอาการอักเสบของแผล ใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ เช่น รักษาโรคเรื้อน รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาหิด รักษาหัด เป็นต้น
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ใบบัวบกเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ ช่วยบำรุงผิว และ ป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ผิว ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวขาว ใบหน้าเต่งตึง
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษานิ่ว ป้องกันการเกิดนิ่ว

ข้อควรระวังในการใช้บัวบก

การบริโภคบัวบก ต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม หากกินมากเกินไป หรือ กินติต่อกันอย่างต่อเนื่อง อาจมีผลเสียได้ โดยโทษของบัวบก ข้อควรระวังในการบริโภคบัวบก มีดังนี้

  • ใบบัวบก ไม่เหมาะสำหรับคนที่มีภาวะตัวเย็น จะทำให้ร่างกายยเย็นขึ้นและท้องอืด
  • การกินบัวบกมากเกินไป ไม่ดี เนื่องจากใบบัวบกเป้นยาเย็น หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้ ร่างกายเสียสมดุลถ้ากิน ใบสด ปริมาณครั้งละ 10 ถึง 20 ใบต่อสัปดาห์ ถือว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรกินทุกวันอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • ไม่ควรนำใบบักบกมาตากแห้ง เพราะ จะเสียคุณค่าทางตัวยา ใบบัวบกจะนำมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย
  • น้ำใบบัวบก หากใส่น้ำตาลมากเกินไป จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ อาจทำให้เป็นเบาหวานได้

บัวบก พืชน้ำ สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณแก้ช้ำใน บำรุงสมอง แก้สมองเสื่อมได้ ลักษณะของต้นบัวบก คุณค่าทางโภชนากการของใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก และ โทษของใบบัวบก

กระถิน พืชพื้นเมือง นิยมกินเมล็ดกระถิน และ ยอดอ่อนกระถิน โรยในส้มตำแสนอร่อย  สรรพคุณของกระถิน เช่น บำรุงกระดูก บำรุงหัวใจ ช่วยขับลม โทษของกระถินเป็นอย่างไร

กระถิน สมุนไพร

กระถิน  จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่ขึ้นในประเทศเขตร้อน ถิ่นกำเนิดของกระถินอยู่ในเขตทวีปอเมริกา และ หมู่เกาะเขตมหาสมุทรแปซิฟิก ต้นกระถินขยายพันธุ์ง่าย นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร โดยเฉพาะส่วน ยอดอ่อน และ ฝักอ่อน กระถิน ชื่อสามัญ คือ White popinac ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระถิน คือ Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit ชื่อเรียกอื่ๆของกระถิน เช่น  กะเส็ดบก กะเส็ดโคก กะตง กระถินบ้าน กระถินน้อย ผักก้านถิน กระถินไทย ผักหนองบก กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก ตอเบา สะตอเทศ สะตอบ้าน กระถินยักษ์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของกระถิน

กระถินนิยมนำฝักกระถินอ่อนมารับประทานเมล็ดของกระถิน และ ทานยอดอ่อนกระถินเป็นผักสด นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของยอดกระถินอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานสูงถึง 62 กิโลแคลอรี

ยอดกระถิน มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน กากอาหาร น้ำ ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก และ ธาตุฟอสฟอรัส มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย  วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี

ลักษณะของต้นกระถิน

ต้นกระถิน พืชตระกูลถั่ว เจริญเติบโตได้ดีในดินร่สนซุย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยยการเพาะเมล็ด สำหรับลักษณะของต้นกระดิน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นกระถิน ลักษณะทรงต้นเป็นเรือนยอดรูปไข่ ความสูงประมาณ 10 เมตร  เปลือกต้นกระถินมีสีเทา ลักษณะเปลือกเป็นปุ่มนูนของรอยกิ่งก้านที่หลุดร่วงไป
  • ใบกระถิน ออกเรียงสลับตามกิ่งของกระกิน ใบเป็นใบแบบขนนก มีขน ลักษณะของโคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบมีขน
  • ดอกกระถิน ดอกมีลักษณะเป็นช่อ แบบกระจุกแน่น ออกดอกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ลักษณะเป็นรูประฆัง มีสีขาว ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี
  • ฝักกระถิน หรือ ผลกระถิน ออกเป็นฝัก ลักษณะแบน ภายในฝักกระถินจะมีเมล็ดเรียงตามขวางจำนวนมาก และ กระถินจะออกผลช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนมกราคมของทุุกปี
  • เมล็ดกระถิน จะอยู่ในฝักของกระถิน ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่ แบน สีเขียว และ ลักษณะมัน

สรรพคุณของกระถิน

การใช้ประโยชน์จากกระถิน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากกระถินได้ทุกส่วน คือ ลำต้น เปลือก ใบ ดอก เมล็ด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของกระถิน คือ ส่วนที่อยู่ในฝักกระถิน เมล็ดแก่ของกระถิน เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยให้นอนหลับ ช่วยขับลม ช่วยขับระดูขาวของสตรี ช่วยบำรุงไต เมล็ดอ่อนของกระถิน บำรุงกระดูก เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ฝักอ่อนของกระถิน สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงกระดูก ทำให้เจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ แก้ท้องร่วง รักษานิ่วในกระเพาะอาหาร
  • รากของกระถิน เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยขับระดู
  • ยอดอ่อนของกระถิน บำรุงกระดูก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงสายตา บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ดอกของกระถิน ช่วยบำรุงตับ
  • เปลือกของกระถิน ช่วยห้ามเลือด

โทษของกระถิน

ใบกระถินมีสารลิวซีนีนมีฤทธิ์เป็นพิษ หากกินในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ขนร่วง และ เป็นหมันได้

กระถิน พืชพื้นเมือง มีประโยชน์ด้านสมุนไพรและการรักษาโรค นิยมกินเมล็ดกระถิน และ ยอดอ่อนกระถิน สรรพคุณของกระถิน เช่น บำรุงกระดูก บำรุงหัวใจ ช่วยขับลม โรยในส้มตำแสนอร่อย โทษของกระถิน เป็นอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย