โรคลมชัก Epilepsy ความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก อาการชักในแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ หายได้เองใน 3 นาที การรักษาทำอย่างไรโรคลมชัก โรคลมบ้าหมู โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ

โรคลมชัก สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และ มีสาเหตุของการเกิดโรคที่หลากหลาย เช่น กรรมพันธุ ความผิดปกติของระบบไฟฟ้าในสมอง โรคลมชักเกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมอง ทำให้มีอาการชักตามมา ส่วนพบมากในเด็กที่มีสุขภาพปกติ มีพัฒนาการที่ดี ไม่มีปัญหาทางสมองใดๆ แต่ก็อาจเกิดจากการมีพยาธิสภาพในสมอง อาการชักอาจไม่ได้หมายถึงโรคลมชักเสมอไป

ประเภทของอาการชัก

สำหรับอาการชัก เกร็ง กระตุก สามารถแบ่งลักษณะอาการของการชัก ได้เป็น 3 ประเภท คือ อาการชัก อาการเกร็งกระตุกกล้ามเนื้อ และ โรคลมชัก รายละเอียด ดังนี้

  • อาการชัก ( Seizure ) เกิดจากความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมองชั่วขณะ ส่งผลให้เกิดอาการทางสมอง แต่อาการเหล่านี้สามารถรักษาให้หายเองได้หากสามารถรักษาสาเหตุของอาการชักได้ เช่น เนื้องอกในสมอง โรคสมองอักเสบ ภาวะการขาดวิตามิน เป็นต้น
  • อาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ ( Convulsion ) ลักษณะอาการคล้ายกับอาการชัก แต่อาจไม่ใช่อาการเกร็งกระตุกไม่ใช้อาการชักเสมอไป เช่น อาการเกร็งของคนไข้ขณะเป็นลม เป็นต้น
  • โรคลมชัก ( Epilepsy ) คือ อาการผิดปรกติของสมองเกิดจากกระแสไฟฟ้าในสมองลัดวงจรอย่างถาวร ทำให้เกิดอาการชักโดยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งใดมากระตุ้นให้เกิดอาการชัก

สาเหตุโรคลมชัก

สำหรับโรคลมชักในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของสาเหตุที่ชัดเจน มักเกิดจากการที่สมองถูกการกระทบกระเทือน ทั้งนี้ภายในสมองนั้นเต็มไปด้วยเซลล์ประสาท กระแสไฟฟ้า และสารเคมี ที่ถูกเรียกว่า สารสื่อประสาท หากถูกกระทบกระเทือนและเกิดความเสียหายก็อาจทำให้สมองเกิดการทำงานที่ผิดปกติจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการชัก ซึ่งโรคลมชัก สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้  2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุและกลุ่มที่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค รายละเอียดมีดังนี้

  • โรคลมชักที่ไม่ทราบสาเหตุได้แน่ชัด ( Primary Epilepsy ) สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือ มีความผิดปกติของยีนส์ในร่างกายเอง
  • โรคลมชักที่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดได้ ( Secondary Epilepsy ) เกิดจากโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง กอุบัติเหตุที่ศีรษะอย่างรุนแรง การเสพยาเสพติด การติดสุราเรื้อรัง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการขาดออกซิเจน สาเหตุเหล่านี้ มักเกิดกับผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป

ปัจจัยการเกิดโรคลมชัก

โรคลมชักมีทั้งที่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนและไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่เราสามารถบอกถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมชัก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • อายุ ช่วงอายุที่มีโอกาสเกิดลมชักมากที่สุด คือ วัยเด็ก และ วัยสูงอายุ
  • ประวัติครอบครัว หากในครอบครัวนั้นมีประวัติว่ามีผู้ป่วยโรคลมชัก ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมชักในครอบครัวก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • โรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้สมองถูกทำลาย จนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคลมชัก
  • ภาวะสมองเสื่อม ( Dementia ) มักเกิดกับผู้สูงอายุ
  • ภาวะติดเชื้อที่สมอง ( Brain Infections )
  • มีประวัติชักในวัยเด็ก อาจทำให้ความเสี่ยงโรคลมชักเพิ่มขึ้นหากมีอาการชักที่ยาวนาน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทอื่น ๆ รวมทั้งมีประวัติโรคลมชักในครอบครัว

อาการโรคลมชัก

สำหรับอาการของโรคลมชัก จะแสดงความผิดปรกติให้เห็นชัดเจน จากอาการชัก ไม่สามารถควบคุมร่างกายอย่างมีสติได้ โรคนี้หากอยู่คนเดียวจะเป็นอันตราย ผู้ป่วยโรคลมชักไม่ควรทำกิจกรรมหลาย เช่น ทำงานบนที่สูง ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ขับรถ  เป็นต้น ลักษณะของอาการชัก แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ อาการชักเฉพาะส่วน และ อาการชักแบบต่อเนื่อง รายละเอียดดังนี้

อาการชักเฉพาะส่วน ( Focal Seizures ) คือ เกิดอาการชักบางส่วนในร่างกาย ซึ่งก็สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ อาการชักเฉพาะส่วนแบบรู้ตัว และ อาการชักเฉพาะส่วนแบบไม่รู้ตัว รายละเอียดดังนี้

  • อาการชักเฉพาะส่วนแบบชักแบบรู้ตัว (Simple Focal Seizures) ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกแปลกๆ รู้สึกวูบ อาจเกิดจากความกลัวอย่างกะทันหัน รู้สึกชาที่แขนและขา หรือ มีอาการชักกระตุกที่แขนและมือ เป็นต้น อาการชักมีสัญญาณเตือนของอาการชักผู้ป่วยและคนรอบมักจะเตรียมรับมือได้ทัน
  • อาการชักเฉพาะส่วนแบบไม่รู้ตัว ( Complex Partial Seizures ) ผู้ป่วยจะไม่สามารถรับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบข้างได้เลย เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวอาการชักก็ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเวลาใด

อาการชักต่อเนื่อง ( Status Epileptics ) อาการชักชนิดนี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันมากกว่า 30 นาที เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากเป็นอันตรายต่อสมอง

แนวทางการวินิจฉัยโรคลมชัก

เนื่องจากระบบประสาทและสมอง มีความซับซ้อนมาก ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และ ใช้เครื่องมือที่มีความพิเศษสูง จึงจะสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของโรคได้อย่างชัดเจน เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง การแสกนเอ็มอาร์ไอ เป็นต้น

การรักษาโรคลมชัก

แนวทางการรักษาโรคลมชักขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยของการเกิดโรค บางครั้งสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่บางครั้งก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ การรักษาจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง ใช้การรับประทานยาต้านอาการชัก ซึ่งกลไกหลักของยาต้านอาการชักคือ ยาจะเข้าไปปรับเปลี่ยนปริมาณสารเคมีในสมองช่วยลดโอกาสการเกิดอาการชัก ในกรณีที่ใช้ยาไม่สามารถควบคุมอาการชัก อาจต้องรับการผ่าตัด เพื่อกระตุ้นเส้นประสาทสมอง ( Vagus Nerve Stimulation )  และ กระตุ้นสมองส่วนลึก ( Deep Brain Stimulation )

  • หากผู้ป่วยเป็นโรคลมชัก และ ตั้งครรภ์ต้องรีบปรึกษาแพทย์ เนื่องจาก ยาลดการชักมีผลต่อทารกในครรภ์ ทางที่ดีให้คุมกำเนิดรอจนอาการชักหายเป็นปกติก่อนดีกว่า
  • หากต้องเดินทางควรรับประทานยาให้ตรงเวลา ไม่ควรเลื่อนการรับประทานยา
  • ในเด็กหากต้องไปโรงเรียนจะต้องแจ้งให้ครูประจำชั้นทราบ เพื่อ ไม่ให้เกิดการแตกตื่น และ สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ทันเวลา

การป้องกันโรคลมชัก

เนื่องจากโรคลมชักไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค สิ่งที่สามารถป้องกัน คือ ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบ โดยแนวทางการป้องกันมีดังนี้

  • รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • สวมป้ายข้อมือทางการแพทย์ ระบุว่าเป็นโรคลมชัก เพื่อให้คนรอบข้างทราบว่าต้องช่วยผู้ป่วยอย่างทันท่วงที
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

 

โรคลมชักEpilepsy ) คือ ความผิดปรกติของระบบไฟฟ้าในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก อาการชักในแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ หายได้เองใน 3 นาที แนวทางการรักษาทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้
คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
เห็ดเข็มทอง สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของเห็ดเข็มทอง
เห็ดเข็มทอง
ฟักแม้ว มะระหวาน สมุนไพร พืชสวนครัว
ฟักแม้ว
กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา สมุนไพรไทย
กระเพรา
ผักตำลึง สมุนไพร พืชสวนครัว ตำลึง
ผักตำลึง
สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร