กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย เวียนหัว เสี่ยงหัวใจวายตายได้ การรักษาและป้องกันได้หรือไม่หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจ

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ ความผิดปรกติของหัวใจจากการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ จากหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้นจากคราบพลัค (Plaque) จนทำให้กล้ามเนื้อที่หัวใจเสื่อมสภาพและตายลง โรคนี้พบมากกลุ่มผู้สูงอายุ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบฉับพลัน ก็คือ ภาวะหัวใจวาย ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ

ประเภทของโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับภาวะหัวใจขาดเลือด สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่พบ ST Segment Elevation และ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รายละเอียด ดังนี้

  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน จนทำให้การทำงานของหัวใจผิดปรกติ มีความอันตรายสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้หัวใจวายตายได้
  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่พบ ST Segment Elevation ( Non-ST Segment Elevation Myocardial Infarction – NSTEMI) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจติดต่อกันนานเกิน 30 นาที ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ ลักษณะอาการไม่รุนแรงเพียงภาวะเจ็บหน้าอกเท่านั้น

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับสาเหตุของภาวะหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากเลือดที่จะไหลเวียนไปยังหัวใจถูกขัดขวาง ทำให้หัวใจไม่ได้รับเลือดและออกซิเจนอย่างเหมาะสม ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการเสื่อมสภาพ หรือ หยุดทำงาน ซึ่งสาเหตุของเลือดที่เลี้ยงหัวไจไม่เพียงพอ เกิดจากหลายสาเหตุ สามารถสรุปได้ดังนี้

  • การสะสมของไขมันในเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • ภาวะความเครียดสะสม
  • ภาวะการหยุดหายใจระหว่างการนอนหลับ การนอนกรน
  • น้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปรกติ โรคอ้วน
  • ความเสืื่อมสภาพตามอายุ
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • การขาดการออกกำลังกาย

อาการโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจขาดเลือดจะแสดงอาการให้เห็นหลายส่วนท่วนร่างกาย เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วมาก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกแต่ร่างกายเย็น เหนื่อยมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด แพทย์จะทำการซักประวัติรวมถึงลักษณะของอาการที่แสดงออกมา จากนั้นแพทย์จะทำการ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเลือด การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ และ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ( Echocardiogram )

การรักษาโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้สามารถทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต รวมกับการใช้ยารักษาโรค ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนัก จำเป็นต้องผ่าตัดหัวใจ สามารถสรุปแนวทางการรักษาโรคหัวใจขาดเลือด ได้ดังนี้

  • แนวทางการปรับพฤติกรรม คือ ลดภาวะความเครียดต่างๆ เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ควบคุมคอเลสเตอรอลในเลือด ความคุมระดับความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ควบคุมน้ำหนักตัว
  • การใช้ยารักษาโรค ซึ่งต้องใช้ยาหลายตัวร่วมกัน ซึ่งยาต่างๆที่ใช้รักษาโรคหัวใจขาดเลือด เช่น ยาแอสไพริน ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาระงับอาการปวด ยาไนโตรไกลเซริน ยาปิดกั้นการทำงานของเบต้า และ ยาเอซีอีอินฮิบิเตอร์
  • การผ่าตัด เป็นการรักษาเพื่อช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้อย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ และ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ

การป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด สามารถป้องกันได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชิวิต เพื่อให้สุขภาพของหัวใจแข็งแรง โดยแนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หวานจัด และ หลีกเลี่ยงอาหารมัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และ สม่ำเสมอ
  • ลดภาวะความเครียดต่างๆ
  • เลิกสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอร์

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย เวียนหัว มีความเสี่ยงหัวใจวายตายได้ การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดทำอย่างไร สามารถป้องกันได้หรือไม่

การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้เจ็บทรวงอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย แนวทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไรกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหัวใจ โรคติดเชื้อ โรคหัวใจอักเสบ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( myocarditis ) คือ ภาวะการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนมากพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ parvovirus B19 แต่สามารถเกิดจากการติดเชื้อโรคอื่นๆได้ ไม่ว่าจะ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เช่น Borrelia burgdorferi ( โรคไลม์ ) หรือ Trypanosoma cruzi  โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทางการแพทย์ เรียก Myocarditis หรือ Inflammatory cardiomyopathy พบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป มีอาการของโรครุนแรง เสียชีวิตได้

สาเหตุการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับภาวะการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือ พยาธิ เมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น โรคเอสแอลอี โรครูมาตอยด์ โรคไข้รูมาติก เป็นต้น ทำให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคง่าย เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายหัวใจ ทำให้เกิดการอักเสบ ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลต่อการทำงานของปอด ทำให้เกิดปอดบวมน้ำ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุของการติดเชื้อได้ดังนี้

  • การได้รับสารพิษพวก สารหนู สารตะกั่ว ควันรถยนต์การกระทบกระเทือนโดยตรงที่กล้ามเนื้อหัวใจ
  • เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวทำร้าย เรียกว่า สารภูมิต้านทานร่างกาย หรือ แอนติบอดี้ ( Antibody )
  • การติดเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เป็นสาเหตุจากโรคต่างๆ เช่น ไวรัสไข้หวัดใญ่ ไวรัสหัดเยอรมัน ไวรัสเอชไอวี แบคทีเรียวัณโรค
  • การติดเชื้อโรคจากพยาธิ
  • การติดเชื้อรา
  • การแพ้ยาปฏิชีวนะ
  • ถูกสัตว์มีพิษกัด เช่น งู ผึ้ง หรือ แมลงต่างๆ

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะเกิดอาการอักเสบทั่วร่างกายไม่ได้อักเสบเฉพาะหัวใจ ซึ่งเป็นผลจากการไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย สามารถสังเกตุอาการของโรค ได้ดังนี้

  • มีไข้สูงและหนาวสั่น
  • เหนื่อยล้า
  • ปวดหัว
  • ปวดกล้ามเนื้อ และ ปวดตามข้อกระดูก
  • เจ็บคอ
  • มีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ท้องร่วง
  • เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว
  • มีอาการไอ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ริมฝีปาก และ เล็บมือ มีสีม่วง
  • มือ เท้า และ ข้อเท้าบวม

การตรวจวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคนอกจากดูลักษณะอาการของโรค แพทย์จะทำการซักประวัติการรักษาโรค จากนั้นตรวจโรค โดย การตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การทำเอมอาร์ไอ และ การตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ควรรีบส่งคนไข้ไปโรงพยาบาลทันทีเพ่ือรับการรักษา แพทย์วินิจฉัยได้โดยจะมีการฟังเสียงหัวใจเต้นผิดปกติ ( echocardiography ) เอกซเรย์พบหัวใจโต คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ และตรวจเลือดพร้อมกับให้การรักษาในทันที การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยเบื้องต้นแพทย์จะรักษาจากต้นแต่ของโรค คือ การให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุของโรค ร่วมกับประคับประครองอาการต่างๆ

การป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ และ ดื่มสุรา
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ใส่เครื่องมือป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เพือป้องกันการติดเชื้อโรค

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( Myocarditis ) การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้เจ็บทรวงอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย แนวทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้
คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
เห็ดเข็มทอง สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของเห็ดเข็มทอง
เห็ดเข็มทอง
ฟักแม้ว มะระหวาน สมุนไพร พืชสวนครัว
ฟักแม้ว
กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา สมุนไพรไทย
กระเพรา
ผักตำลึง สมุนไพร พืชสวนครัว ตำลึง
ผักตำลึง
สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร