ต้นมะกรูด นิยมนำมาทำอาหาร ใบมะกรูด ผิวมะกรูด น้ำมะกรูด ให้กลิ่นหอมและรสเปรี้ยว ต้นมะกรูดเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยขับลม ดับกลิ่นคาวอาหาร บำรุงเส้นผม โทษมีอะไรบ้างมะกรูด สมุนไพร สรรพคุณของมะกรูด สมุนไพรไทย

มะกรูด ( Kaffir lime ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะกรูด คือ Citrus hystrix DC. ชื่อเรียกอื่นๆของมะกรูด เช่น มะขู มะขุน มะขูด ส้มกรูด ส้มมั่วผี เป็นต้น

มะกรูด พืชตระกูลส้ม เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มะกรูดมีคุณสมบัติสำคัญหลายอย่าง ใช้ในการทำยารักษาโรคและด้านความสวยความงาม มะกรูดยังจัดเป็นไม้มงคล นิยมปลูกไว้บริเวณบ้าน เชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยมักจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน

ลักษณะของต้นมะกรูด

ต้นมะกรูด ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก พืชท้องถิ่นของไทย มะกรูด นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารไทย ทั้งใบมะกรูด ผิวมะกรูด และ ผลมะกรูด มะกรูดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับส้ม ให้กลิ่นหอม และ รสชาติเปรี้ยว การขยายพันธ์ มะกรูดสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การติดตา การต่อยอด การเพาะเมล็ด เป็นต้น โดยรายละเอียดของต้นมะกรูด มีดังนี้

  • ลำต้นมะกรูด เนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ผิวของลำต้นเรียบ มีหนามตามลำต้นและกิ่ง ความสูงประมาณ ไม่เกิน 2 เมตร
  • ใบมะกรูด ลักษณะเป็นใบประกอบ ออกตามกิ่งก้าน ใบหนา เรียบ ผิวใบมัน มีสีเขียว ใบมีกลิ่นหอมมาก ลดความดันโลหิต
  • ดอกมะกรูด ออกเป็นช่อ ดอกมะกรูดมีสีขาว ออกดอกตามยอดและซอกใบ ดอกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย
  • ผลมะกรูด ลักษณะกลม มีสีเขียว ผิวของผลมะกรูดขรุขระ คล้ายผลส้มซ่า ภายในผมมีน้ำมากรสเปรี้ยว ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ผิวมะกรูด และ น้ำมะกรูด รวมถึงน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด โดยรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 171 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 6.8 กรัม ไขมัน 3.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29 กรัม กากใยอาหาร 8.2 กรัม แคลเซียม 1672 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 303 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 20 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผิวลูกมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 21.3 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม แคลเซียม 322 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 115 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.8 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 58 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 55 มิลลิกรัม

น้ำมันหอมระเหยของมะกรูด พบว่ามีสารใน 2 กลุ่ม คือ สารที่ไม่ใช่กลุ่มเทอร์พีน ( non-terpene) และ สารในกลุ่มเทอร์พีน ( terpenes)

สารเคมีสำคัญที่พบในใบมะกรูก และ ผิวมะกรูด คือ β-pinene limonene sabinene citronellal α-pinene myrcene 1,8 cineol α-terpineol trans – sabinene hydrate copaene linalool β-cubenene geranyl acetate , citronellol caryophyllene elemol δ-cardinene citronellene acetate terpinen-4-ol, p-elemene camphene γ-terpinene terpinolene และ nerolidol

สรรพคุณของมะกรูด

น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างและเป็นส่วนผสมของยาหลายชนิด มะกรูด สามารถนำเอามาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนประกอบ ทั้ง ผลมะกรูด ใบมะกรูด และ รากมะกรูด โดยสรรพคุณของมะกรูด มีดังนี้

  • ผลมะกรูด สรรพคุณแก้ปวดหัว ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยขับพยาธิ บำรุงกำลัง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ บำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด ช่วยขับระดู ขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเส้นผม ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทำความสะอาด บำรุงเส้นผม ช่วยผ่อนคลาย ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด ขับลม ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ บำรุงเลือด
  • ใบมะกรูด สรรพคุณช่วยขับลม แก้หน้ามืด แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย ช่วยเจริญอาหาร
  • รากมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด แน่นท้อง บำรุงเลือด
  • ลำต้นมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียดแน่นท้อง บำรุงโลหิต
  • น้ำมะกรูด สามารถใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้บำรุงเส้นผม ล้างสิ่งอุดตันบนใบหน้า ผิวของผลมะกรูด สามารถนำมาทำเป็นยาขับลม บำรุงหัวใจ แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ท้องอืด

โทษของมะกรุด

สำหรับมะกรูด เป็นพิชที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ผลของมะกรูด มีรสเปรี้ยว สามารถใช้แทนความเปรี้ยวของมะนาวได้ การบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากมะกรูดต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ของมะกรูด มีดังนี้

  • น้ำมันมะกรูดหากสัมผัสกับผิวของมนุษย์โดยตรง อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ โดยเฉพาะเมื่อโดนแสงแดด จะทำให้แพ้แสงแดดจนกลายเป็นแผลไหม้ได้ เนื่องจากน้ำมะกรูด มีสารออกซิเพดามิน ( oxypedamin ) ทำให้เกิดอาการแพ้ เมื่อโดนอากาศเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ดังนั้น หากสัมผัสน้ำมันมะกรูด หรือ น้ำมะกรูด ให้ล้างน้ำให้สะอาด
  • น้ำมะกรูดมีกรดสูง ไม่ควรรับประทานน้ำมะกรูดขณะท้องว่าง เพราะ อาจทำให้แสบท้อง ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
  • น้ำมะกรูด มีรสเปรี้ยว ซึ่งการกินเปรี้ยวมากเกินไป ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ทำลายฟัน ทำให้ท้องร่วง ทำให้กระดูกผุ เป็นต้น

ต้นมะกรูด พืชพื้นบ้าน อยู่คู่สังคมไทย นิยมนำมาใช้ทำอาหาร ใบมะกรูด ผิวมะกรูด น้ำมะกรูด ให้กลิ่นหอมและรสเปรี้ยว ลักษณะของต้นมะกรูด ประโยชน์และสรรพคุณของมะกรูด เช่น ช่วยขับลม ดับกลิ่นคาวอาหาร บำรุงเส้นผม โทษของมะกรูด มีอะไรบ้าง

ผักชี สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมรับประทานเป็นอาหาร ต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี

ผักชี สมุนไพร

ผักชี ( Coriander ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ต้นผักชี มีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม ผักหอมน้อย เป็นต้น

ลักษณะของต้นผักชี

ผักชี จัดเป็นพืชประเภท พืชล้มลุก อายุสั้น ผักชีมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรีบย
  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เม็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักชี

การบริโภคผักชีเป็นอาหาร มีมาช้านานแล้ว และ เป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้านโภชนาการ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักชีสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานถึง 23 กิโลแคลอรี

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม น้ำ 92.21 กรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,930 ไมโครกรัม  ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 67 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.77 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 26 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.426 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 48 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 521 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 46 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.5 มิลลิกรัม

ผักชี ขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 วิตามินซี วิตามินอี และ วิตามินเค

ประโยชน์ของผักชี 

การใช้ประโยชนืจากผักชี นั้นหลักๆจะเป็นการนำเอามาทำอาหารรับประทานเป็นหลัก แต่นอกจากนำมาทำอาหาร ผักชี สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดของผักชี ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ต่างๆ

สรรพคุณของผักชี

ประโยชน์ของผักชีด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค สามารถใช้ได้ทุกส่วนของผักชี คือ รากผักชี ลำต้นผักชี ใบผักชี และ เมล็ดของผักชี โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดผักชี สรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้เจริญอาหาร แก้ปวดฟัน บำรุงกระเพาะอาหาร ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร
  • ใบผักชี สรรพคุณบำรุงสายตา แก้กระหายน้ำ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ป้องกันมะเร็ง  ขับเสมหะ แก้สะอึก แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้เวียนหัว ขับเหงื่อ แก้หวัด แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม  รักษาอาหารเป็นพิษ ช่วยแก้พิษตานซาง รักษาตับอักเสบ รักษาโรคหัด ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดอาการอักเสบ แก้ปวดข้อ
  • รากผักชี สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ

โทษของผักชี

  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นตัวแรง
  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก สำหรับผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • การกินผักชีมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการตาลาย หรือ ขี้หลงขี้ลืม เนื่องจากอาการมึนหัว

ผักชี คือ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมปลูกตามครัวเรือน นำมารับประทานอาหาร ให้รสชาติและกลิ่นหอม ลักษณะของต้นผักชีเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักชี ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด คุณค่าทางโภชนากการของผักชี  ประโยชน์ของผักชี โทษของผักชี เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับผักชีทั้งหมด

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย