โลน สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาศัยบนขน กินเลือดมนุษย์ ทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง คันตามขนต่างๆ เช่น ขนหน่า ขนรักแร้ คิ้ว หนังศรีษะ ตุ่มบวมแดงคัน เกิดแผลอักเสบ
โลน ติดเชื้อโลน โรคติดเชื้อ
ตัวโลน
Pthirus pubis ) คือ สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่ชอบอาศัยอยู่ที่บริเวณขนหยาบ เช่น ขนที่หัวเหน่า ขนรักแร้ เป็นต้น ตัวโลนมีขนาดประมาณ 2 มม. สีเหลืองเทา รูปร่างคล้ายปู มักจะวางไข่บนขน ซึ่งสามารถมองเห็นเป็นเม็ดๆสีน้ำตาลกระจัดกระจาย โลนจะมีวงจรชีวิตคล้ายตัวเหาแต่เป็นสิ่งมีชีวิตคนละกลุ่มกัน

การที่โลนอาศัยบนขนของมนุษย์ทำให้เกิดการติดเชื้อโลน และ สามารถแพร่กระจายสู่คนอื่นๆได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อโลน ไม่เกี่ยวกับความสกปรก หรือ การดูแลความสะอาดของร่างกายที่ไม่ดีพอ แต่เกิดจากการเจริญเติบโตของโลนบนขนของมนุษย์ ซึ่งชอบอยู่บริเวณขนหยาบ เช่น ขนที่หัวเหน่า ขนรักแร้ ขนหน้าแข้ง ขนบริเวณท้อง ขนหน้าอก และเครา เป็นต้น ตัวโลนไม่สามารถกระโดดได้แต่มันจะค่อยๆ คืบคลานไปตามขนและพื้นผิว ดังนั้น การนอนเตียงเดียวกันคนที่มีตัวโลนอาศัยอยู่มีโอกาสการติดเชื้อโลนได้

ตัวโลนที่พบได้ในร่างกายมนุษย์ มีทั้งหมด 3 ลักษณะ คือ ไข่โลน ตัวอ่อนโลน และ โลนตัวเต็มวัย รายละเอียดของลักษณะโลนในร่างกายมนุษย์ มีดังนี้

  • ไข่โลน ( Nit ) ลักษณะเล็กมากจนมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ไข่ของโลนมีสีขาว มักเกาะตามเส้นขน ซึ่งไข่โลนใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 6-10 วัน ก่อนจะเป็นตัวอ่อน
  • ตัวอ่อนโลน ( Nymph ) จะอาศัยอยู่ที่บริเวณอวัยวะเพศ โดยกินเลือดของมนุษย์เป็นอาหาร ตัวอ่อนจะคล้ายกับโลนตัวโตเต็มวัยแต่มีขนาดเล็กกว่า ใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์กว่าจะโตเต็มวัย
  • โลนตัวเต็มวัย ( Adult ) ตัวโลนจะมีสีน้ำตาลอ่อน ขาหน้า 2 ขาจะใหญ่ลักษณะคล้ายก้ามปู โลนตัวเมียตัวจะใหญ่กว่าโลนตัวผู้

สาเหตุการติดเชื้อโลน

สำหรับสาเหตุการติดเชื้อโลน เกิดจากการมีตัวโลนอาสัยบนขนของมนุษย์ และ โลนดูดเลือดมนุษย์เป็นอาหารทำให้เกิดการติดเชื้อโรคได้ ซึ่งโลนสามารถแพร่สู่คนอื่นๆได้โดยผ่านการสัมผัสอย่างใกล้ชิด เช่น การกอด จูบ แต่ที่มักพบได้บ่อยที่สุด คือ การติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีโลนอาศัยบนขน ซึ่งการติดโลนไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการสวมถุงยางอนามัย หรือ การใช้ยาคุมกำเนิด

นอกจากนี้ การใช้ผ้าร่วมกัน การใช้ห้องน้ำร่วมกันก็สามารถทำให้มีโอกาสติดโลนได้ แต่มีโอกาสน้อยมาก ปัจจัยเสียงที่ทำให้มีโอกาสติดโลน มีรายละเอียด ดังนี้

  • การอยู่อาศัยใกล้คนที่มีโลนอาศัยขนขน
  • การนอนร่วมเตียงกับคนที่มีโลนอาศัยบนขน
  • การใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกับคนที่มีโลนอาศัยบนขน

อาการของโรคโลน

ลักษณะอาการของคนที่ติดโลน ลักษณะอาการที่เด่นชัด คือ คันบริเวณขนที่มีโลนอาศัยอยู่ เช่น อวัยวะเพศ ทวารหนัก ใต้รักแร้ บริเวณที่มีขน เช่น ขา หน้าอก ท้อง หรือหลัง หนวด เครา คิ้ว หรือขนตา เป็นต้น หลังจากที่โดนโลนดูดเลือดและติดเชื้อจะมีอาการผิดปรกติของร่างกาย ต่างๆ ดังนี้

  • มีไข้ต่ำ ๆ
  • อ่อนแรง ไม่มีแรง
  • มีรอยช้ำเล็ก ๆ จากการกัดบนผิวหนังบริเวณต้นขา หรือหน้าท้องส่วนล่าง
  • มีผงลักษณะสีดำติดที่กางเกงชั้นใน
  • รู้สึกคันมากบริเวณที่มีตัวโลนอาศัยอยู่
  • มีผลหรือตุ่มแดง

การรักษาโรคโลน

แนวทางการรักษาโลน สามารถรักษาได้ด้วยการใช้แชมพู โลชั่น หรือครีมที่มีส่วนประกอบของสารกำจัดแมลงจำพวกโลนหรือเหา  แต่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างใกล้ชิิด แต่วิธีการรักษาที่ง่ายที่สุด คือ การกำจัดขนส่วนที่มีโลนเกาะอยู่โกนขนออกให้เกลี้ยง เพียงเท่านี้ตัวโลนก็ไม่สามารถจะเกาะอะไรได้

การป้องกันโรคโลน

สำหรับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อโลน คือ การไม่ให้มีตัวโลนอาศัยขนขนของเรา ซี่งแนวทางการป้องกันการติดโลน มีดังนี้

  • ควรหลีกเลี่ยง การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็น โรคโลน
  • ดูแลความสะอาดตัวเอง อย่างสม่ำเสมอ
  • หมั่นทำความสะอาด เตียงนอน ซักผ้าห่ม และ ซักผ้าปูที่นอนเป็นประจำ
  • นำเครื่องนอนออกมาตากแดด อยู่สม่ำเสมอ
  • ควรหลีกเลี่ยง การใช้สิ่งของร่วมกับ ผู้ป่วยที่เป็นโรคโลนอยู่ เช่น เสื้อชั้นใน ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
  • หากรักษาโรคโลน จนหายเป็นปกติแล้ว ควรนำของใช้ทั้งหมดไปทิ้ง หรือ ไม่ก็เอาไปต้มในน้ำร้อน และ นำไปตากแดด เพื่อ ฆ่าตัวโลนให้ตาย ตัวโลน หากอยู่นอกร่างกายมนุษย์เกิน 2 วัน มันจะตายทันที
  • ทำความสะอาดร่างกาย และ บริเวณซ่อนเร้น ก่อน และ หลังมีเพศสัมพันธ์
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้
คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
เห็ดเข็มทอง สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของเห็ดเข็มทอง
เห็ดเข็มทอง
ฟักแม้ว มะระหวาน สมุนไพร พืชสวนครัว
ฟักแม้ว
กระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา สมุนไพรไทย
กระเพรา
ผักตำลึง สมุนไพร พืชสวนครัว ตำลึง
ผักตำลึง
สุขภาพน่ารู้
ความรู้ต่างๆเกี่ยวข้องกับสุขภาพและการดูแลร่างกาย เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรค แนวทางการดูแลร่างกาย ตั้งแต่เรื่องอาหาร การบำรุงความงามของร่างกาย ซึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย

ความสวยความงาม เรื่องของผู้หญิง
ความสวยงาม

อาหารสุขภาพ อาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ
อาหารสุขภาพ
แม่และเด็ก การเลี้ยงลูก พัฒนาการเด็ก
แม่และเด็ก
สมุนไพร สมุนไพรไทย สมุนไพรมีอะไรบ้าง
สมุนไพร