ต้นมะขาม Tamarind นิยมทานผลมะขาม ผลไม้ รสเปรี้ยวหวาน ต้นมะขามเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาระบาย บำรุงผิว แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม โทษของมะขามมะขาม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้

มะขาม มีชื่อสามัญ ว่า Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขาม คือ  Tamarindus indica L. พืชตระกูลถั่ว มะขาม เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้น ถิ่นกำเนิดของมะขาม มาจากทวีปแอฟริกา มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศแถบเอเชีย จากช่องทางการค้าทางเรือ มะขามในความเชื่อตามตำราพรหมชาติ มะขามเป็นไม้มงคล ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้าย ทำให้เป็นคนเกรงขาม

มะขามในประเทศไทย

มะขามในประเทศไทย จัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สำหรับจังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องมะขาม คือ เพชรบูรณ์ มีฉายาว่า เมืองมะขามหวาน เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับ การปลูกมะขาม มะขามในประเทศไทย มี 2 กลุ่ม คือ มะขามเปรี้ยว ( sour tamarind ) และ มะขามหวาน ( sweet tamarind )

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม

สำหรับ ประโยชน์ของมะขาม นักโภชนากการ ได้ ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะขามดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 239 กิโลแคลอรี

มะขามดิบ ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.5 กรัม น้ำตาล 57.4 กรัม กากใยอาหาร 5.1 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ธาตุแคลเซียม 74 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 92 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 113 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 628 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม และสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

มะขามดิบ ขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินบี 1 0.428 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.152 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.938 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.143 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 8.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม

ลักษณะของต้นมะขาม

ต้นมะขาม คือ ไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลักษณะแตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่มีหนาม ลักษณะของต้นมะขาม มีดังนี้

  • ลำต้นมะขาม ตั้งตรง สูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกขรุขระ หนา สีน้ำตาลอ่อน
  • ใบมะขาม มีขนาดเล็ด จำนวนมาก ใบเป็นใบประกอบ ปลายใบและโคนใบมน
  • ดอกมะขาม ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลือง มีจุดประสีม่วงแดง
  • ผลมะขาม ออกเป็นฝักยาว ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมเทา หรือ สีน้ำตาลเกรียม มีเนื้อในติดกับเปลือก ส่วนฝักแก่ฝัก เปลือกแข็งกรอบ และ หักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในเป็นสีน้ำตาล เนื้อมะขามแก่มีรสเปรี้ยว มีเมล็ด

สรรพคุณของมะขาม

สำหรับมะขาม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค มะขามนิยมนำใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง และ ปรุงรสชาติของอาหาร สรรพคุณของมะขาม มีดังนี้

  • รากมะขาม สรรพคุณ แก้ท้องร่วง ช่วยสมานแผล รักษาเริม รักษางูสวัด
  • เปลือกต้นมะขาม สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้ไข้ แก้ตัวร้อน
  • แก่นไม้มะขาม สรรพคุณช่วยขับโลหิต ขับเสมหะ รักษาฝีในมดลูก รักษาโรคบุรุษ เป็นยาชักมดลูก ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ สำหรับสตรีหลังคลอด
  • ใบมะขาม มีความเป็นกรดเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาถ่าย ช่วยขับถ่าย ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้ปวดท้อง รักษาไข้หวัด ขับเสมหะ แก้ตาอักเสบ ฟอกโลหิต ขับเหงื่อ
  • เนื้อของผลมะขาม สรรพคุณแก้ท้องผูก เป็นยาระบาย ขับเสมหะ แก้ไอ แก้กระหายน้ำ ช่วยเจริญอาหาร
  • ผลมะขามดิบ สรรพคุณช่วยฟอกเลือด ลดความอ้วน เป็นยาระบายอ่อนๆ ลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดไข้
  • เนื้อในเมล็ดมะขาม สรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลม ถ่ายพยาธิเส้นด้าย
  • เปลือกเมล็ดมะขาม สรรพคุณแก้ท้องร่วง รักษาแผลในปาก รักษาแผลสด ถอนพิษ รักษาไฟไหม้
  • ดอกมะขาม สรรพคุณลดความดันโลหิต

โทษของมะขาม

มะขาม มีรสเปรี้ยว มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ก็เกิดโทษได้ สำหรับข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากมะขาม มีดังนี้

  • มะขามเปียก ที่ซื้อในตลาดอาจมีสิ่งสกปรกเจือปน หากนำมาทำอาหาร หรือ รับประทานแบบไม่สะอาด อาจทำให้ท้องเสียอย่างหนัก ซึ่งมะขามมีสรรพคุณเป็นยาระบายอยู่แล้ว อาจเป็นอันตรายได้หากเกิดภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร และ ภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • มะขามเปียกใช้ขัดผิว หรือ พอกหน้า แต่หากใช้มะขามเปียกเกินอาทิตย์ละ 2 ครั้ง อาจทำให้ผิวระคายเคืองได้
  • สำหรับการขัดผิว หรือ พอกหน้า ด้วยมะขามปียก อย่าลืมบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ด้วยครีมบำรุงผิว และ ครีมกันแดด

การปลูกมะขาม

สำหรับการปลูกมะขาม นิยมขยายพันธุ์มะขาม โดยการทาบกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง มะขามขึ้นได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ฤดูปลูกที่เหมาะสมในการปลูกมะขามคือฤดูฝน รายละเอียด การปลูกมะขาม มีดังนี้

  • เตรียมดินโดยขุดหลุมกว้าง ยาว และ ลึก ด้านละ 60 ซม.
  • ใส่ปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าดินรองก้นหลุม
  • เอากิ่งพันธุ์ ลงปลูก รดน้ำให้ชุ่ม มะขามเมื่อลงดินแล้วจะโตเร็ว
  • ควรใช้ไม้หลักพยุงไว้ให้แน่น และ บำรุงรักษาหลังเริ่มปลูก เอาใจใส่รดน้ำทุกวัน กำจัดหญ้ารอบต้น

ต้นมะขาม ( Tamarind ) พืชพื้นเมือง นิยมทานผลมะขาม เป็น ผลไม้ รสเปรี้ยว และ หวาน ลักษณะของต้นมะขาม ประโยชน์ของมะขาม สรรพคุณของมะขาม เช่น เป็นยาระบาย บำรุงผิว แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ โทษของมะขาม

ชุมเห็ดเทศ กระตุ้นให้ปัสสาวะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ไม่ควรใช้ เพราะ อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะโพแทสเซียมในร่างกาย โทษของเห็ดชุมเทศเป็นพิษกับระบบสืบพันธ์ ต้นเห็ดชุมเทศเป็นอย่างไรชุมเห็ดเทศ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ชุมเห็ดเทศ ชื่อสามัญ เรียก Candelabra bush ชื่อวิทยาศาสตร์ของชุมเห็ดเทศ เรียก Senna alata (L.) Roxb. เห็ดชุมเทศเป็นไม้ล้มลุกตระกูลถั่ว พืชพื้นเมือง ดอกสีเหลืองทอง สวยงาม สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เห็ดชุมเทศในประเทศไทย พบได้ในตอนบนของประเทศ และ เขตภูเขาสูง ชื่อเรียกอื่นๆของชุมเห็ดเทศ เช่น ส้มเห็ด จุมเห็ด ขี้คาก ลับหมื่นหลวง ลับมืนหลาว หญ้าเล็บมือหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ด ชุมเห็ดใหญ่ ตะสีพอ ตุ๊ยเฮียะเต่า  ฮุยจิวบักทง ตุ้ยเย่โต้ว เป็นต้น

ลักษณะของต้นชุมเห็ดเทศ

ต้นชุมเห็ดเทศ พืชล้มลุก ขนาดกลาง ทรงพุ่ม ในประเทศไทยพบได้ตามเขตภูเขาสูง การขยายพันธ์ของชุมเห็ดเทศใช้การเพาะเมล็ด ต้นชุมเห็ดเทศมีลักษณะ มีดังนี้

  • ลำต้นของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของลำต้น เรียบ ตรง มีขน สีน้ำตาล ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบของชุมเห็ดเทศ ลักษณะใบทรงรี ใบหยัก ปลายใบโค้งมน เรียงสลับกันตามกิ่งก้าน เนื้อของใบค่อนหนา หยาบ และ เหนียว
  • ดอกของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของดอก ตั้งตรง รูปไข่ ดอกมีขนาดใหญ่ สึเหลืองทาง ออกตามซอกใบ และ ปลายกิ่ง
  • ผลของชุมเห็ดเทศ ลักษณะของผลเป็นฝัก ยาว แบน เรียบ ไม่มีขน ฝักแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ มีเมล็ดอยู่ภายในฝัก

ประโยชน์ของชุมเห็ดเทศ

มีการนำเอาชุมเห็ดเทศ มาใช้ประโยชน์ด้านอาหาร นิยมกินยอดอ่อน และ ดอกชุมเห็ดเทศ กินเป็นผักสด โดยนำมาลวกก่อนนำมากิน  แต่ด้วยความสวยงามของดอกชุมเห็ดเทศ นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ความสวยงามของบ้าน

สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ

การใช้ชุมเห็ดเทศด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น ชุมเห็ดเทศ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ต้นของชุมเห็ดเทศทั้งต้น มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ แก้กษัยเส้น ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • เปลือกของต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับน้ำเหลืองเสียออกจากร่างกาย
  • ใบของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ลดความดันเลือด ลดน้ำตาลในเลือด แก้ปวดเส้น  แก้กษัย ขับเสมหะ ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ใช้เป็นยาบ้วนปาก เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคผิวหนังต่างๆ เช่น รักษาแผล รักษาฝี รักษาแผลพุพอง เป็นต้น
  • รากของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ปรับสมดุลย์ของร่างกาย แก้กษัย แก้ตาเหลือง ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • ดอกของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ รักษาโรคท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร
  • เมล็ดของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยผ่อนคลาย รักษาอาการนอนไม่หลับ ช่วยขับพายธิ แก้พิษตานซาง รักษาอาการท้องอืด รักษาริดสีดวงทวาร
  • ผลของชุมเห็ดเทศ มีสรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ รักษาริดสีดวงทวาร

โทษของชุมเห็ดเทศ

ชุมเห็ดเทศ มีพิษเป็นยาเบื่อ การใช้ประโยชน์จากชุมเห็ดเทศ มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • ชุมเห็ดเทศ กระตุ้นให้ปัสสาวะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ไม่ควรใช้ เพราะ อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะโพแทสเซียมในร่างกาย
  • สตรีมีครรภ์ห้ามใช้ชุมเห็ดเทศ เพราะ ชุมเห็ดเทศช่วยกระตุ้นการคลอดลูก อาจทำให้แท้งได้
  • ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบ ใช้ชุมเห็ดเทศ เนื่องจากร่างกายยังไม่สามารถใช้ได้อาจเป็นอันตราย
  • ชุมเห็ดเทศความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์

ชุมเห็ดเทศ คือ พืชพื้นเมือง สุมนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ บำรุงหัวใจ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด โทษของเห้ดชุมเทศ เป็นพิษกับระบบสืบพันธ์ ประโยชน์ของเห็ดชุมเทศ เป็นอย่างไร

แหล่งอ้างอิง

  • หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ชุมเห็ดเทศ (Chumhet Tet)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 108.
  • หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ชุมเห็ดเทศ Ringworm Bush”. หน้า 75.
  • หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ชุมเห็ดเทศ”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 208.
  • หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ชุมเห็ดเทศ”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 271-274.
  • ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [13 มี.ค. 2014].
  • ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [13 มี.ค. 2014].
  • สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [13 มี.ค. 2014].
  • สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน, หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร ณ สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/. [13 มี.ค. 2014].
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 26 คอลัมน์: สมุนไพรน่ารู้. “ชุมเห็ดไทย/ชุมเห็ดเทศ”. (ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [13 มี.ค. 2014].
  • ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [13 มี.ค. 2014].
  • สถาบันการแพทย์แผนไทย. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ittm-old.dtam.moph.go.th. [13 มี.ค. 2014].
  • พืชสมุนไพร, มหาวิทยาลัยนเรศวร. “ชุมเห็ดเทศ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: student.nu.ac.th/tewpharmacyherb/mean.htm. [13 มี.ค. 2014].
  • หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 150 ชนิด. “ชุมเห็ดเทศ”. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). หน้า 74-75.
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย