รากสามสิบ สมุนไพรสามร้อยผัว สรรพคุณสำหรับสตรี ต้นรากสามสิบเป็นอย่างไร สารในรากสามสิบ สรรพคุณแก้กระษัย ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงกำลัง โทษของรากสามสิบ มีอะไรบ้างรากสามสิบ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นรากสามสิบ ภาษาอังกฤษ เรียก Shatavari พืชตระกูลหน่อไม้ฟรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของรากสามสิบ Asparagus racemosus Willd. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของรากสามสิบ เช่น สามร้อยราก ผักหนาม ผักชีช้าง จ๋วงเครือ เตอสีเบาะ พอควายเมะ ชีช้าง ผักชีช้าง จั่นดิน  ม้าสามต๋อน สามสิบ ว่านรากสามสิบ ว่านสามสิบ ว่านสามร้อยราก สามร้อยผัว สาวร้อยผัว ศตาวรี เป็นต้น

รากสามสิบ สมุนไพรที่สรรพคุณของรากมากมาย เป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร หลายตำรับ ทั้งยาแผนไทย ยาแผนจีน สรรพคุณบำรุงสตรีเพศ กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ อกตูม รูฟิต นิยมใช้รากสามสิบเป็นยาพื้นบ้าน แก้ตกเลือด แก้ปวดเมื่อย แก้พิษแมลงป่องกัดต่อย แก้ปวดฝี บำรุงตับ บำรุงปอด

ลักษณะของต้นรากสามสิบ

ต้นรากสามสิบ พืชล้มลุก ประเภทไม้เถา สามารถพบได้ในประเทศเขตร้อน ประเทศไทย อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และออสเตรเลีย พบตามป่าเขตร้อน หรือ เขาหินปูน ลักษณะของต้นรากสามสิบ มีดังนี้

  • รากหรือเหง้าของรากสามสิบ ลักษณะเป็นกระจุก อยู่ใต้ดิน  คล้ายกระสวย รากจะรวมตัวกันเป็นพวง รากอวบน้ำ กลมยาว
  • ลำต้นรากสามสิบ ลำต้นไม้เนื้อแข็ง มีหนาม ทอดยาวเลื้อยตามต้นไม้ ลำต้นเป็นสีเขียว ลักษณะกลม ผิวเรียบ ลื่น และ เป็นมัน ตามข้อเถาจะมีหนาม
  • ใบรากสามสิบ เป็นใบเดี่ยว ใบแข็ง สีเขียว ใบเป็นรูปเข็ม ปลายใบแหลม โคนใบแหลม มีหนามตามซอกกระจุกใบ
  • ดอกรากสามสิบ เป็นช่อ ออกดอกตามปลายกิ่ง ซอกใบและข้อเถา ดอกสีขาว ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกบางและย่น ดอกรากสามสิบออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี
  • ผลรากสามสิบ ลักษณะค่อนข้างกลม ผิวของผลเรียบมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือสีม่วงแดง ภายในผลมีเมล็ด 2 ถึง 6 เมล็ด ซึ่งเมล็ดเป็นสีดำ รากสามสิบออกผลช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี

คุณค่าทางโภชนาการของรากสามสิบ

การศึกษาประโยชน์ของรากสามสิบ พบว่ารากสามสิบมีสารสำคัญ ที่ราก คือ สาร steroidal saponins สารชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคกระดูกพรุน

สรรพคุณของรากสามสิบ
สำหรับการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ราก ใบ และ ทั้งต้น สรรพคุณของรากสามสิบ มีดังนี้

  • ผลรากสามสิบ สรรพคุณรักษาไข้
  • รากของรากสามสิบ สรรพคุณ บำรุงครรภ์ ลดไข้ แก้ปวดหัว รักษาหอบหืด บำรุงน้ำนม บำรุงร่างกายหลังคลอดบุตร แก้ปวดเมือย แก้ปวด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย บำรุงปอด บำรุงตับ ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ตกเลือด รักษาประจำเดือนมาไม่ปรกติ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับลม ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ รักษาคอพอก ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยบำรุงกำลัง
  • ใบรากสามสิบ สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำนม เป็นยาระบาย
  • ทั้งต้นรากสามสิบ สรรพคุณแก้ตกเลือด รักษาคอพอก

โทษของรากสามสิบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากรากสามสิบ ด้านสมุนไพร มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • รากสามสิบ สรรพคุณคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนเพศหญิง หากใช้จะทำให้ผิวพรรณเต่งตึง หน้าอกกระชับ แต่อาจมีความเสี่ยงโรคมะเร็งหรือมีเนื้องอกในเต้านม
  • การรับประทานรากสามสิบ ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาคุมกำเนิด เพราะ อาจทำให้ฮอร์โมนเพศหญิงมากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
  • ไม่ควรรับประทานรากสามสิบ ติดต่อกันนานเกินไป และ ไม่ควรรับประทานรากสามสิบในปริมาณมากเกินไป หากรับประทานควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

ว่านชักมดลูก สมุนไพรในตำรายาไทย สรรพคุณรักษาอาการต่างๆของสตรี เช่น ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว ว่านชักมดลูกเป็นอย่างไร โทษของว่านชักมดลูก ว่านชักมดลูก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ว่านชักมดลูก มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ฮอร์โมนเพศหญิง ในวงการแพทย์ต่างยอมรับว่า ว่านชักมดลูก มีสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาสุขภาพของสตรีวัยทอง ได้เป็นอย่างดี

ว่านชักมดลูก มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย เป็นพืชตระกลูขิง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของว่านชักมดลูก คือ Curcuma zanthorrhiza Roxb. ว่านชักมดลูกมีหลายสายพันธุ์ สำหรับในประเทศไทย ว่านชักมดลูก พบได้ 2 สายพันธุ์ คือ ว่านชักมดลูกตัวเมีย ( Curcuma comosa Roxb. ) และ ว่านชักมดลูกตัวผู้ ( Curcuma latifolia Roscoe ) แหล่งปลูกว่านชักมดลูกในประทศไทย คือ จังหวัดเลยและจังหวัดเพชรบูรณ์

ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก

ต้นว่านชักมดลูก พืชล้มลุก ตระกลูขิง สามารถขยายพันธุ์ ด้วยวิธีเหง้าใต้ดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ว่านชักมดลูกเป็นพืชที่ทนต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก มีดังนี้

  • ลำต้นว่านชักมดลูก ลักษณะเป็นเหง้า แตกหน่ออยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีเหลือง เหง้าแก่เป็นสีเทา มีกลิ่นฉุน รสขม ลำต้นตั้งตรง เป็นกาบใบลักษณะกลม ความสูงประมาณ 1 เมตร กาบของลำต้นมีสีเขียว ด้านในเยื่อสีขาว คล้ายกับต้นขมิ้น
  • ใบว่านชักมดลูก เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบเรียวยาว เหมือนใบต้นขิง ใบเรียบ สีเขียว ปลายใบแหลม
  • ดอกว่านชักมดลูก ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุก ลักษณะรูปทรงกระบอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 เซ็นติเมตร ดอกสีแดง ดอกที่เจริญเติบเต็มที่จะเป็นสีเหลือง

สรรพคุณของว่านชักมดลูก

สำหรับการใช้ประโยชนืจากว่านชักมดลูก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค จะใช้ประโยชน์จากส่วนของเหง้า โดยสรรพคุณของว่านชักมดลูก มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ผิวสดใส ผิวขาวนวล ผิวดูมีเลือดฝาด ช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ลดการเกิดฝ้า และ ลดรอยดำของใบหน้า ช่วยกระชับผิวหน้าท้องของสตรีหลังคลอด
  • ป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอด และ มะเร็งในมดลูก ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยทำให้ซีสต์หรือเนื้องอกภายในช่องคลอดฝ่อตัวลง
  • ช่วยให้ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น
  • ช่วยบำรุงความงาม ช่วยทำให้หน้าอกขยาย ทำให้นมใหญ่ขึ้น
  • ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการอารมณ์แปรปรวนต่างๆ ลดอารมณ์ฉุนเฉียว
  • ช่วยป้องการการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีรีย ช่วยดับกลิ่นปาก ลดกลิ่นตามตัว
  • ช่วยบำรุงสายตาและดวงตา ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม
  • ช่วยบำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น ป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ยป้องกันการสูญเสียแคลเซียม ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
  • สรรพคุณสำหรับสตรี ช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว รักษาอาการมดลูกต่ำ ช่วยกระชับช่องคลอด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยดับกลิ่นภายในช่องคลอด ช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอด รักษาอาการหน่วงของมดลูก รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ รักษาอาการปวดท้องประจำเดือน รักษาอาการตกขาว ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • กระตุ้นความรู้สึกทางเพศของสตรี
  • รักษาโรคริดสีดวงทวาร

โทษของว่านชักมดลูก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากว่านชักมดลูก มีผลข้างเคียง และ ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ มีดังนี้

  • การรับประทานยาผสมว่าชักมดลูก อาจทำให้มีอาการ วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน ไอเหมือนจะเป็นไข้ มีผืนขึ้นตามตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะพบในสตรีที่ไม่แข็งแรง หากมีอาการดังที่กล่าวมาให้หยุดรับประทาน หรือ ลดปริมาณในการรับประทาน
  • หากมีอาการปวดหน้าอก ปวดมดลูก ปวดช่องคลอด ให้หยุดรับประทาน หรือ ลดปริมาณ
  • สำหรับสตรีวัยทอง หลังจากรับประทานว่านชักมดลูด อาจมีประจำเดือนกลับมาใหม่ สามารถรับประทานต่อไปได้ ซึ่งประจำเดือนก็จะค่อยๆหมดไปเอง

ว่านชักมดลูก คือ สมุนไพรในตำรายาไทย สรรพคุณรักษาอาการต่างๆของสตรี เช่น ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว เป็นต้น ลักษณะของว่านชักมดลูก เป็นอย่างไร โทษของว่านชักมดลูก

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย