ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมใช้ใบมาทำน้ำใบย่านาง ลักษณะของต้นย่างนาง ประโยชน์และสรรพคุณ เช่น ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด โทษของย่างนาง

ย่านาง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นย่านาง ชื่อสามัญ คือ Bamboo grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra (Colebr.) Diels สำหรับต้นย่านางมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ตามพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตามป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ต้นย่านางขยายพันธ์ง่าย โดยการปักชำ แตกหน่อ หรือ การเพาะเมล็ด เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางสดๆ ขนาด 100 กรัม พบว่าใบย่ายางขนาด 100 กรัมให้พลังงานมากถึง 95 กิโลแคลอรี

ใบย่านางขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม  ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ใบย่านางขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 141 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง พืชล้มลุก เป็นเถาไม้เลื้อย ปลูกง่าย พบได้ตามพื้นที่ชุ่มชื้น ของป่าต่างๆ ทั้ง ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ การขยายพันธ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ด หรือ แตกหน่อ ลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว สีเขียว เป็นเถา ลำต้นย่านางเกี่ยวพันกับไม้อื่น และ เถาแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวเข้ม ลำต้นผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง รากของย่านางลักษณะเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว เป็นมัน ในออกจากลำต้นเรียงสลับกัน
  • ดอกของย่านาง ดอกย่านางออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ดอกออกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก สีเหลือง ดอกของย่างน่างจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
  • ผลของย่านาง ลักษณะกลมรี สีเขียว มีขนาดเล็ก ผลแก่ของย่านาง สีเหลืองอมแดง มีเมล็ดด้านใน ลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

ประโยชน์ของใบย่านาง

ต้นย่างนางเป็นพืชที่ให้ออกซิเจนสูง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีมลพิษสุง เพราะ ต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์ของย่านาง นิยมนำมาทำอาหาร ใบย่านาง เป็นส่วนประกอบของอาหาร ทำน้ำใบย่านาง

ใบย่านาง ทำให้ผมดกดำ ช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ย่านางนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

การใช้ประโยชน์จากต้นย่านาง สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก รากย่านาง และ ใบย่านาง โดยรายละเอียดของสรรพคุณของย่านาง มีดังนี้

  • รากย่านาง พืชมีรสขม สรรพคุณของรากย่านาง รักษาไข้ แก้ไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ช่วยขับพิษต่างๆ
  • ใบยางนาง พืชมีรสขม สรรพคุณช่วยรักษาอาการไข้ ช่วยชะลอวัย เป็นยาอายุวัฒนะ สร้างภูมิต้านทานโรคให้ร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง ลดความอ้วน ช่วยปรับสมดุลย์ร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการเวียนหัว ป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด แก้ปวดตามตัว แก้ปวดกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ บำรุงสายตา ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง น้ำสมุนไพร แต่ใบย่านางกลิ่นแรง กินยาก การทำน้ำใบย่างนาง หากไม่ปรุงรส อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนการกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง
  • การดื่มน้ำใบย่านาง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ควรดื่มมากเกินไป
  • น้ำใบย่านาง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง
  • การกินอาหารเสริมจากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด

รกคน คือ เนื้อเยื้อจากสตรีตั้งครรภ์ มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย ฟื้นฟูสภาพร่างกายที่เสื่อม ประโยชน์ของรก สรรพคุณของรก วิธีให้รกในการบำรุงร่างกาย

รกคน สมุุนไพร สมุนไพรไทย

รก คือ เป็นเซลล์เนื้อเยื่อหนึ่งที่เกิดหลังจากการปฏิสนธิ  จะเกิดขึ้นกับสตรีที่ตั้งท้อง เพราะ มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นร่างกายก็จะสร้างเซลล์ขึ้นมา มี 2 ส่วน คือ ส่วนแรกจะเจริญเติบโตเป็นทารก และ อีกส่วนจะไปสร้างเป็นรก เกาะอยู่ตรงส่วนผนังด้านในของมดลูกอยู่นอกถุงน้ำคร่ำ และ มีสายสะดือเชื่อมระหว่างรกกับทารก

ลักษณะของรก 

รกจะมีลักษณะทรงแบนๆ ถ้าทารกตัวเล็กรกก็จะเล็กด้วย ทารกที่ตัวใหญ่รกก็จะใหญ่ไปด้วย

หน้าที่ของรก

สำหรับรกนั้นมีหน้าที่ในประบวนการสร้างชีวิตของเด็กในท้อง หลังจากปฏิสนธิ หน้าที่ของรก มีดังนี้

  • ช่วยลำเลียงอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเด็กในท้อง
  • ช่วยขับถ่ายของเสียออกจากตัวเด็กในท้อง
  • ช่วยสร้างฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์ของผู้หญิง
  • ช่วยสร้างฮอร์โมนให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีความพร้อมต่อการฝังตัวของไข่

มีความเชื่อด้านแพทย์แผนโบราณเกี่ยวกับรก มีการนำรกมาทำยาบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนา ทำให้ผิวพรรณดี ซึ่งในปัจจุบันพบว่า รกของคม มีสารตั้งต้นสำคัญมากกว่า  8000 ชนิด  ซึ่งสารเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อร่างกาย พ.ศ. 2455 Dr.Alexis Carrel ได้รับรางวัลโนเบล จากการศึกษาค้นพบว่า สารสกัดจากรกคน ช่วยทำให้เนื้อเยื่อของคนสูงอายุฟื้นฟูสภาพได้ ในปี พ.ศ. 2473 Dr.Paul Neihans พบว่าสารสกัดจากรกคน ทำให้ เนื้อเยื่อ ต่อม และอวัยวะต่างๆที่เสื่อมสภาพ สามารถฟื้นฟูกลับมาได้

เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน มีการนำรกมาสกัด ทั้งชนิดทา ยากิน และ ยาฉีด ใช้เพื่อบำรุงสุขภาพและความสวยงาม  มีการนำเอาเซลล์ต้นกำเนิด ( Stem Cell) จากรกคน ใช้รักษาโรคต่างๆทางการแพทย์

ตามตำราจีน มีการบันทึกสรรพคุณรกของคน ว่าเป็นยาบำรุงร่างกาย ทำให้อายุยืนยาว ชะลอวัย บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง บำรุงไต บำรุงกระดูก บำรุงเลือด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ทำให้ผมดกดำ

วิธีใช้รกในการบำรุงร่างกายและรักษาโรค

  • รกแห้งบดเป็นผงใส่แคปซูล กินวันละ  2 – 3 ครั้ง  หรือ นำรกสดๆประมาณครึ่งหนึ่งมาต้มกิน ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงพลัง บำรุงเลือด บำรุงไต เพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกาย
  • ตุ๊กแกแห้ง ต้มกับรกสด ต้มกินสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ใช้บำรุงร่างกาย
  • รก กับ ตั่งเซิน ช่วยแก้โลหิตจาง
  • รก กับ ฝู่เซิน ช่วยแก้เหนื่อยล้า แก้นอนไม่หลับ
  • รก ตั่งเซิน และ หวงฉี ช่วยให้ร่างกายกระปรี่กระเปร่า
  • รก กับ สูตี้ กับ ตังกุย ช่วยบำรุงเลือด ทำให้สดชื่น
  • รก กับ ตั่งเซิน กับ อู่เหว่ยจื่อ ช่วยแก้ไอ เพิ่มพลังปอด
  • รก กับ หวงจิง หู่จั้ง ช่วยบำรุงเลือด
  • รก กับ กุยปั่น กับ หวงป๋อ ช่วยบำรุงสมอง แก้ปวดเมื่อยเอว แก้ปวดหัว
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย