บอระเพ็ด สมุนไพรไทย มีรสขม นิยมนำมาทำยา ต้นบอระเพ็ดเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ โทษของบอระเพ็ด มีอะไรบ้าง

บอระเพ็ด สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นบอระเพ็ด ( Heart leaved moonseed ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของบอระเพ็ด คือ Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson ชื่อเรียกอื่นๆของต้นบอระเพ็ด เช่น เจตมูลหนาม ตัวเจตมูลยาน เถาหัวดำ หางหนู จุ่งจิง เครือเขาฮอ เถาหัวด้วน จุ่งจะลิง เจ็ดหมุนปลูก เป็นต้น

ต้นบอระเพ็ด คือ พืชประเภทไม้เลื้อย ซึ่งเป็นพืชที่สามารถพบด้ตามป่า โดยเฉพาะป่าดิบแล้ง คนไทยนิยมใช้เป็นสมุนไพร ยารักษาโรค สารพัดปรัโยชน์ นิยมนำบอระเพ็ดมาทำเป็นยา เลือกส่วนเถา ที่มีลักษณะไม่แก่ หรือ อ่อนเกินไป บอระพ็ดมีรสชาติขมจัด

ลักษณะของต้นบอระเพ็ด

ต้นบอระเพ็ด สามารถพบได้ทุกภาคของประเทศไทย พบมากตามป่าดงดิบ และ ป่าเบญจพรรณ ที่มีความชื้น ต้นบอระเพ็ดจะเกาะตามพุ่มไม้ใหญ่ เถาบอระเพ็ดจะเลื้อยตามต้นไม้ต่างๆ สำหรับการปลูกบอระเพ็ด สามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธุ์ และ การปักชำ ลัษณะของต้นบอระเพ็ด มีดังนี้

  • ลำต้นบอระเพ็ด เป็นลักษณะเถาไม้เนื้ออ่อน ยาวมากกว่า 10 เมตร ผิวของลำต้นเป็นตะปุ่มตะป่ำ เถามีสีเขียวเข้ม และหากเถามีอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เถาบอระเพ็ดน้ำยางสีเหลือง เถาบอระเพ็ดรสขมจัด
  • ใบบอระเพ็ด เป็นลักษณะใบเดี่ยว เรียงสลับกันจามเถา ลัษณะของใบคล้ายรูปหัวใจ เหมือนใบพลู ขอบใบเรียบ ปลายใบมีหยัก ใบบอระเพ็ดมีสีเขียวเข้ม มีขนอ่อนๆ
  • ดอกบอระเพ็ด ลักษณะเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ เกสรมีสีขาว
  • ผลบอระเพ็ด ลักษณะกลมรี มีเปลือกบางๆห่อหุ้ม ผลบอระเพ็ดมีสีเขียว และ ผลสุกมีสีเหลือง

คุณค่าทางโชนาการของบอระเพ็ด

บอระเพ็ดมีสารเคมีหลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยองค์ประกอบทางเคมีของบอระเพ็ด มีดังนี้

  • สารเคมีที่ทำให้เกิดรสขม คืิอ picroretin , columbin , picroretroside , tinosporide , tinosporidine
  • สารเคมีกลุ่มไตรเทอปีนอยส์ คือ Borapetoside A , Borapetoside B , Borapetol A , Tinocrisposide , tinosporan
  • สารเคมีกลุ่มอัลคาลอยด์ คือ N-formylannonaine , N-acetylnornuciferine
  • สารเคมีกลุ่มอามีน คือ N-trans-feruloyl tyramine , N-cis-feruloyl tyramine
  • สารเคมีกลุ่มฟีนอสิคไกลโคไซด์ คือ tinoluberide

สรรพคุณของบอระเพ็ด

ต้นบอระเพ็ด นิยมนำมาใช้เป็นยารักษาโรค และ บำรุงร่างกาย โดยบอระเพ็ด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทุดส่วนประกอบของต้นบอระเพ็ด ทั้ง ใบบอระเพ็ด เถาบอระเพ็ด รากบอระเพ็ด และ ผลบอระเพ็ด โดย สรรพคุณของบอระเพ็ด มีดังนี้

  • ใบบอระเพ็ด สามารถใช้บำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย บำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ แก้ผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รักษารังแค รักษาชันนะตุ บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ลดความอ้วน ลดความดัน บำรุงเลือด ช่วยลดไข้ สร้างความชุ่มชื่นในลำคอ บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยขับพยาธิ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • เถาบอระเพ็ด สามารถใช้แก้กระหายน้ำ บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร แก้ร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ช่วยลดไข้ รักษาไข้มาลาเรีย บำรุงเลือด บำรุงเหงือกและฟัน แก้ปวด ช่วยขับพยาธิไส้เดือน ช่วยบำรุงน้ำดี แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง
  • รากบอระเพ็ด เป็นยาอายุวัฒนะ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันมะเร็ง ลดความดัน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยดับพิษร้อน ช่วยลดไข้ บำรุงเหงือกและฟัน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ผลบอระเพ็ด สามารถใช้ลดไข้ บำรุงเหงือกและฟัน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ดอกบอระเพ็ด ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง ช่วยฆ่าพยาธิในฟัน และ ช่วยฆ่าพยาธิในหู แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของบอระเพ็ด

สำหรับต้นบอระเพ็ด มีสารเคมีต่างๆมากมาย ซึ่งคุณสมบัติพิเศษของบอระเพ็ด คือ ความขม การบริโภคและการใช้ประโยชน์จากบอระเพ็ด มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • การรับประทานรากของบอระเพ็ด เป็นเวลานานส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาจทำให้มือเท้าเย็น แขนขาหมดแรงได้
  • การศึกษาสารสกัดจากบอระเพ็ด ใน หนูขาว พบว่าการบริโภคบอระเพ็ดในปริมาณมากติดต่อเป็นเวลานานเป็นพิษต่อไต เป้นพิษต่อตับ
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับและ โรคไตไม่ควรรับประทานบอระเพ็ด

บอระเพ็ด สมุนไพรไทย มีรสขม ลักษณะของต้นบอระเพ็ด เป็น เถาไม้เลื้อย ประโยชน์ของบอระเพ็ด และ สรรพคุณของบอระเพ็ด เช่น เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยลดไข้ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงผิวพรรณ โทษของบอระเพ็ด มีอะไรบ้าง

ต้นมะระ ผลมะระมีรสขม นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร มะระขี้นก มะระจีน ลักษณะของต้นมะระ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด ลดน้ำตาลในเลือด โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

มะระ สมุนไพร สมุนไพรไทย

มะระ ( Bitter melon ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะระ คือ Momordica charantia L. ชื่อเรียกอื่นๆของมะระ เช่น  ผักเหย , ผักไห , มะร้อยรู , มะห่อย , มะไห่ , สุพะซู , สุพะเด เป็นต้น ต้นมะระ พืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย จัดเป็นพืชตระกุลแตง ขึ้นในประเทศเขตร้อน มะระที่นิยมรับประทาน มี 2 สายพันธุ์ คือ มะระขี้นก และ มะระจีน

ชนิดของมะระ

สำหรับ มะระที่พบว่าปลูกในประเทศไทย สามารถแบ่งมะระออกเป็น 4 สายพันธ์ คือ มะระขี้นก มะระจีน มะระสองพี่น้อง และ มะระย่างกุ้ง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • มะระขี้นก ลักษณะของผลมะระจะเล็ก ผิวของผลขรุขระ ทรงเรียวยาวป้อม ผลมะระมีรสขมมาก เนื้อผลบาง
  • มะระจีน ลักษณะของผลมะระใหญ่ เรียว ยาวประมาณ 30 เซ็นติเมตร ผลมีสีเขียว รสขม มีเนื้อผลมาก นิยมรับประทานมากที่สุด
  • มะระสองพี่น้อง เป็นพันนธุ์ ผสมจากมะระจีน มีผลขนาดใหญ่กว่ามะระจีน ขมน้อยกว่า น่ารับประทาน
  • มะระย่างกุ้ง ลักษณะผลเล็ก รูปร่างยาว ผิวของผลขรุขระ รสขมน้อย

ลักษณะของต้นมะระ

ต้นมะระ จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแตงกวา แต่เอกลักษณ์ของมะระ คือ รสขมของผลมะระ สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อน โดยเฉพาะ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นมะระ มีดังนี้

  • ลำต้นมะระ เป็นเถาไม้เลื้อย เถายาวเกาะตามเสา หรือ พื้นที่ที่ต่างๆ ลำต้นอุ้มน้ำมาก มีขนอ่อนๆ
  • ใบมะระ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายรูปฝ่ามือ ขอบใบหยักเป็นซี่ห่างๆ ใบเว้าเป็นแฉกๆ ใบมีขนอ่อนๆ
  • ดอกมะระ ออกเป็นชอ มีสีเหลือง ออกดอกตามซอกใบ
  • ผลมะระ มีสีเขียวทรงยาวเรียว ผิวของผลลักษณะขรุขระ มะระสุกมีสีเหลือง ภายในมีเมล็ด ผลมะระมีรสขมมาก

คุณค่าทางโภนาการของมะระ

มะระมีรสขม เนื่องจากในเนื้อผลมะระมีสารเคมีชนิดหนึ่ง เรียก Momodicine ให้รสขมมาก แต่มีประโยชน์การช่วยกระตุ้นความรู้สึกอยากกินอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะระ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะะระจีน ขนาด 93 กรัม พบว่ามีสารอาหารต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินซี สารโฟเลต ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุทองแดง และ ธาตุสังกะสี

สรรพคุณของมะระ

สำหรับประโยชน์ของมะระ ในด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ ผล เมล็ด และ ลำต้น โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผลมะระ มีรสขมมาก สรรพคุณช่วยชะลอวัย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเลือด ต้านเชื้อไวรัส ป้องกันหวัด รักษาแผลในปาก ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงตับ กระตุ้นการทำงานของตับ รักษาโรคผิวหนัง รักษาผิวหนังอักเสบ รักษาผิวแห้ง
  • ผลมะระสุก ใช้รักษาสิว
  • ใบมะระ สรรพคุณช่วยแก้กระหายน้ำ รักษาโรคหวัด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ฟกช้ำ แก้ปวดบวม
  • ลำต้นมะระ สรรพคุณลดความร้อนในร่างกาย แก้ปวดท้อง
  • เมล็ดมะระ สรรพคุณช่วยปรับสมดุลย์ร่างกาย ช่วยขั บพยาธิตัวกลม
  • รากมะระ สรรคุณช่วยรักษาหวัด แก้ปวดท้อง

โทษของมะระ

สำหรับรับมะระนั้น มีรสขม ซึ่งสรรพคุณของความขมเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ทำให้เกิดอาการคลื้นไส้อาเจียน สำหรับคนที่ร่างกายไม่ถูกฝึกให้กินขม ข้อควรระวังในการรับประทานมะระ มีรายละเอียด ดังนี้

  • สำหรับหญิงมีครรภ์ ไม่ควรกินมะระ เพราะ มะระอาจทำให้มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ และ อาจเป็นสาเหตุของการแท้งได้
    เด็ก ห้ามรับประทานเยื่อหุ้มเมล็ดของมะระที่มีสีแดง เพราะอาจเป็นพิษต่อร่างกาย
  • มะระมีสรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ไม่ควรรับประทานมะระมากเกิน
  • สำหรับป่วยที่มีแผนในการเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานมะระ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด เพราะ อาจทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้งในระหว่างการผ่าตัดและหลังการผ่าตัดมีปัญหา
  • การรับประทานผลสุกของมะระ อาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เพราะ มีสารซาโปนิน ( Saponin ) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย

การเลือกซื้อมะระ

สำหรับการเลือกมะระ ที่เหมาะสำหรับนำมาทำอาหาร ให้เลือกมะระที่ไม่ดิยเกินไป และ ไม่แต่เกินไป ให้สังเกตุสีของมะระ ออกสีเขียวอ่อนๆ ขนาดใหญ่ ผิวของมะระรอยหยักใหญ่ รอยหยักไม่มาก จะได้มะระที่มีความขมไม่มากนัก และ เนื้อมะระมาก โดยลักษณะของเนื้อมะระต้องแข็ง หากอ่อนนุ่ม แสดงว่ามะระกำลังจะเน่า

การทำให้มะระไม่ขม

เมื่อได้มะระมาแล้ว ให้นำมะระมาผ่าออก เอาเมล็ดออกให้หมด และ นำมาแช่ในน้ำผสมเกลือ ซึ่งเกลือจะช่วยลดความขมของมะระ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จากนั้นนำมาแช่ในน้ำเปล่า เวลานำมะระมาทำอาหาร หากต้องการลดความขมอีก ให้นำมะระไปต้มในน้ำก่อน ให้มะระคายความขมออก หลังจากนั้นจึงนำเอามะระไปใส่ในอาหาร และ น้ำต้มมะระให้ทิ้งไปเลย เพราะน้ำจะขมมาก

ต้นมะระ พืชสวนครัว ผลมะระ มีรสขม นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร มะระขี้นก มะระจีน ลักษณะของต้นมะระ สรรพคุณของมะระ เช่น ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเลือด ลดน้ำตาลในเลือด โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย