ลิ้นหัวใจรั่ว การทำงานของลิ้นหัวใจผิดปรกติ มักเกิดกับเด็ก อาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เสี่ยงหัวใจล้มเหลว อันตรายถึงเสียชีวิตได้ สาเหตุ การรักษาและป้องกันอย่างไรลิ้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจ โรคไม่ติดต่อ

โรคลิ้นหัวใจรั่ว คือ ภาวะความผิดปรกติในของการทำงานของลิ้นหัวใจ การเกิดจากกล้ามเนื้อที่ลิ้นหัวใจเสื่อมเร็วกว่าปกติ ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ อาจทำให้หัวใจล้มเหลว เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีการใช้ชีวิตที่ไม่ปรกติ ต้องระมัดระวังการใช้ชีวิตอย่างสูง

สาเหตุของการเกิดโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับโรคนี้สาเหตุของการเกิดโรคมาจากความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด เช่น ความผิดปรกติของลิ้นหัวใจเอง หรือ เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจตัน เป็นต้น ซึงสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • ภาวะความผิดปกติของตัวอ่อนตั้งแต่ในครรภ์มารดา
  • ลิ้นหัวใจมีคราบหินปูนเกาะ ทำให้ลิ้นหัวใจเสื่อม
  • ภาวะแทรกซ็อนจากโรคหัวใจรูมาติด
  • การติดเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่กระแสเลือดจนเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ

อาการผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับการแสดงอาการของโรค อาการจะค่อยๆแสดงอาการ ซึ่งในระยะแรกไม่แสดงอาการให้รู้ แต่เมื่ออายุมากจะพบว่ามีอาการเหนื่อยง่าย หายใจลำบาก อ่อนเพลีย และ ไม่มีแรง ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของอาการโรคลิ้นหัวใจรั่ว ได้ดังนี้

  • เจ็บหน้าอก
  • วิงเวียนศีรษะ เป็นลม
  • เหนื่อยง่าย หายใจลำบากเมื่อออกแรง
  • เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้
  • ไอ มีเสมหะปนเลือด
  • เท้าบวม ขาบวมกดบุ๋ม ท้องมาน

การตรวจวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคแพทย์จะซักประวัติ สอบถามลักษณะอาการที่แสดงออก และ ทำการการตรวจคลื่นเสียงสะท้อน ตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อวินิจฉัยโรค

การรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สำหรับแนวทางการรักษาหากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง สามารถใช้การรักษาด้วยการให้ยาขับปัสสาวะ เพื่อช่วยให้หัวใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่หากมีอาการรุนแรง ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดมีดังนี้

  • การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ( Vale Repair ) ทำเพื่อซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติให้กลับมาทำงานได้  ซึ่งสามารถทำได้บางรายเท่านั้น
  • การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ( Valve Replacement ) หากลิ้นหัวใจไม่สามารถกลับมา ทำงานตามเดิมได้อีก ก็จะต้องผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งลิ้นหัวใจเทียมมี 2 ชนิด คือ ลิ้นหัวใจโลหะ และ ลิ้นหัวใจเนื้อเยื่อ ซึ่งลิ้นหัวใจโลหะมีความคงทน แต่ต้องกินยาป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวง่าย ผู้ป้วยใช้ลิ้นหัวใจโลหะต้องกินยาตลอดชีวิต แต่สำหรับลิ้นหัวใจเนื้อเยื่อ สามารถใช้ได้ไม่เกิน 15 ปี เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 70 ปี

แนวทางการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว

เนื่องจากสาเหตุของโรคลิ้นหัวใจร่วม มีทั้งสาเหตุจากอาการโดยกำเนิด และ ภาวะความผิดปรกติของลิ้นหัวใจจากภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อในกระแสเลือด แนวทางการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว จึงมีแนวทางดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรถ์ ควรดูแลทารกในครรภ์ให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์
  • หลีกเลี่ยง ภาวะความเสี่ยงการติดเชื้อโรคต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารมัน เพื่อป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และ สม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ดื่มสุรา และ ไม่สูบบุหรี่
  • รับประทานอาการที่มีประโยชน์

แนวทางการดูแลตนแองสำหรับผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว

ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วต้องรู้ตนเอง และ ขีดความสามารถของตนเองในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงจำเป็นต้องให้คนรอบข้างรับรู้ถึงเรามีปัญหาโรคลิ้นหัวใจรั่ว แนวทางการปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว มีดังนี้

  • ไม่ควรออกกำลังกายหนัก หรือ หักโหม เกินไป
  • เลิกดื่มสุรา
  • เลิกสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ ไม่รับประทานอาหารรสจัด เช่น หวาน มัน เค็ม เกินไป
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากจำเป็นต้องทำฟัน ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค

โรคลิ้นหัวใจรั่ว การทำงานของลิ้นหัวใจผิดปรกติ เกิดมากในเด็ก ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง มีความเสี่ยงหัวใจล้มเหลว สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร แนวทางการรักษาโรค และ การป้องกันโรคทำอย่างไร

หัวใจพิการโดยกำเนิด ความผิดปรกติของเด็กตั้งแต่ในท้องแม่ อาการตัวเขียว หายใจแรง เหนื่อยง่าย ไม่กินอาหาร การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และ การป้องกันทำอย่างไรหัวใจพิการโดยกำเนิด โรคเด็ก โรคหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด คือ ความผิดปรกติของหัวใจโดยกำเนิด เกิดจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื้อต่างๆในร่างกายอย่างเพียงพอ ซึ่งจากสาเหตุนี้ส่งผลต่อร่างกายต่างๆ เช่น เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว ตัวเล็กกว่าเด็กในวัยเดียวกัน โรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กเป็นอันดับหนึ่ง อัตราการเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 80 ของเด็กที่ป่วยโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สำหรับโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด ในปัจจุบันยังไม่สามารถทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ แต่ความผิดปกติของหัวใจเกิดขึ้นตั้งแต่การสร้างอวัยวะตั้งแต่ทารกในครรภ์ของมารดา และอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือ การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคได้ดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากมารดา
  • ความผิดปกติของเด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดา
  • ภาวะการผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งพบมากในเด็กกลุ่มดาวน์ซินโดรม
  • การติดเชื้อโรคในระหว่างการตั้งครรภ์
  • การได้รับสารเคมีตั้งแต่ในครรภ์มารดา เช่น สารเคมี ยาเสพติดต่างๆ

ชนิดของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สำหรับโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด สามารถแบ่งชนิดของโรคได้ 2 ชนิด คือ หัวใจพิการชนิดเขียว และ หัวใจพิการชนิดไม่เขียว รายละเอียด ดังนี้

  • หัวใจพิการโดยกำเนิดชนิดเขียว เกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด เกิดภาวะขาดออกซิเจนทำให้ผิวเป็นสีเขียวคล้ำม่วง ซึ่งสามารถสังเกตุเห็นได้ชัดเจน คือ ขณะเด็กร้องไห้ หรือ เด็กดูดนม จะเขียวมากขึ้น
  • หัวใจพิการโดยกำเนิดชนิดไม่เขียว เกิดจากความผิดปกติในโครงสร้างของระบบหลอดเลือดและหัวใจ อาจเกิดที่ผนังกั้นหัวใจมีรูลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท หรือไม่กว้างเท่าปกติ

อาการโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สำหรับอาการของโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด จะแสดงอาการให้เห็นจากลักษณะการหายใจและผิวพรรณ โดยสามารถสังเกตุอาการผิดปรกติเบื้องต้นได้ ดังนี้

  • ผิวเป็นสีเทา หรือ สีเขียว โดยเฉพาะ ริมฝีปาก ผิวหนัง นิ้วมือ และเท้า
  • อาการหายใจผิดปรกติ หายใจเร็ง เจ็บหน้าอก และ หายใจลำบาก
  • มีอาการบวม โดยเฉพาะ ขา ท้อง และ รอบดวงตา
  • ไม่ยอมกินอาหาร
  • การเจริญเติยโตของเด็กช้า ไม่เป็นตามปรกติ
  • เหนื่อยง่าย
  • เวียนหัว หรือ หมดสติ
  • หัวใจเต้นผิดปกติ

การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

แนวทางการรักษาโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด สามารถใช้การรักษาได้หลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์ และ ความรุนแรงของอาการป่วย โดยวิธีที่แพทย์อาจนำมาใช้ในการรักษา มีดังนี้

  • การใช้ยารักษา เป็นการให้ยาเพื่อช่วยการทำงานของหัวใจ เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยารักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
  • การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ ช่วยปรับการทำงานของหัวใจให้กลับมาเต้นปกติ
  • การสวนหัวใจและหลอดเลือด เพื่อปิดหลอดเลือดหรือผนังหัวใจที่มีรูเปิดผิดปกติ เป็นต้น
  • การผ่าตัดหัวใจ ต้องผ่าตัดเปิดหัวใจเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ปิดรอยรั่วในหัวใจ ซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น
  • ารผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ หากปัญหามีความซับซ้อนและการรักษาไม่ได้ผล อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

การป้องกันโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สำหรับแนวทางการป้องกันโรค ควรลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจพิการโดยกำเนิด จากการวางแผนการตั้งครรภ์ และ ดูแลทารกตั้งแต่ในครรภ์ แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ควรปรึกษาแพทย์ เรื่องการใช้ยา และ การรับประทานอาหาร ในระหว่างการตั้งครรภ์
  • หากคนในครอบควรมีประวัติโรคหัวใจพิการ ควรปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันก่อนตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ระหว่างตั้งครรภ์

โรคหัวใจพิการโดยกำเนิด ความผิดปรกติตั้งแต่ในท้องแม่ ควรดูแลร่างกายในขณะตั้งครรภ์ ลักษณะอาการเด็กตัวเขียว หายใจแรง เหนื่อยง่าย ไม่กินอาหาร แนวทางการรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และ การป้องกันโรค ทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย