โรคอัลไซเมอร์ Alzheimer’s disease ภาวะเซลล์สมองเสื่อมตามวัย หลงๆลืมๆ เกิดกับคนสูงอายุ ภาวะเสี่ยงของผู้สูงวัย โรคระบบประสาทและสมอง การรักษาและป้องกันทำอย่างไร

อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคระบบประสาทและสมอง

โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer’s disease ) คือ ภาวะเซลล์สมองเสื่อมลง เนื่องจากภาวะเสื่อมตามวัย ส่งผลให้เกิดอาการหลงๆลืมๆ เกิดกับคนอายุ 60 ปี ขึ้นไป โรคระบบประสาทและสมอง โรคที่รักษาไม่หาย แต่ชะลอการเสื่อมของสมองได้ โรคสมองเสื่อม ที่พบบ่อยมากในผู้สูงอายุ ผู้ค้นพบเป็นชาวเยอรมัน ชื่อ Alois Alzheimer ค้นพบในปี 1956 โดยทั่วไปผู้ป่วยจะเกิดอาการหลงลืม ความทรงจำต่างๆ อาการจะค่อยๆเกิดขึ้น จนอาจจะรุนแรงถึงขนาดลืมการทำกิจวัตรประจำวันเบื้องต้น จนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และอาจจะเสียชีวิตในที่สุด

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์

ผู้ที่อายุเกิน 60 ปีจะเริ่มมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากขึ้น โรคนี้จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายนิดหน่อย หากเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเป็เหมือนเดิมได้เพียงแต่สามารถชะลอหรือบรรเทาอาการให้เกิดขึ้นช้าลง หรือ รุนแรงน้อยลงได้ เมื่อป่วยมักจะมีอายุต่อไปได้อีกประมาณสิบปีและจะเสียชีวิตในที่สุด

สาเหตุการเกิดโรคอัลไซเมอร์

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อมยังไม่มีความชัดเจนมากนั้น แต่ มีปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อการเสือมของสมองเร็วขึ้น มีปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค ดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือ กรรมพันธุ์ โรคนี้ผู้ป่วยที่มีญาติพ่อแม่พี่น้องเคยป่วยโรคนี้จะมีความเสี่ยงต่อการป่วยโรคนี้มากกว่าบุคคลทั่วไป
  • ผู้ป่วยดาว์ซินโดรม หรือ ปัญญาอ่อน เมื่อมีอายุมากขึ้น มากกว่า 40 ปีจะมีอาการของโรคอัลไซเมอร์ร่วมด้วย
  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นเนื้อสมองจะเสื่อมลงตามการเวลาทำให้ความสามารถเรื่องความจำลดลงตามอายุ
  • การได้รับการกระทบกระเทือนที่สมองจากแรงกระแทก เช่น การเกิดอุบัติเหตุที่สมองต่างๆ
  • โรคอ้วน และโรคเบาหวาน มีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติหลายเท่าตัว
  • การได้รับสารโลหะต่างๆต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น  ปรอท อะลูมิเนียม ตะกัว
  • การรวมตัวของกลุ่มโปรตีนที่ล้อมรอบเซลล์สมอง ทำลายเนื้อสมองส่วน ฮิปโปแคมปัส และ เอนโทรินอลคอลเทค ซึ่งมีความสำคัญในเรื่องของความจำ การคิดเป็นเหตุเป็นผล การเคลื่อนไหวร่างกาย จะลดถูกประสิทธิภาพการทำงานลงเรื่องๆ
  • การเกิดเส้นใยโปรตีนรวมตัวกันมากผิดปกติ เกิดโปรตีนที่เป็นพิษต่อสมอง ทำให้เซลล์ประสาทค่อยๆตายไป จนเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

อาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

อาการเริ่มต้นของความเสื่อม มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ รับข้อมูลใหม่ๆไม่ได้ ลืมง่าย แต่ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ ยังสามารถคิดเรื่องซับซ้อนได้ เมื่อทดสอบสภาพจิตและความจำจะยังไม่สามารถตรวจพบได้ อาการเหล่านี้จะยังคงอยู่ประมาณยี่สิบปีก่อนการป่วยระยะถัดไป

  • โรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น คือ มีความทรงจำที่สั้น การหลงลืมสิ่งของภายในบ้านแม้จะใช้ประจำ การพูดซ้ำ ถามซ้ำ การใช้ชีวิตเริ่มไม่ปกติ เช่น ลืมสถาณที่ที่จะไป ลืมเส้นทางการกลับบ้าน เริ่มเก็บตัวไม่อยากออกนอกบ้าน แต่ยังสามารถสื่อสารได้ แต่การเคลื่อนไหวร่างการเริ่มไม่คล่องตัว ติดขัด อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย มีความวิตกกังวลมาก
  • โรคอัลไซเมอร์ระยะกลาง คือ ความจำเสื่อมถอย จดจำชื่อคนรู้จักเพื่อนฝูงไม่ได้ การสื่อสารบกพร่อง สื่อสารไม่เข้าใจ เริ่มอ่านเขียนไม่ได้ มีปัญหาการทำกิจวัตรประจำวัน มีความกระวนกระวายใจตลอดเวลา อารมณ์แปรปรวน ก้าวร้าว ซึมเศร้า หลงลืมตัวตน ไม่เข้าใจมารยาททางสังคม การไม่รู้เนื้อรู้ตัวในการกระทำของตน
  • โรคอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย คือ ไม่สามารถจดจำการทำกิจวัตรประจำวันได้ ต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ดูแล สื่อสารไม่ได้ จำภาษาไม่ได้ ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ การขับถ่าย การกิน ต้องมีผู้ช่วยตลอดเวลา อาจจะเสียชีวิตจากภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ เพราะการดูแลที่ไม่ดีพอ เช่น การติดเชื้อ การขาดสารอาหาร ขาดน้ำ ขาดเกลือแร่

การตรวจวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์

  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจสมองโดย เอกซเรยย์
  • การตรวจเลือดดูภาวะฮอร์โมน
  • การตรวจสภาพจิต
  • การตัดชิ้นเนื้อสมองตรวจทางพยาธิวิทยา
  • ผู้ป่วยมักไม่รู้ตนเองว่าป่วยดังนั้นญาติที่ใกล้ชิดเมื่อสังเกตุว่าผู้ป่วยมีอาการหลงลืมบ่อย และพฤติกรรมต่างๆเปลี่ยนไปตามที่กล่าวข้างต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อการเตรียมการแต่เนิ่นๆ

การรักษาโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ แต่สามารถชะลออาการได้ โดยแนวทางการรักษาโรค มีดังนี้

  • การใช้ยา Galantamine Donezpezil Memantine Rivastigmin ช่วยบรรเทาอาการ
  • การเสริมวิตามินอี
  • การทำกิจกรรมกระตุ้นสมอง เช่น ศิลปะ ดนตรี
  • การรวมกลุ่มระลึกถึงอดีต การพูดคุยกันในกลุ่ม
  • การดูแลอย่างใกล้ชิดโดยญาติ จะต้องอดทนและเสียสละเนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และหากปล่อยให้ออกสู่ภายนอกอาจจะสร้างปัญหาแก่บุคคลอื่นจึงต้องการการดูแลด้วยความอดทน และกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ

การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

  • อย่าทิ้งผู้ป่วยไว้คนเดียว
  • หมั่นพาผู้ป่วยพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ การรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
  • อย่าให้ผู้ป่วยทำธุระกรรมต่างๆเพียงลำพังควรมีผู้ใกล้ชิดไว้ใจได้เป็นผู้ดูแล
  • ควรเขียนป้ายชื่อ ที่อยู่ เบอร์ติดต่อห้อยคอ หรือ ใส่ไว้ในกระเป๋าผู้ป่วย ป้องกันการพลัดหลง
  • จัดการสิ่งแวดล้อมให้สะอาด และปลอดภัย ไม่ควรวางอุปกรณ์อันตรายใกล้มือผู้ป่วย เช่น อุปกรณ์ติดไฟ ของมีคม ต่างๆ
  • ครอบครัวควรร่วมมือกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เพื่อลดความเครียดวิตดกังวลทั้งตัวผู้ป่วยเองและญาติผู้ดูแล

การป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์

  • ลดอาหารหวานมันเค็ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นโรคอัลไซเมอร์  
  •  ทำกิจกรรมการฝึกการใช้สมองให้มาก เช่น การอ่านหนังสือ การเล่นเกมส์ใช้สมองต่างๆ การฝึกเล่นดนตรี การเรียนภาษาใหม่ๆ
  • การรักประทานผักผลไม้ วิตามินต่างๆ อาหารที่มีประโยชน์ เช่น ธัญพืช วิตามินบี12 วิตามินซี
  • การให้ฮอรโมนเอสโตรเจน มีการวิจัยพบว่าฮอร์โมนหญิงช่วยชะลอการเป็นโรคอัลไซเมอร์ ได้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้
คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
เห็ดเข็มทอง สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของเห็ดเข็มทอง
เห็ดเข็มทอง
ฟักแม้ว มะระหวาน สมุนไพร พืชสวนครัว
ฟักแม้ว
กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา สมุนไพรไทย
กระเพรา
ผักตำลึง สมุนไพร พืชสวนครัว ตำลึง
ผักตำลึง
สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร