ต้นตะไคร้ สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหารให้กลิ่นหอม ต้นตะไคร้เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดความดัน โทษของตะไคร้มีอะไรบ้างตะไคร้ สมุนไพร สรรพคุณของตะไคร้

ตะไคร้ ( Lemongrass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf  ชื่อเรียกอื่นๆของตะไคร้ เช่น จะไคร , หัวซิงไค , ไคร , คาหอม , เชิดเกรย , เหลอะเกรย , ห่อวอตะโป่ เป็นต้น ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สายพันธ์ตะไคร้

ตะไคร้ พืชตระกูลหญ้า เจริญเติบโตง่ายในทุกสภาพดิน ลำต้นมีกาบใบโดยรอบ ใบยาว ใบของตะไคร้ มีน้ำมันหอมระเหย นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว พืชพื้นเมือง ปลูกกันโดยทั่วไปในประเทศไทย สายพันธ์ของต้นตะไคร้ แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และ ตะไคร้หางสิงห์

  • ตะไคร้กอ
  • ตะไคร้ต้น
  • ตะไคร้หางนาค
  • ตะไคร้น้ำ
  • ตะไคร้หางสิงห์
  • ตะไคร้หอม

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

คุณค่าทางอาหารของตะไคร้ นักโภชนากการได้ทำการศึกษาต้นตะไคร้สด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 143 กิโลแคลอรี่

ต้นตะไคร้ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 4.2 กรัม สารอาหาร คือ โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม เถ้า 1.4 กรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม และ วิตามินสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม  และ วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก ตระกลูหญ้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย คองโก และ ในแถบทวีปอเมริกาใต้ เป็น สมุนไพรไทย นิยมนำมาประกอบอาหารช่วยให้กลิ่นหอมดับกลิ่นคาวของอาหาร นิยมปลูกทั่วไปตามบ้าน สามารถขยายพันธ์โดยแตกกอ และ การปักชำ ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นของตะไคร้ มีลักษณะลำต้นตั้งตรง ลำต้นทรงกระบอก สูงประมาณ 1 เมตร  มีกาบใบเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นตะไคร้ผิวเรียบ โคนต้นอ้วน สีม่วงอ่อน เป็นส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาหาร
  • ใบของตะไคร้ ลักษณะใบเรียวยาว ขอบใบแหลมคม ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ หูใบ  และ ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ผิวใบสากมือ และ มีขนปกคลุม ปลายใบแหลม
  • ดอกของตะไคร้ ดอกตะไคร้จะออกดอกเป็นช่อ มีกลิ่นหอม ดอกตะไคร้มีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์ของตะไคร้ ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่ากาย สรรพคุณของตะไคร้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ส่วน ทั้งต้น หัวตะไคร้ รากตะไคร้ ลำต้นตะไคร้ และ ใบตะไคร้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคหอบหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ
  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สะกัดได้จากต้นตะไคร้ทุกส่วน น้ำมันตะไคร้ นำมาทำเป็นยาทานวด นำมารับประทาน ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และ ขับเหงื่อ
  • ลำต้นตะไคร้ สรรพคุณเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร แก้เบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว บำรุงธาตุ รักษาหนองใน และ ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร
  • ใบของตะไคร้ สรรพคุณเป็นยาแก้หวัด ลดอาการไอ ปรับสมดุลย์ความดันโลหิต บรรเทาอาการปวด แก้ปวดหัว
  • หัวของตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว ลดความดันโลหิต แก้กษัยเส้น และ ลดไข้
  • รากของตะไคร้ สรรพคุณแก้ปวดท้อง และ บรรเทาอาการท้องเสีย

โทษของตะไคร้

มีการทดลองการใช้น้ำมันตะไคร้กับหนูขาว พบว่าน้ำมันตะไคร้ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หนูขาวกินเข้าไป ทำให้หนูขาวตาย น้ำมันตะไคร้ให้กระต่ายกินทำให้กระต่ายตาย หนูขาวที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้มีการเติบโตเร็วกว่ากลุ่มที่ไม้ได้รับ และค่าทางเคมีของเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด การบิรโภคน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ในปริมาณที่มากเกินไป และ หากมีความเข้มค้นมากเกินไป ทำให้เป็นอันตรายได้ จากการทดลองเห็นว่า หนูขาวแข็งแรงขึ้น แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไป ทำให้หนูขาวตาย

ต้นตะไคร้ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหารให้กลิ่นหอม ลักษณะของต้นตะไคร้ ประโยชน์ของตะไคร้ สรรพคุณของตะไคร้ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดความดัน ดับกลิ่นคาวอาหาร โทษของตะไคร้ เป็นอย่างไรบ้าง

ขมิ้นชัน สีเหลืองส้ม กลิ่นฉุนหอม พืชพื้นบ้าน พืชตระกูลขิง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สรรพคุณของขมิ้นชัน เช่น บำรุงผิว รักษาแผล ประโยชน์และโทษของขมิ้นชัน มีอะไรบ้างขมิ้นขัน สมุนไพร สมุนไพรไทย

ขมิ้นชัน เอกลักษณ์ของขมิ้นชั้น คือ สีเหลืองส้ม กลิ่นฉุนหอม พืชพื้นบ้าน พืชตระกูลขิง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีถิ่นกำเนิดตามประเทศเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สีเหลืองเข้มออกส้ม นำมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น นำมาแต่งสี ทำอาหาร ทำยารักษาโรค และ ส่วนผสมต่างๆของเครื่องสำอางค์

ขมิ้นชัน ชื่อสามัญ เรียก Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่อเรียกอื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ต้นขมิ้นชัน ลักษณะเป็นพืชหัว ลักษณะเดียวกับ ข่า ขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน พืชล้มลุก อายุหลายปี ลักษณะของต้นขมิ้นชัน มีดังนี้

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก  ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้นชัน 

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของขมิ้นชัน ผงขมิ้นชัน ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 312 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 9.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 67.1 กรัม ไขมัน 3.3 กรัม เกลือโซเดียม คอเลสเตอรอล วิตามินเค วิตามินซี วิตามินบี6 วิตามินอี ไขมันอิ่มตัว ไนอาซิน ไทอานิน ฟอสฟอรัส แคลเซียม ไรโบพลาวิน เหล็ก ซิงค์ ไขมันไม่อิ่มตัว น้ำตาล และ กากไยอาหาร

สรรพคุณของขมิ้นชัน

การใช้ประโยชน์จากขมิ้นชั้น จะใช้ประโยชน์เหง้าขมิ้น หรือ หัวขมิ้น สีเหลือง กลิ่นฉุน เป็นเอกลักษณ์สำคัญของขมิ้นชัน ประโยชน์และสรรพคุณของขมิ้นชัน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงผิวพรรณ ชะลอวัย ลดริ้วรอยตามผิว ช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึงช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
  2. สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ผื่นคัน ช่วยสมานแผล รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผลพุพอง รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย
  3. สรรพคุณต้านแบคทีเรีย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา ใช้รักษาโรคกลาก เกลื้อน โรคผิวหนัง
  4. สรรพคุณบำรุงเลือด ลดคอเลสเตอรอล รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยแก้อาการตกเลือด
  5. สรรพคุณบำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อม ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
  6. สรรพคุณบำรุงข้อและกระดูก ช่วยรักษาอาการปวดอักเสบไขข้อ
  7. สรรพคุณลดอาการอักเสบ แก้ปวด ช่วยลดอาการของโรคเกาต์
  8. สรรพคุณช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ
  9. สรรพคุณบำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้อาการจุดเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาโรคลำไส้อักเสบ ลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม รักษาโรคกระเพาะอาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร
  10. สรรพคุณบำรุงระบบทางเดินหายใจ ช่วยบำรุงปอด บรรเทาอาการไอ รักษาโรคภูมิแพ้ รักษาไข้หวัด
  11. สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยขับน้ำนม ช่วยแก้อาการตกขาว
  12. สรรพคุณบำรุงรักษาช่องปาก ช่วยรักษาแผลในปาก ลดกลิ่นปาก
  13. สรรพคุณรักษาอาการท้องร่วง ท้องเสีย
  14. ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช
  15. สรรพคุณช่วยบำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบ มีฤทธิ์ในการช่วยขับน้ำดี ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในถุงน้ำดี ป้องกันตับจากการถูกทำลายของยาพาราเซตามอล ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย
  16. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร

โทษของขมิ้นชัน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้นชั้น มีข้อควรระวัง ดังต่อไปนี้

  • ขมิ้นันเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แต่หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
  • ขมิ้นชัน อาจเป็นอันตรายสำรับคนที่มีอาการแพ้ขมิ้น อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ
  • ขมิ้นชั้นเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดีได้

ขมิ้นชัน คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง เหง้าของขมิ้นขั้นิยมมาใช้ประโยชน์ต่างๆ ต้นขมิ้นชัน เป็นอย่างไร สรรพคุณของขมิ้นชัน เช่น บำรุงผิว รักษาแผล สร้างภูมิต้านทานโรค ลดไขมันในเส้นเลือด ประโยชน์และโทษของขมิ้นชัน มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
  • ขมิ้นชัน ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย